พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4255/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา จำเป็นต้องมีการสอบถามจำเลยเพื่อยืนยันตัวตนและความเชื่อมโยงของคดี
คดีอาญาที่จำเลยให้การปฏิเสธ และในสำนวนปรากฏว่ามิได้มีการสอบถามจำเลยในเรื่องที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยในคดีจะเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจนับโทษต่อให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4255/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อ – จำเลยคนละคน - ศาลไม่อาจนับโทษต่อได้หากไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
คดีอาญาที่จำเลยให้การปฏิเสธ และในสำนวนปรากฏว่ามิได้มีการสอบถามจำเลยในเรื่องที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยในคดีจะเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจนับโทษต่อให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ผิดเลขที่ แต่เป็นทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์จะตั้งเรื่องว่าขอนำยึดบ้านเลขที่ 59/4 แต่บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดจริงคือบ้านพิพาทเลขที่ 66/5 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์จึงยึดเพื่อขายชำระหนี้ได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องตัวทรัพย์ที่ยึดไม่ผิดตัว เพียงแต่เลขที่ประจำตัวทรัพย์ผิดไปจากที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ย่อมไม่ทำให้การยึดบ้านพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีกลายเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชำระหนี้: แม้เลขที่บ้านผิด แต่ตัวทรัพย์ถูกต้อง ยึดได้
แม้โจทก์จะตั้งเรื่องว่าขอนำยึดบ้านเลขที่ 59/4แต่บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดจริงคือบ้านพิพาทเลขที่ 66/5 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยโจทก์จึงยึดเพื่อขายชำระหนี้ได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องตัวทรัพย์ที่ยึดไม่ผิดตัว เพียงแต่เลขที่ประจำตัวทรัพย์ผิดไปจากที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ย่อมไม่ทำให้การยึดบ้านพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีกลายเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง-ความรับผิดจำกัด ห้างหุ้นส่วน/ผู้จัดการ-สัญญาซื้อขาย-กรรมสิทธิ์วัสดุ
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8 ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนคดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้
แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนคดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้
แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องวัสดุอุปกรณ์เสียหายจำกัดเฉพาะการชำระเงิน
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน คดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1 ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้ได้มาตราฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้ง สิทธิจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงจากผลของคำพิพากษา สัญญาจะซื้อขายที่มีเงื่อนไขไม่ทำให้เกิดสิทธิร้องสอด
ผู้ร้องสอดที่ขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งมีหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้โดยตรงจึงจะร้องสอดได้
ผู้ร้องเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งอยู่กับที่ดินของจำเลยจากโจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ทั้งสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข โดยจะมีผลต่อเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีนี้ และสามารถบังคับคดีได้แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่อาจบังคับคดีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันฟ้องคดีนี้สัญญาจะซื้อขายก็สิ้นผล ดังนี้ เมื่อผู้ร้องมิได้ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)
ผู้ร้องเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งอยู่กับที่ดินของจำเลยจากโจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ทั้งสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข โดยจะมีผลต่อเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีนี้ และสามารถบังคับคดีได้แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่อาจบังคับคดีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันฟ้องคดีนี้สัญญาจะซื้อขายก็สิ้นผล ดังนี้ เมื่อผู้ร้องมิได้ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดคดีต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ผลของคำพิพากษาต้องกระทบสิทธิผู้ร้อง
ผู้ร้องสอดที่ขอเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งมีหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้โดยตรงจึงจะร้องสอดได้ ผู้ร้องเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยจากโจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้วทั้งสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขโดยจะมีผลต่อเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีนี้และสามารถบังคับคดีได้แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่อาจบังคับคดีได้ภายใน3 ปี นับแต่วันฟ้องคดีนี้ สัญญาจะซื้อขายก็สิ้นผล ดังนี้เมื่อผู้ร้องมิได้ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีค้างชำระของบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 88(3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใดไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงาน ประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกประเมินต่อบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมิน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย