พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาให้อัยการเพื่อฟ้องคดีในศาลแขวง และผลของการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงาน-สอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วย ดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่งยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง การจับและควบคุมตัวผู้ต้องหา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้นเป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วยดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้อง ส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายใน กำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ ดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา สี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจ รับ คำร้อง ของ ผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่ง ยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การขาดอายุความ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความในคำให้การ มิเช่นนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 วรรคสอง บัญญัติให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 195 โดยจำเลย ต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการ ปฏิเสธนั้นด้วย แม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่า ขาดอายุความตามมาตราใดก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องให้การโดย แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏจำเลยจึงต้องบรรยาย ด้วยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้อง การที่จำเลยให้การเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้ กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเช่าจากผู้อื่นไม่ใช่การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินของผู้ให้เช่า
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลย เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทโดยเช่าจาก ผ.และ ส. บุตรเขยและบุตรสาวของมารดาจำเลยแม้โจทก์จะครอบครองนานเท่าใด และโจทก์เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครอง เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์แต่เป็นของมารดาจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาย่อมมีสิทธิขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยเช่าไม่ได้ทำให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แม้จะครอบครองนานและเสียภาษี
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลย เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทโดยเช่าจาก ผ.และส.บุตรเขยและบุตรสาวของมารดาจำเลยแม้โจทก์จะครอบครองนานเท่าใด และโจทก์เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองเมื่อที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์แต่เป็นของมารดาจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาย่อมมีสิทธิขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่หน่วยราชการโดยวิธีปิดหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 การนับระยะเวลาให้มีผลใช้ได้
คำสั่งของศาลภาษีอากรที่สั่งในคำฟ้องของโจทก์ในตอนต้นที่ว่า"รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน" เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรสั่งว่าในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ส่วนคำสั่งศาลภาษีอากรที่สั่งต่อไปว่า "เนื่องจากจำเลยเป็นหน่วยราชการมีภูมิลำเนาแน่นอนการส่งหากไม่มีผู้รับให้ปิด" นั้น เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรได้สั่งไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ ก็ให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคแรก โดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยแล้ว เจ้าหน้าที่งานสารบรรณของจำเลยไม่เต็มใจรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ เท่ากับว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาไม่อาจทำได้ เจ้าพนักงานศาลจึงปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540ดังนี้ จึงเป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคแรก มิได้เป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตามข้อความในคำสั่งศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 76 เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนดระยะเวลาการปิดหมายไว้ว่าจะให้มีผลใช้ได้เมื่อใด ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยการปิดหมายในคดีนี้ จึงมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่วันปิดหมาย คือมีผลเมื่อพ้นวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จำเลยยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2540 จึงเป็นการยื่นคำให้การภายในกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยปิดหมายและการนับระยะเวลาในการยื่นคำให้การในคดีภาษีอากร
คำสั่งของศาลภาษีอากรที่สั่งในคำฟ้องของโจทก์ในต้อนต้นที่ว่า "รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน7 วัน" เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรสั่งว่าในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ส่วนคำสั่งศาลภาษีอากรที่สั่งต่อไปว่า "เนื่องจากจำเลยเป็นหน่วยราชการมีภูมิลำเนาแน่นอนการส่งหากไม่มีผู้รับให้ปิด" นั้น เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรได้สั่งไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ ก็ให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคแรก โดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยแล้ว เจ้าหน้าที่งานสารบรรณของจำเลยไม่เต็มใจรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ เท่ากับว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาไม่อาจทำได้ เจ้าพนักงานศาลจึงปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 ดังนี้ จึงเป็นการส่งโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรก มิได้เป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตามข้อความในคำสั่งศาล ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนดระยะเวลาการปิดหมายไว้ว่าจะให้มี ผลใช้ได้เมื่อใด ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยการปิดหมายในคดีนี้ จึงมี ผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่ วันปิดหมาย คือมีผลเมื่อพ้นวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จำเลย ยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2540 จึงเป็นการยื่น คำให้การภายในกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้เหมาะสม
การที่จำเลยมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตในวันและเวลาเดียวกัน ถือว่าจำเลยมีเจตนาอันเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่เนื่องจากความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะปรากฎว่าคดีสามารถฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยหนักเกินไปศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมกับฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างเอกสารสิทธิและเอกสารราชการทั่วไป
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส.สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304 และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตามพระราชบัญญัติรถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265,341 ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบคู่มือจดทะเบียนรถไม่ใช่เอกสารสิทธิปลอม ความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวก ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส. สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกง ตาม ป.อ.มาตรา 83, 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265, 341
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย