คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ บุณยเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8120/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้อง แต่ยื่นล่าช้า ศาลพิพากษายืนตามคำวินิจฉัยเดิม
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่24 มิถุนายน 2536 นั้น เป็นฉบับที่โจทก์ยื่นปกติมิใช่ฉบับยื่นเพิ่มเติม แม้โจทก์มิได้ยื่นตามกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสอง ก็ตาม แต่ผลการตรวจสอบปรากฏว่า ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ภาษีขาย ยอดซื้อที่เสียภาษีแล้ว ภาษีซื้อ ภาษีที่ชำระเงิน และภาษีสุทธิที่ชำระเกิน ตรงตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้ทุกรายการ เช่นนี้ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์ยื่นปกติสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2536จึงมิได้มีข้อผิดพลาดหรือมีการแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องและไม่เป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีมีนาคม 2536คลาดเคลื่อนไปแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนภาษีมีนาคม 2536 ภายในกำหนดเวลาโจทก์จะต้องรับผิด หรือไม่อย่างไร ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้อื่นของนิติบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลอื่นของนิติบุคคล: ต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตามแต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคล มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลอื่นของนิติบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินสมรส: สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเมื่อสามีไม่ได้ยินยอม แต่ยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองสินสมรส: สิทธิเจ้าหนี้จำนอง vs. การเพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6841/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อสิทธิเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยวางศาลไว้
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์และโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้อีก และโจทก์จำเลยยอมให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาเป็นพับ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลฎีกาและเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวแก่โจทก์และไม่ต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อใช้แทนโจทก์เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6841/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และการไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์และโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้อีก และโจทก์จำเลยยอมให้ค่าฤชา-ธรรมเนียมชั้นฎีกาเป็นพับ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลฎีกาและเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวแก่โจทก์และไม่ต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อใช้แทนโจทก์เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6841/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแก้ไขคำพิพากษาเดิม โจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์และโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้อีก และโจทก์จำเลยยอมให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาเป็นพับ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลฎีกาและเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวแก่โจทก์และไม่ต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อใช้แทนโจทก์เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4405/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อมีผลบังคับใช้ได้ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในขณะทำสัญญา โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาภายหลัง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกในวันที่ 18 เมษายน 2533 ขณะนั้นรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ต่อมาวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ได้ขายรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวแก่โจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ๆ ฉะนั้น ขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อกันอยู่ โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้ออันเป็นข้อที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินอยู่ในระยะเวลาที่สัญญาเช่าซื้อกำลังดำเนินอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ทั้งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 3 ระบุไว้ว่าในการทำสัญญาเช่าซื้อได้ทำตามคำเสนอของผู้เช่าซื้อโดยให้มีการลงทุนซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อ ก็เป็นการแสดงอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์บรรทุกมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ ซึ่งในสัญญาระบุให้เงินดาวน์เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อต่างหากจากการชำระค่าเช่าซื้อ และเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์ก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อและเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถคันดังกล่าวกับโจทก์ โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่เช่าซื้อของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อจะอ้างว่า ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันที่เช่าซื้อเพื่อปัดความรับผิดหาได้ไม่ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ
of 110