พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความและการระงับข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ผลผูกพันและการขอบเขต
ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า สิทธิของจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปเนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องและประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาลแรงงานและรับเงินจากโจทก์ไปแล้ว เมื่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในจำนวนค่าเสียหายตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ที่พึงได้รับจากโจทก์นั้นได้ระงับไปด้วยการประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว และด้วยเหตุประนีประนอมยอมความเดียวกันนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ตามที่ฟ้องย่อมระงับไปด้วยเช่นกัน ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องตลอดจนที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน 10 วัน แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดี ทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ตามมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้
คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่ง ทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใด ๆ มากกว่านั้นอีก แสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่ จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน 10 วัน แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดี ทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ตามมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้
คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่ง ทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใด ๆ มากกว่านั้นอีก แสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่ จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ยุติตามคำสั่งศาล และอายุความของหนี้จากสัญญาจ้าง
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนั้น ทนายจำเลยได้มาศาลและลงชื่อรับรองความถูกต้องไว้ โดยมิได้ติดใจโต้แย้งในขณะนั้นหรือในระยะเวลาต่อมาตามที่กฎหมายกำหนดขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพิ่มเติมแต่ประการใด ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนด จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ว่ากล่าวอีก และปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่า พ.เป็นเพียงพนักงานของโจทก์ มิใช่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่จะมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำให้การของจำเลย จึงไม่อาจตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้ ดังนี้ ปัญหาที่จำเลยอาศัยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องต่อไปอีกว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยในฐานะลูกจ้างได้ยืมเงินทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของนายจ้างคือโจทก์ แม้หักใช้ไม่ครบก็เป็นการเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และมิใช่เรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยในฐานะลูกจ้างได้ยืมเงินทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของนายจ้างคือโจทก์ แม้หักใช้ไม่ครบก็เป็นการเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และมิใช่เรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีค่าล่วงเวลา ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดต้องปรากฏในคำฟ้อง
ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าล่วงเวลา โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ซึ่งเป็นการขอให้บังคับจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสอง ประเด็นในคดีย่อมต้องเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องถึงเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ซึ่งกำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวข้อ 31 วรรคหนึ่งแม้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใด ก็เป็นการกำหนดประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องการกำหนดประเด็นส่วนของดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลแรงงานวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าวินิจฉัยในเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงาน และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้ จึงเห็นได้ว่าโดยหลักแล้วจะสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะเข้าข้อยกเว้น แต่ในคำพิพากษาศาลแรงงานก็มิได้กล่าวว่ามีเหตุสมควรอย่างไรจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับบริษัทและการเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิด ประกาศใหม่มีผลบังคับใช้ได้แม้ไม่ได้ปรึกษาหารือ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัท ส.ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้น กำหนดห้ามลูกจ้าง โดยเพียงแต่ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงาน นายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้ว แต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กำหนดห้ามลูกจ้างโดยการทะเลาะวิวาทกันนั้นต้องถึงขั้นชกต่อย ตบตี ทำร้ายร่างกายกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่ เมื่อเป็นดังนี้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์พ.ศ.2538 ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตาม เพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้ อาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับลูกจ้างทุกคน" นั้น หมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้าง และเมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้าย ร.ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กรณีมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์นายจ้างไปใช้โดยมิชอบถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยมีสิทธิสืบพยานเพื่อพิสูจน์
การนำทรัพย์ของนายจ้างไปใช้โดยปราศจากสิทธิโดยชอบเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นการทุจริตอยู่ในตัว จึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่
คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริต เป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใด จำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้ และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริต เป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใด จำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้ และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างและการแก้คดีของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่า โจทก์ไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นั้นได้ระบุเหตุของการเลิกจ้างข้อ 2 ว่า ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา จำเลยให้การไว้ในข้อ 3 ว่า จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง กล่าวคือ โจทก์ขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกัน เป็นเวลาหลายครั้ง ศ.ผู้บังคับบัญชาได้เรียกโจทก์มาตักเตือนหลายครั้งแล้ว แต่โจทก์ไม่นำพาและให้การไว้ในข้อ 4 ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536เป็นเพราะโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา โจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลานั้น เหตุที่จำเลยให้การว่าโจทก์ขาดงานก่อนวันที่ 1 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2536 นั้นเป็นการให้การถึงที่มาว่าโจทก์เคยขาดงานมาแล้ว และผู้บังคับบัญชาได้เรียกโจทก์มาตักเตือนหลายครั้ง แต่โจทก์ไม่นำพา ดังนี้ คำให้การจำเลยอ้างเหตุโจทก์ขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่แจ้งลารวมอยู่ด้วยแล้วและไม่ขัดต่อเหตุเลิกจ้าง จึงก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่า โจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน3 วัน โดยไม่แจ้งลา ฯลฯ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม ตามคำให้การจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แม้จำเลยจะมิได้ระบุวันเดือนปีที่อ้างว่าโจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา แต่ก็เป็นการให้การแก้คดีที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์หยุดงานตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2536 กับที่ศาลแรงงานหยิบยกประเด็นเรื่องใบลาเป็นลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงไม่เป็นข้อวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่า โจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน3 วัน โดยไม่แจ้งลา ฯลฯ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม ตามคำให้การจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แม้จำเลยจะมิได้ระบุวันเดือนปีที่อ้างว่าโจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา แต่ก็เป็นการให้การแก้คดีที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์หยุดงานตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2536 กับที่ศาลแรงงานหยิบยกประเด็นเรื่องใบลาเป็นลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงไม่เป็นข้อวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งเลิกจ้างที่ไม่สมบูรณ์และการแนะนำให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
บันทึกของ พ. ถึง ป.ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีข้อความว่า "โปรดดำเนินการพิจารณาเลิกจ้าง ค.ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกจัดเลี้ยงด้วย(หมายถึงโจทก์) เหตุผลขาดงาน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2536 ถึง 8พฤษภาคม 2536 โดยมิได้แจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มทราบ อีกทั้งในการปฏิบัติหน้าที่มักจะหยุดงานอยู่เสมอ ให้มีผลวันที่ 8 พฤษภาคม 2536" นั้นเป็นเรื่องที่ พ.มีความเห็นว่าควรเลิกจ้างโจทก์และได้ขอให้ ป.ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชา หาได้มีผลเป็นการสั่งหรือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่ ป.จึงยังมีหน้าที่จะต้องดำเนินการพิจารณา หากเห็นชอบด้วยแล้วก็ต้องดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์เป็นขั้นตอนตามระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของจำเลยต่อไป การที่ ป.มิได้ดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติ แต่กลับขอให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่นั้น เป็นเรื่องที่ ป.พิจารณาแล้วดำเนินการไปตามความเห็นของ ป.เอง ในเชิงไม่ต้องการมีการเลิกจ้างโจทก์ และเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ต้องถูกเลิกจ้างกรณีเช่นว่านี้จึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามที่ ป.แนะนำหรือไม่ก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า ป.ได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ทำการแทนในการแนะนำโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง ป.กับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เมื่อยังมิได้มีการบอกเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโยกย้ายก่อนแจ้งข้อเรียกร้องและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อลูกจ้างผู้คัดค้านมิได้กล่าวไว้แจ้งชัดในอุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยถึงการเตือนของนายจ้างผู้ร้องตามข้อเท็จจริงและเอกสารที่อ้าง เป็นการผิดต่อกฎหมายอย่างไร และมีผลต่อคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องมีคำสั่งโยกย้ายผู้คัดค้านไปทำงานในตำแหน่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่สหภาพแรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์จะยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2537 กรณีจึงเป็นการโยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้องไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 31 วรรคแรก การที่ผู้ร้องมีหนังสือเตือนผู้คัดค้านในวันที่ 14 กันยายน 2537ให้ไปทำงานในตำแหน่งใหม่ซึ่งแม้จะอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อพิพาท ก็เป็นการเตือนถึงคำสั่งที่โยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้อง จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าการที่ผู้ร้องโยกย้ายหน้าที่การงานของผู้คัดค้านเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน ต้องห้ามเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 31 วรรคแรก และการที่ผู้คัดค้านไม่ไปทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ใหม่ ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้เป็นการไม่ชอบนั้น อุทธรณ์ข้อนี้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ร้องปรับผู้คัดค้านจากลูกจ้างรายวันเป็นลูกจ้างรายเดือนซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้คัดค้าน ทั้งตำแหน่งหน้าที่ใหม่เป็นการจัดทำเอกสาร ตรวจเช็ครายชื่อและทำรายงาน ผู้คัดค้านจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ย่อมจะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่ยากนัก การที่ผู้คัดค้านไม่ไปปฏิบัติงานตามตำแหน่งใหม่ ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของผู้ร้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องมีคำสั่งโยกย้ายผู้คัดค้านไปทำงานในตำแหน่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่สหภาพแรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์จะยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2537 กรณีจึงเป็นการโยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้องไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 31 วรรคแรก การที่ผู้ร้องมีหนังสือเตือนผู้คัดค้านในวันที่ 14 กันยายน 2537ให้ไปทำงานในตำแหน่งใหม่ซึ่งแม้จะอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อพิพาท ก็เป็นการเตือนถึงคำสั่งที่โยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้อง จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าการที่ผู้ร้องโยกย้ายหน้าที่การงานของผู้คัดค้านเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน ต้องห้ามเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 31 วรรคแรก และการที่ผู้คัดค้านไม่ไปทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ใหม่ ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้เป็นการไม่ชอบนั้น อุทธรณ์ข้อนี้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ร้องปรับผู้คัดค้านจากลูกจ้างรายวันเป็นลูกจ้างรายเดือนซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้คัดค้าน ทั้งตำแหน่งหน้าที่ใหม่เป็นการจัดทำเอกสาร ตรวจเช็ครายชื่อและทำรายงาน ผู้คัดค้านจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ย่อมจะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่ยากนัก การที่ผู้คัดค้านไม่ไปปฏิบัติงานตามตำแหน่งใหม่ ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของผู้ร้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความข้อตกลงสภาพการจ้างเรื่องค่าครองชีพและค่าจ้างขั้นต่ำ: จำเลยต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้าง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ่างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้ง ซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้ว ให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน
โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ ที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือน หลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน
โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ ที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือน หลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ถูกฟ้องนั้น เรื่องที่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้ เพื่อจะได้พิจารณาไปเสียคราวเดียวกัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของ จำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหาย จนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของ จำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของ จำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหาย จนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของ จำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป