พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลแรงงานในการไม่อนุญาตเลื่อนคดี: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการชดใช้ค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 และในกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ก็ให้มีอำนาจให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายได้ คำสั่งชี้ขาดดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าให้ถึงที่สุด คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งนั้น จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานให้วินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวชอบหรือไม่อีกได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 8(4) หากศาลแรงงานเห็นว่า คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดิน: การซื้อขายส่วนควบ การจดทะเบียน และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ ที่ดินมีโฉนด จากจำเลย โดย ทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาเมื่อผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ บ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตก เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่ วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดย ไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อ ขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 456 อีกโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การทำงานเกินเวลา และสิทธิค่าครองชีพของลูกจ้างชั่วคราว
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯ แต่ สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียว กับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่ พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตาม บทมาตราดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้ มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้อง ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็ม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตาม บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลง ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของนายจ้างได้ เมื่อนายจ้างได้ บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพก็ต้อง เป็นไปตามนั้นแม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่ง ทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึง สิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตาม บทมาตราดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้ มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้อง ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็ม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตาม บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลง ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของนายจ้างได้ เมื่อนายจ้างได้ บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพก็ต้อง เป็นไปตามนั้นแม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่ง ทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึง สิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา การแยกมูลหนี้ และอำนาจศาลแรงงาน
เมื่อมูลหนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิด ต่างแยกออกจากกันได้เป็นการเฉพาะตัวแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ย่อมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1กับโจทก์เท่านั้น มูลหนี้เดิมจะระงับหรือไม่ระงับ ก็มีผลเฉพาะคู่สัญญา จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ถือว่า ตนมีหนี้แยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจจะถือประโยชน์ อันเกิดแต่สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เป็นประโยชน์แก่ตนได้ มูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ หาระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังกล่าวไม่ สิทธิในการฟ้องร้องคดีหรืออำนาจฟ้องกับสิทธิที่จะบังคับ คดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเป็นกรณีที่แตกต่างกันอยู่ในขั้นตอนที่ต่างกันจะนำมาพิจารณาคละระคนด้วยกันหาได้ไม่แม้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยจะยกเอาการบังคับคดีที่อาจมีได้สองทางโดยจะเกิดขึ้นหรือไม่ยังไม่เป็นการแน่นอนขึ้นต่อสู้ เพื่อปฏิเสธความรับผิดในมูลหนี้ตามคำฟ้องเสียแต่แรกนั้น หาเป็น การถูกต้องไม่ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ออกคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ที่ 3มีอำนาจหน้าที่ประการใด จำเลยทั้งสอง หาได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่ จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ในการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ประการใด ทำให้โจทก์เสียหายอย่างใด แล้วสรุปว่าการกระทำของจำเลยทั้งสอง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง และจำเลยเป็นผู้ถูกจ้าง อันเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 8(5)ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ มูลหนี้ละเมิดอันเป็นมูลหนี้เดิมที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ได้ระงับสิ้นไปแล้ว และทำให้โจทก์ได้รับหนี้หรือสิทธิขึ้นใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งโจทก์ได้ฟ้อง จำเลยที่ 1 ด้วยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ยังมิได้ รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจากจำเลยที่ 1 ความรับผิด ในมูลหนี้ละเมิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องใหม่หลังศาลสั่งไม่รับฟ้อง ถือเป็นการพิจารณาคดีซ้ำซ้อนไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่ากรณีไม่ต้องด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8(5)ไม่รับฟ้อง ดังนี้ การพิจารณาของศาลแรงงานกลางเป็นอันสิ้นสุดไปแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามมาตรา 9 วรรคสองอีกย่อมมีผลเท่ากับว่าให้นำคดีมาสู่ การพิจารณาของศาลแรงงานกลางใหม่อีกครั้งหนึ่งจึงหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐานคดีแรงงาน การเลิกจ้างและค่าชดเชย
ปัญหาที่ว่าคำเบิกความของพยานปากใดมีเหตุผลหรือมีน้ำหนักควรเชื่อถือหรือไม่เพียงใด เป็นดุลพินิจในการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลจำเลยจะอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของโจทก์ ว่าไม่มีใบรับรองแพทย์ เพราะมิได้ไปหาแพทย์เนื่องจากไม่มีเงิน แล้ววินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายว่า การที่โจทก์ขาดงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเพราะโจทก์เจ็บป่วยนั้น แม้โจทก์จะไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และถือไม่ได้ว่าเป็นการขาดงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)(4) ซึ่งจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดังนี้แม้จะเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อเลิกจ้าง จำเลยก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าชดเชย: การพิจารณาเหตุผลในการเลิกจ้างและขอบเขตการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ละสถานประกอบการเป็นราย ๆ ไป การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานแต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรมจึงเป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4151/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดจากการทำงาน เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีข้ามประเภท
โจทก์ฟ้องว่า การที่โซดาแอชของโจทก์เสียหายเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย และไม่เอาใจใส่ระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และเป็นการจงใจทำให้โซดาแอชเสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ และผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายดังนี้เป็นคำฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความผิดฐานละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420และตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8(5) โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2525และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2525 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2526 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448 ต่อมาศาลแพ่งได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2526 ให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ถือได้ว่าศาลแพ่งได้ยกคดีของโจทก์เสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งแต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 บัญญัติให้ขยายอายุความนี้ออกไปถึง 6 เดือน ภายหลังคำพิพากษานั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2526คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน, ค่าจ้าง, และหนี้โมฆะจากกิจการผิดกฎหมาย: กรณีผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการ
จำเลยทำหนังสือแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นผู้รักษาการ กรรมการผู้จัดการของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างและโจทก์ ได้ทำงานตามหน้าที่ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่จ่าย ค่าจ้างให้แก่โจทก์
จำเลยมิได้ยกเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพียงแต่กล่าวอ้างว่าการที่จำเลยยินยอมแต่งตั้งโจทก์เป็น ผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการของจำเลยนั้น เพราะถูกโจทก์กับ พวกหลอกลวงและจำเลยหลงเชื่อซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
โจทก์จ่ายเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินทดรองจึงเป็นหนี้ ที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมเป็นโมฆะการที่โจทก์จ่ายเงินไปโดยรู้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระคืน
จำเลยมิได้ยกเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพียงแต่กล่าวอ้างว่าการที่จำเลยยินยอมแต่งตั้งโจทก์เป็น ผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการของจำเลยนั้น เพราะถูกโจทก์กับ พวกหลอกลวงและจำเลยหลงเชื่อซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
โจทก์จ่ายเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินทดรองจึงเป็นหนี้ ที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมเป็นโมฆะการที่โจทก์จ่ายเงินไปโดยรู้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระคืน