คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว กรณีจำเลยลดค่าจ้าง และศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็น เกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มี ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างขับรถประมาท: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันจ่ายค่าซ่อม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างโดยขับรถด้วยความประมาททำให้รถของโจทก์รถของบุคคลอื่นเสียหายและ ทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่รถของโจทก์ถูกเฉี่ยวชนและชดใช้เงินที่โจทก์ใช้เป็นค่าเสียหายแก่บุคคล อื่นให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะเป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดเนื่องจากกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายแล้วยังเป็นฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง เป็นการทำผิดหน้าที่ที่จำเลยจะต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการแม้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอายุความ 10 ปีแต่เงินค่าซ่อมรถของโจทก์ที่โจทก์เสียไปถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่นั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่ผู้รับจ้างซ่อม เมื่อนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยหลังจากนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้อง ร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในคดีนี้เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะยื่นคำขอจำเลยหามีสิทธิยื่นไม่
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดวินัยร้ายแรงของพนักงานรัฐวิสาหกิจ การแถลงข่าวทำลายชื่อเสียงองค์กร และข้อยกเว้นความรับผิด
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 มาตรา 6 มีผู้ร้องเป็นผู้ว่าการ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตามมาตรา 26 มิใช่กรณีผู้ว่าการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตามมาตรา 27ผู้ว่าการจึงมีอำนาจแต่งทนายความเพื่อดำเนินคดีในนามผู้ร้องได้
ผู้คัดค้านมิได้ยกข้อที่ว่าการผลิตดาบน้ำพี้ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสถาบันผู้ร้องหรือไม่ขึ้นมาเป็นประเด็นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยปัญหานี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางโดยชอบ ผู้คัดค้านจึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือองค์กร ที่ไม่มีกฎหมายรับรอง การดำเนินการขององค์กร ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริงผู้คัดค้านไม่ว่าในฐานะใดก็จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น จะอ้างว่าได้กระทำในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ และไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างให้พ้นผิดทั้งขณะแถลงข่าวผู้คัดค้านก็ยังมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ดาบน้ำพี้ ที่ผู้ร้องผลิตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097-3098/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ/ซ้อน คดีแพ่งแรงงาน ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยึดถือคำวินิจฉัยศาลแรงงาน
คดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานความผิดเรื่องยักยอก และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้อาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 2ใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องของทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ไม่เป็นฟ้องซ้อนและคำฟ้องของโจทก์กรณีนี้มิใช่การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 40 จึงนำบทบัญญัติในมาตรา 46 มาใช้กับการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้มีงานอื่นรองรับ นายจ้างต้องมีเหตุผลอันสมควร
งานเดิมที่ลูกจ้างทำอยู่กับนายจ้างได้ยุบเลิกไปแล้ว แต่นายจ้างยังมีงานอื่นอีกหลายแผนกที่สามารถจัดให้ลูกจ้างเข้าปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันจำเป็นหรือเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ การลงโทษด้วยการปลดออกชอบด้วยระเบียบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีคำสั่งเรื่อง ใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคห้ามพนักงานซึ่งมิใช่พนักงานขับรถ ขับรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา และให้ใช้รถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการเท่านั้นและข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงานข้อ 43 กำหนดว่า "การลงโทษปลดออกนั้น จะกระทำได้เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ 41 และข้อ 42 แต่โทษยังไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออก หรือถึงกับจะต้องถูกไล่ออก แต่มีเหตุผลอันควรลดหย่อน" การที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานช่างนำรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปปักเสา 2 ต้น และยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านหม้อแปลงให้แก่เอกชน การกระทำของโจทก์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการผิดข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน หมวด 5 เรื่องวินัย ข้อ 38(3) ที่กำหนดว่า "ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ห้ามขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง..."แล้ว ยังต้องด้วยข้อ 41(3) ที่กำหนดว่า "ทุจริตต่อหน้าที่การงาน"ด้วย เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่นซึ่งมีโทษถึงไล่ออก ดังนั้น การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยมีคำสั่งปลดออกจึงเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าวแล้วไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ถูกกล่าวหาทางอาญา ศาลแรงงานไม่ผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา และการเลิกจ้างเพราะความผิดทางอาญาไม่ใช่คดีแพ่งต่อเนื่อง
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างถูกจำเลยผู้เป็นนายจ้างร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง ซึ่งหากจะฟ้องบังคับในทางแพ่งด้วยในกรณีที่ฉ้อโกงได้เงินของจำเลยไปก็ได้แต่ขอให้โจทก์ใช้คืนเงินเท่านั้น จะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไม่ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าร่วมกับพวกกระทำความผิดทางอาญาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อจำเลยหรือไม่ ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การจ่ายค่าจ้างเกิน และค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณบำเหน็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างตอกบัตรทำงานแต่ไม่ได้ทำงานจริง การพิสูจน์เจตนาและความถูกต้องของคำสั่งลา
การที่โจทก์ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานโดยไม่ได้ทำงานตามเวลาที่มีการตอกบัตร จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุและพฤติการณ์ด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างไร การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ป่วย ได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานให้ลาได้เพื่อวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ไม่อยู่ทำงานนั้นเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยตามประเด็นพิพาทที่กำหนดว่าโจทก์กระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังตามพยานหลักฐานของจำเลยว่าการที่โจทก์ตอกบัตรลงเวลาทำงาน แล้วหยุดงานโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการโรงงาน เป็นการปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่รับฟังว่า โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดจากหัวหน้างาน จึงมิได้ปฏิบัติผิดข้อบังคับของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
of 10