พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ที่ดินต่อเนื่องต้องใช้ประโยชน์ร่วมกันกับสิ่งปลูกสร้าง
อาคารคลังพัสดุของโจทก์มีพื้นที่ 3,360 ตารางเมตร ส่วนที่ดินอีก 98,944ตารางเมตร เป็นพื้นที่ในส่วนที่โจทก์มิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆโดยอยู่กระจัดกระจายกันไปและมิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องอันจะใช้ไปด้วยกันกับอาคารคลังพัสดุ กรุงเทพมหานครจำเลยจะนำพื้นที่ดินที่โจทก์เช่ามาหักด้วยพื้นที่ที่โจทก์ใช้ก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างแล้วนำพื้นที่ส่วนที่เหลือมาประเมินรวมกับพื้นที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอาคารใดอาคารหนึ่งย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต และการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) และมาตรา 3ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเอง หากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องครอบครองที่ดินและการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิดหากกระทำโดยสุจริตและใช้สิทธิทางศาล
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) และมาตรา 3 ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฎิบัติงานของพนักงานสอบสวนเองหากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายจึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์เมื่อทนายความใช้ดุลพินิจและลงลายมือชื่อแทนจำเลย ย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย
ใบแต่งทนายความระบุให้ทนายความของจำเลยที่ 1 และที่ 5ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ ดังนั้น ทนายความดังกล่าวจึงมีดุลพินิจเต็มที่ว่าข้อความที่จะตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าจะเสียเปรียบหรือไม่เหมาะสมก็มีอำนาจที่ไม่ยอมตกลงและต่อรองได้ คดีนี้ได้มีการเจรจาและเลื่อนคดีมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้มาตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 มีทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1และที่ 5 แสดงว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ใช้ดุลพินิจไตร่ตรองแล้วจึงตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทำไว้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลงลายมือชื่อตัวแทนเป็นสำคัญ เมื่อทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ซึ่งจะต้องรับผิดใช้เงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์และฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 และ 851ทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์ประพฤติผิดสัญญาข้อใด และสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ไม่ขัดต่อสิทธิของจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้ที่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จะขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 5ที่อ้างว่าเคยเจรจากับกรรมการบริหารของโจทก์ว่าจะลดดอกเบี้ยให้ แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมาคิดดอกเบี้ย ทำนองว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ตรงตามข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ เป็นเพียงเหตุก่อนการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ยอมตกลงจ่ายดอกเบี้ยด้วย โดยมีโอกาสใช้ดุลพินิจเต็มที่แล้วจึงตกลงเช่นนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 5 ไม่อาจขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าเกินกำหนด 5 ปี และการลดหย่อนเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้าง ผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเช็นต์ชื่อเป็นหลักฐานประกอบ จึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายเองต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ และของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่น ๆ เป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่น จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)(4)(9)(13) และ (18) ตามที่จำเลยนำสืบ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า รายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3)(4)(9)(13) และ (18) ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธินั้นเมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (6) ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี2518 ถึง 2520 นั้น โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่า โจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี 2518 ถึง 2522 และนำส่งให้แก่จำเลย ส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 3เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่า โจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้ และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246,247 และ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 และปี 2522 ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฎในบัญชีโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี 2520 และปี 2522แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) เป็นเงินเบี้ยปรับ 6,405 บาท และเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิเป็นเงินจำนวน 128,034.73 บาท จึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522แล้ว ก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2522 แก่จำเลยไว้แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่า รายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2522 ตามสมุดเงินสดนั้น คลาดเคลื่อนต่อความจริงกล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 แล้วประเมินภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้ กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 29 และ 30 ตามลำดับ ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้ว หรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายนั้น ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ 3 เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้นมิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรองระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงยกข้ออ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(1) ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ตรี เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้ หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่มีประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิบัญญัติว่า การประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า (1) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่ การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ บัญญัติไว้ทั้งสิ้น เมื่อปรากฎว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 ถึงปี 2521พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ (1) และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า อันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าเกินกำหนดเวลา 5 ปี และการลดอัตราเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้างผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้นโจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเช็นต์ชื่อเป็นหลักฐานประกอบจึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายเองต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(9) รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการและของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่นๆเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่นจึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(3)(4)(9)(13)และ(18)ตามที่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(3)(4)(9)(13)และ(18)ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ1ของกำไรสุทธินั้นเมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ1ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(6) ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี2518ถึง2520นั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ณที่จ่ายไว้กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่าโจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี2518ถึง2522และนำส่งให้แก่จำเลยส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาณที่จ่ายไว้ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ3เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางพ.ศ.2528มาตรา29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2520และปี2522ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฎในบัญชีโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี2520และปี2522แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ1เท่าของจำนวนภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(3)เป็นเงินเบี้ยปรับ6,405บาทและเสียเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิเป็นเงินจำนวน128,034.73บาทจึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสียสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2522แล้วก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม2522แก่จำเลยไว้แล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่ารายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน2522ตามสมุดเงินสดนั้นคลาดเคลื่อนต่อความจริงกล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521แล้วประเมินภาษีการค้าเบี้ยปรับเงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี2522ไม่ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี2522จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา20โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา22ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา29และ30ตามลำดับดังนั้นศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้วหรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายนั้นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ3เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ10แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากรมาตรา30คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้นมิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรองระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ดังนั้นโจทก์จึงยกข้ออ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา87ตรีเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา5ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน10ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใดแต่มีประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิบัญญัติว่าการประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1)ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า (1)สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิบัญญัติไว้ทั้งสิ้นเมื่อปรากฎว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2517ถึงปี2521พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าอันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การหักค่าใช้จ่าย และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานประเมินภายใต้กฎหมายภาษีอากร
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้าง ผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเซ็นชื่อเป็นหลักฐานประกอบ จึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)
รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ และของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่น ๆ เป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่น จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์
ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)(4)(9)(13)และ (18) ตามที่จำเลยนำสืบ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า รายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) (4) (9) (13)และ (18) ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ
สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธินั้น เมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (6)
ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี 2518 ถึง 2520 นั้น โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่า โจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี 2518 ถึง 2522 และนำส่งให้แก่จำเลย ส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 3 เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่า โจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้ว โจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้ และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 และปี 2522 ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฏในบัญชี โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี 2520 และปี 2522 แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของจำนวนภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3)เป็นเงินเบี้ยปรับ 6,405 บาท และเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินจำนวน128,034.73 บาท จึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 แล้ว ก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีก เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2522 แก่จำเลยไว้แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่า รายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2522 ตามสมุดเงินสดนั้น คลาดเคลื่อนต่อความจริง กล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบแสดงรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521แล้วประเมินภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ป.รัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้ กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นก็ได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา29 และ 30 ตามลำดับ ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้ว หรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายนั้นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ 3 เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้น มิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงยกข้ออ้างตามป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (1) ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม
ป.รัษฎากร มาตรา 87 ตรี เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้ หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่มี ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ บัญญัติว่า การประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า
(1) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่ การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ ป.รัษฎากรมาตรา 88 ทวิ บัญญัติไว้ทั้งสิ้น เมื่อปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 ถึงปี 2521 พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (1) และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า อันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ และของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่น ๆ เป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่น จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์
ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)(4)(9)(13)และ (18) ตามที่จำเลยนำสืบ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า รายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) (4) (9) (13)และ (18) ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ
สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธินั้น เมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (6)
ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี 2518 ถึง 2520 นั้น โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่า โจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี 2518 ถึง 2522 และนำส่งให้แก่จำเลย ส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 3 เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่า โจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้ว โจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้ และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 และปี 2522 ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฏในบัญชี โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี 2520 และปี 2522 แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของจำนวนภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3)เป็นเงินเบี้ยปรับ 6,405 บาท และเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินจำนวน128,034.73 บาท จึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 แล้ว ก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีก เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2522 แก่จำเลยไว้แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่า รายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2522 ตามสมุดเงินสดนั้น คลาดเคลื่อนต่อความจริง กล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบแสดงรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521แล้วประเมินภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ป.รัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้ กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นก็ได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา29 และ 30 ตามลำดับ ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้ว หรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายนั้นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ 3 เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้น มิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงยกข้ออ้างตามป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (1) ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม
ป.รัษฎากร มาตรา 87 ตรี เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้ หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่มี ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ บัญญัติว่า การประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า
(1) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่ การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ ป.รัษฎากรมาตรา 88 ทวิ บัญญัติไว้ทั้งสิ้น เมื่อปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 ถึงปี 2521 พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (1) และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า อันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่: การตีความลักษณะรถยนต์ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
รถยนต์ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรยี่ห้อโฟล์คสวาเกนรุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูห้องโดยสารด้านหลังปิดทึบหมดไม่มีกระจก โดยนำแผ่นเหล็กมาเชื่อมติดกับตัวถึงแล้วนำยางมาติดไว้ตรงรอยเชื่อม หากตัดแผ่นเหล็กที่เชื่อมในลักษณะเป็นรูปหน้าต่างออกและนำเบาะหลังไปใส่ไว้ ก็จะมีสภาพเช่นเดียวกับรถโฟล์คสวาเกนรุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูจึงเป็นรถยนต์นั่งตามคำจำกัดความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 มิใช่รถยนต์บรรทุกชนิดแวน จึงต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่ 05.01
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์โฟล์คสวาเกน กอล์ฟ แบบ 3 ประตู เข้าข่ายเป็นรถยนต์นั่งเสียภาษีสรรพสามิต ไม่ใช่รถกระบะ
การพิจารณาว่ารถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์นั่งที่ต้องเสียภาษี-สรรพสามิตหรือเป็นรถยนต์กระบะ (รถบรรทุกชนิดแวน) ที่ไม่ต้องเสียภาษี-สรรพสามิตนั้นจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534มาตรา 4 และตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ตอนที่ 5 รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกนตรงท้ายรถด้านหลังมีอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า GOLF CL ลักษณะที่นั่งตอนหน้าเป็นเบาะคู่ มีที่นั่งคนขับ 1 ที่นั่งและที่นั่งผู้โดยสารอยู่ติดกับที่นั่งคนขับ บริเวณตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของรถมีแผ่นเหล็กเชื่อมติดตายเป็นแผ่นทึบ ส่วนของหลังคาเป็นเหล็กชิ้นเดียวกันตลอดทั้งคัน ส่วนท้ายของรถเป็นประตูชิ้นเดียวเปิดยกขึ้น โดยส่วนบนของประตูเป็นกระจก ส่วนล่างเป็นแผ่นเหล็ก ภายในตัวรถแบ่งเป็น 2 ส่วนส่วนหน้าเป็นที่นั่งคนขับ ด้านหลังไม่มีที่นั่งผู้โดยสาร แต่เป็นพื้นไม้อัดแผ่นเรียบระหว่างที่นั่งตอนหน้าและส่วนพื้นด้านหลังมีแผ่นเหล็กกั้น ภายในรถตอนท้ายมีวัตถุทำด้วยไฟเบอร์บุตัวถังเหมือนรถยนต์นั่งทั่วไป โดยสามารถใช้เป็นที่วางแขนผู้นั่งตอนหลังได้และส่วนที่เป็นพื้นไม้ หากถอดออกไปสามารถนำเบาะที่นั่งมาติดตั้งได้ทันทีเนื่องจากตัวถังทำขึ้นเพื่อใช้รองรับเบาะที่นั่งและมีพนักพิงสำหรับผู้โดยสารที่นั่งตอนหลังอยู่แล้ว สำหรับแผ่นเหล็กที่กั้นอยู่ด้านหลังคนขับไม่มีลักษณะถาวร เพราะยึดติดด้วยนอตข้างละ 1 ตัว สามารถถอดออกได้ง่าย ตำแหน่งของห้องโดยสารตอนหลัง ด้านข้างมีรูเจาะไว้เพื่อยึดติดเข็มขัดนิรภัยสำหรับที่นั่งตอนหลัง ภายในรถทั้งตอนหน้าและตอนหลังกรุด้วยไฟเบอร์ที่ผนังมีลักษณะเหมือนรถยนต์นั่งทั่วไป บริเวณผนังรถตอนท้ายซึ่งเชื่อมด้วยแผ่นเหล็กตรงตำแหน่งซึ่งควรจะเป็นหน้าต่างของรถยนต์นั่งทั่วไปยังมีขอบยางติดอยู่ หากตัดแผ่นเหล็กออกสามารถนำกระจกติดตั้งแทนแผ่นเหล็กได้ จากลักษณะรถยนต์พิพาทดังกล่าวมาเป็นที่เห็นได้ว่า รถยนต์พิพาทมิใช่รถยนต์กระบะตามความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเนื่องจากรถยนต์พิพาทมีหลังคาปิดตลอดทั้งคัน และรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ ที่มีการผลิตจำหน่ายเป็นรถยนต์นั่งมีทั้งแบบรุ่น 3 ประตู และ 5 ประตู รถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตู คงมีข้อแตกต่างจากรถยนต์รุ่นเดียวกันโดยห้องโดยสารด้านหลังของรถยนต์พิพาทปิดทึบหมด ไม่มีกระจก แต่ตัวถังด้านท้ายรถยนต์พิพาทบริเวณที่มีลักษณะคล้ายหน้าต่างเป็นการนำแผ่นเหล็กมาเชื่อมติดกับตัวถังแล้วนำยางมาติดไว้ตรงรอยเชื่อม หากนำรถยนต์พิพาทมาตัดแผ่นเหล็กที่เชื่อมในลักษณะเป็นรูปหน้าต่างออก และนำเบาะหลังไปใส่ไว้ รถยนต์พิพาทก็จะมีสภาพเช่นเดียวกับรถโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตู แสดงว่าโครงสร้างของรถทั้งหมดมีลักษณะเช่นเดียวกับรถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูรถยนต์พิพาททั้งสองคันจึงเป็นรถยนต์นั่งตามคำจำกัดความที่หมายความว่ารถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกันตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น รถยนต์พิพาทจึงมิใช่รถยนต์กระบะ (รถบรรทุกชนิดแวน) แต่เป็นรถยนต์นั่งตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่ 05.01 ท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเมื่อสิ้นสุดวัตถุประสงค์และการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยศาล
จำเลยที่ 1 จ่ายเงินส่วนแบ่งให้แก่โจทก์ไม่ครบตามสิทธิในส่วนจำนวนค่าหุ้นที่โจทก์ยังมีอยู่ เมื่อหุ้นส่วนมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการที่จะนำเอาที่ดินที่ซื้อมาขายเอากำไรแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อมีการขายที่ดินที่จัดซื้อไปแล้วหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวย่อมเลิกกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1055 (3) กรณีมีเหตุที่จะให้โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ในฐานเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 2 ผู้ดำเนินการให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนำเงินที่ขายได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1061 ได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงกันได้ในเรื่องการชำระบัญชี กฎหมายจึงได้บัญญัติให้มีการตกลงกันดังกล่าว
โจทก์ขอให้จำเลยทำการชำระบัญชี เนื่องจากได้มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วนเสร็จสิ้นกันไปแล้ว ห้างหุ้นส่วนจึงเป็นอันเลิกกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1055 (3) เมื่อโจทก์ขอให้ชำระบัญชีจำเลยไม่ยอมชำระบัญชี แสดงว่าหุ้นส่วนไม่สามารถตกลงกันได้อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาลขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีต่อไปได้ อันเป็นกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องให้หุ้นส่วนร่วมกันจัดตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคะแนนเสียงข้างมากเสนอไป
ในกรณีที่จะต้องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งของศาลแล้วศาลย่อมมีอำนาจที่จะแต่งตั้งตัวผู้ชำระบัญชีโดยมีคำสั่งแต่งตั้งได้เองตามที่เห็นสมควรแม้คู่กรณีจะเสนอผู้ใดมาโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่สมควรที่จะได้รับการแต่งตั้ง ศาลอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นได้ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีนั้น ศาลฎีกาสมควรกล่าวไว้เสียให้ชัดแจ้งว่าจะต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สมัครใจจะเป็นผู้ชำระบัญชี
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1061 ได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงกันได้ในเรื่องการชำระบัญชี กฎหมายจึงได้บัญญัติให้มีการตกลงกันดังกล่าว
โจทก์ขอให้จำเลยทำการชำระบัญชี เนื่องจากได้มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วนเสร็จสิ้นกันไปแล้ว ห้างหุ้นส่วนจึงเป็นอันเลิกกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1055 (3) เมื่อโจทก์ขอให้ชำระบัญชีจำเลยไม่ยอมชำระบัญชี แสดงว่าหุ้นส่วนไม่สามารถตกลงกันได้อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาลขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีต่อไปได้ อันเป็นกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องให้หุ้นส่วนร่วมกันจัดตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคะแนนเสียงข้างมากเสนอไป
ในกรณีที่จะต้องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งของศาลแล้วศาลย่อมมีอำนาจที่จะแต่งตั้งตัวผู้ชำระบัญชีโดยมีคำสั่งแต่งตั้งได้เองตามที่เห็นสมควรแม้คู่กรณีจะเสนอผู้ใดมาโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่สมควรที่จะได้รับการแต่งตั้ง ศาลอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นได้ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีนั้น ศาลฎีกาสมควรกล่าวไว้เสียให้ชัดแจ้งว่าจะต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สมัครใจจะเป็นผู้ชำระบัญชี