คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ บุณยเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การขว้างระเบิดพยายามฆ่าและมีวัตถุระเบิด
การที่จำเลยมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองและใช้วัตถุระเบิดดังกล่าวไปกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่มีความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าโดยใช้วัตถุระเบิด: การลงโทษกรรมเดียวแต่ผิดต่อหลายบท
การที่จำเลยมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองและใช้วัตถุระเบิดดังกล่าวไปกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวแต่มีความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา78วรรคสามซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าโดยขว้างระเบิด, ครอบครองวัตถุระเบิดผิดกฎหมาย, กรรมเดียวผิดหลายบท
หลังจากจำเลยทะเลาะกับผู้เสียหายที่ 1 แล้ว จำเลยเดินเข้าไปหยิบลูกระเบิดในกระท่อม และจำเลยได้ใช้ลูกระเบิดดังกล่าวขว้างใส่ผู้เสียหายที่ 1 โดยเล็งเห็นผลว่าลูกระเบิดที่ขว้างไปดังกล่าวสามารถทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นการขว้างไปโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 1 แต่การกระทำของจำเลยกระทำไปไม่ตลอดเพราะสะเก็ดระเบิดไม่ถูกอวัยวะสำคัญของผู้เสียหายที่ 1 ผู้เสียหายที่ 1 จึงไม่ตายสมดังเจตนาของจำเลย จึงเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 และเมื่อสะเก็ดระเบิดพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2 ทำให้ผู้เสียหายที่ 2ได้รับบาดเจ็บ จึงถือได้ว่าเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 ด้วย กรณีเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288, 80 และ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และการที่จำเลยมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองและใช้วัตถุระเบิดดังกล่าวไปกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288 ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวแต่มีความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตาม ป.อ.มาตรา 90
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างรวมค่าเลี้ยงรับรอง-ค่าน้ำมันรถ, สิทธิได้รับค่าจ้างเมื่อละทิ้งหน้าที่, เลิกจ้าง
เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานรวมทั้งวันหยุดวันลาหรือจ่ายให้ตามผลงานไม่ว่าค่าตอบแทนนั้นจะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ล้วนเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ทั้งสิ้นโจทก์ได้รับค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ20,000บาทโดยแบ่งจ่ายทุกวันที่15และวันสิ้นเดือนงวดละ10,000บาทเมื่อค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถจำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือนจึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม2538จนถึงวันที่30มิถุนายน2538และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่30มิถุนายน2538ในระหว่างวันที่1ถึงวันที่30มิถุนายน2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575 ในระหว่างวันที่1มิถุนายน2538ถึงวันที่30มิถุนายน2538อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้นปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่1มิถุนายน2538ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และการละทิ้งหน้าที่ทำให้ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง
เงินค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถจำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือนจึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง, การละทิ้งหน้าที่ไม่มีสิทธิรับค่าจ้าง
เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน รวมทั้งวันหยุด วันลา หรือจ่ายให้ตามผลงาน ไม่ว่าค่าตอบแทนนั้นจะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ล้วนเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ทั้งสิ้นโจทก์ได้รับค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ 20,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน งวดละ 10,000 บาท เมื่อค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถ จำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือน จึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2538 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575
ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2538 อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้น ปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีแพ่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมาย
คดีก่อนจำเลยที่2คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทโดยมิได้วินิจฉัยว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คดีถึงที่สุดแล้วสำหรับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีว่าโจทก์หรือจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทหากฟังว่าจำเลยที่1เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์จำเลยที่1ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ไม่มีสิทธินำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโอนให้แก่จำเลยที่2ไม่ว่าจะโอนโดยสุจริตหรือไม่สุจริตและยังมีประเด็นอีกว่าโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2หรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของหรือให้ชดใช้ราคาแทนหรือไม่ประเด็นดังกล่าวเป็นคนละประเด็นกันกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อนการพิจารณาคดีนี้จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำส่วนประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนว่าจำเลยที่2ในคดีนี้ได้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยไม่สุจริตอันเป็นเหตุให้ฟังได้ว่าจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นหากในคดีนี้ศาลฟังว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่1ในประเด็นต่อไปอาจจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโดยสุจริตหรือไม่ซึ่งหากจะมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวก็จะเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทั้งหมดทุกประเด็นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(2)ประกอบมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างให้พิจารณาเฉพาะประเด็นที่มิใช่การพิจารณาซ้ำ
คำฟ้องคดีเดิมเป็นคดีระหว่างจำเลยที่2ในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทโดยมิได้วินิจฉัยว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คดีถึงที่สุดแล้วสำหรับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีว่าโจทก์หรือจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทหากฟังว่าจำเลยที่1เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์โจทก์ก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยที่1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ทำให้จำเลยที่1ไม่มีสิทธินำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโอนให้แก่จำเลยที่2ไม่ว่าจะโอนโดยสุจริตหรือไม่สุจริตและยังมีประเด็นอีกว่าโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2หรือไม่โจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทให้แก่โจทก์ในฐานที่โจทก์เป็นเจ้าของหรือให้ชดใช้ราคาแทนหรือไม่ประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นคนละประเด็นกันกับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในคดีเดิมการพิจารณาคดีนี้ตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วกรณีจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำสำหรับประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนที่ว่าจำเลยที่2ในคดีนี้ได้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยไม่สุจริตอันเป็นเหตุให้ฟังได้ว่าจำเลยที่2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นหากในคดีนี้ศาลฟังว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่1ในประเด็นต่อไปอาจจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโดยสุจริตหรือไม่หากจะมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทั้งหมดทุกประเด็นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(2)ประกอบมาตรา247จึงชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำดังวินิจฉัยแล้วข้างต้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างให้พิจารณาเฉพาะประเด็นที่มิใช่การพิจารณาซ้ำ
คำฟ้องคดีเดิมเป็นคดีระหว่างจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ว่า จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โดยมิได้วินิจฉัยว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ คดีถึงที่สุดแล้ว สำหรับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท หากฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ โจทก์ก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ว่าจะโอนโดยสุจริตหรือไม่สุจริต และยังมีประเด็นอีกว่า โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หรือไม่ โจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทให้แก่โจทก์ในฐานที่โจทก์เป็นเจ้าของหรือให้ชดใช้ราคาแทนหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นคนละประเด็นกันกับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในคดีเดิม การพิจารณาคดีนี้ตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้ว กรณีจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ สำหรับประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยไม่สุจริตอันเป็นเหตุให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น หากในคดีนี้ศาลฟังว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ในประเด็นต่อไปอาจจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโดยสุจริตหรือไม่ หากจะมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทั้งหมดทุกประเด็นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247จึงชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำดังวินิจฉัยแล้วข้างต้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนเงินภาษีอากรหลังสินค้าถูกเพลิงไหม้: ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 19 ทวิ และโรงงานไม่ใช่คลังสินค้า
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยแสดงความจำนงต่อ จำเลยทั้งสองว่าจะใช้ของที่นำเข้ามานั้นในการผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุเพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี เพื่อขอคืนเงินอากรขาเข้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 และโจทก์มิได้ชำระอากรขาเข้าเพราะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารแทนการชำระภาษีอากรที่จะต้องเสีย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินค่าภาษีอากรนั้น มาตรา 19 ทวิ บัญญัติไว้เพียงกรณีเดียวคือ เมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก)-(จ) ด้วยเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งของที่ผลิตด้วยเส้นด้ายใยยาวสังเคราะห์ทำด้วยโปลีเอสเตอร์และผ้าทอโปลีเอสเตอร์ใยสั้นที่ได้นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจึงไม่อาจขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระหรือขอคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามมาตรา 19 ทวิ แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้ ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังเก็บสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีแม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว
of 110