คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ บุณยเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือคำให้การ และข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่พิพาท
ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คันที่เช่าซื้อนั้น จำเลยให้การแต่เพียงว่า รถยนต์มีสภาพเก่า และโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเช่า จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ ส่วนค่าติดตามรถยนต์จำเลยเป็นผู้แจ้งโจทก์ให้ไปรับรถยนต์เองมิใช่กรณีที่โจทก์ติดตามยึดนั้น จำเลยมิได้ให้การว่าสัญญายังมิได้เลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ เพราะเป็นข้อฎีกาที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินรวมถึงหนี้ภาษีอากร แม้ศาลจะไม่ได้ระบุผลของการยกเลิกการล้มละลายไว้
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปแสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์เดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานจึงเรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินใหม่และแจ้งไปยังโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้นเป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไม่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาด แม้พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องด้วยจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายและการหลุดพ้นหนี้ภาษีอากร: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม ม.135(3) ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้ทั้งหมด
ตาม ป.รัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี และต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วย ส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษี และต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนี้ แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521 และปี 2522 จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2522 และเดือนมีนาคม 2523ตามลำดับ ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม 2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2521 ตามลำดับ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง และเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวน แล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลัง ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคล-ธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย หรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา 135 (3) และ (4) เอาไว้ แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา 135 (3) และ (4) ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้ว ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 77 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป
เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมด แม้มีหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนศาลสั่งยกเลิก
ตามประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วยส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปดังนี้แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ตามลำดับส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521ตามลำดับการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมายล.1ถึงล.3และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลังซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน แม้พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนอากรขาเข้าเริ่มนับแต่วันชำระเงิน การแสดงเจตนาสำคัญผิดเป็นโมฆะ
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับโจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้วแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา87(เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้ หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีกแต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาและคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรดังนั้นอุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สองเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีนับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมที่ได้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ทวิวรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่10กันยายน2527สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไปจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30สิงหาคม2538พ้นกำหนด10ปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีอากร, การสำคัญผิดในตัวบุคคล, และผลของการอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับ โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้ว แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 (เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้
หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีก แต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคา และคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากร ดังนี้ อุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สอง เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือ สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ หนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงิน ซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน2527 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไป จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 พ้นกำหนด 10ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานนอกคำให้การในคดีแรงงาน การอุทธรณ์ต้องยกประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้ว
จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือจะต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ให้ชัดแจ้งในคำให้การแต่ได้ระบุถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างเพียงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่มิได้อ้างเหตุแห่งการปฎิเสธว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในเรื่องใดอย่างไรการที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่ตอกบัตรลงเวลากลับจากทำงานโจทก์ขาดงานในวันที่17มิถุนายน2538โจทก์ขาดงานครึ่งวันในวันที่27เดือนเดียวกันวันที่13,18,25,29กรกฎาคม2538โจทก์เข้ามาทำงานช่วงเช่าช่วงบ่ายกลับไปโดยไม่ได้ตอกบัตรลงเวลานอกจากนี้ยังยื่นใบลาป่วยไม่ตรงกับความจริงถือว่าเป็นการนำสืบพยานหลักฐานนอกคำให้การแม้ศาลแรงงานกลางรับวินิจฉัยมาก็นอกประเด็นการที่จำเลยอุทธรณ์โดยอ้างเหตุดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก และผลกระทบต่อหน้าที่เสียภาษีของโจทก์
โจทก์ผลิตน้ำตาลทรายดิบขายให้แก่องค์การคลังสินค้าขายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากรมาตรา 78 และตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 บัญชีท้าย พ.ร.ฎ. บัญชีที่ 1หมวด 1 (7) แต่โดยที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 18) เรื่อง กำหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีการค้า ตามมาตรา 78 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 ข้อ 3 ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าแต่เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศดังกล่าวผลักภาระการเสียภาษีการค้าให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1ยอมให้เปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ส่งออก โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าจากการขายน้ำตาลทรายดิบให้แก่องค์การคลังสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้ากรณีอธิบดีกรมสรรพากรมีประกาศเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก
โจทก์ผลิตน้ำตาลทรายดิบขายให้แก่องค์การคลังสินค้าขายในประเทศโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา78และตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่1หมวด1(7)แต่โดยที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่18)เรื่องกำหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีการค้าตามมาตรา78วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่5กุมภาพันธ์2517ข้อ3ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ7ของรายรับดังนั้นแม้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าแต่เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศดังกล่าวผลักภาระการเสียภาษีการค้าให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ7ของรายรับเสียแล้วเท่ากับจำเลยที่1ยอมให้เปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ส่งออกโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าจากการขายน้ำตาลทรายดิบให้แก่องค์การคลังสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องชัดเจน การรับเงินชดเชยไม่ครอบคลุมค่าเสียหายอื่น
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่25พฤศจิกายน2537และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083บาทแก่โจทก์โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมายจ.7ให้แก่จำเลยความว่า"ตามที่ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537วันที่25พฤศจิกายน2537ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงานชสท.พ.ศ.2535และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083บาทถูกต้องแล้วและจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น"ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นมิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใดข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้นข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่นๆรวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่บันทึกตามเอกสารหมายจ.7ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใดและโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
of 110