พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์ไม่ขอผลตามกฎหมายแรงงาน กลับเรียกร้องสินจ้างอื่น ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
คำฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่ว่าด้วยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง อาจขอให้ศาลสั่งนายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือให้ ใช้ค่าเสียหายแทนการขอกลับเข้าทำงาน แต่คดีนี้แม้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่โจทก์มิได้ขอผล ตามมาตรา 49 กลับยอมรับการสิ้นภาวะเป็นลูกจ้างและไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายตามที่มาตรา 49 ให้สิทธิไว้คง ติดใจเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 และเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับขอ เงินบำเหน็จและเงินค่าตำแหน่งอันเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมิได้เกี่ยวด้วยการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าจำเลย เป็นผู้มีอำนาจเลิกจ้างและการเลิกจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน ที่การลงโทษโจทก์ถึงไล่ออกต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของนายจ้างก่อนหรือไม่ก็หาเป็นประโยชน์แห่งคดีโจทก์ไม่ที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและไม่วินิจฉัยความสองข้อนั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์คำสั่งพนักงานเงินทดแทน หากไม่ปฏิบัติตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งคำสั่งในศาล
เมื่ออธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลย และให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแล้ว จำเลยหาได้นำคดีไปสู่ศาลไม่ คำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นที่สุด จำเลยจะดำเนินการใด ๆ ในศาลแรงงานอีกไม่ได้รวมทั้งให้การต่อสู้คดี ทั้งนี้โดยต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหมายความรวมถึงพนักงานเงินทดแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการสมยอมเพื่อให้ทรัพย์หลุดพ้นการบังคับชำระหนี้ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ได้ฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ประเด็นมีอยู่ว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยึดนั้นหรือไม่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าการยกทรัพย์พิพาทให้ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นการสมยอมกันเพื่อให้ทรัพย์หลุดพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ได้ โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนหรือการฉ้อฉลเป็นคดีใหม่ไม่เป็นเรื่องนอกประเด็นเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำหนังสือยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้องเป็นการสมยอมกันทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบเป็นการฉ้อฉล บ้านพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ ศาลก็พิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ได้
อุทธรณ์ของผู้ร้องว่า แม้โจทก์จะขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลก็ขาดอายุความแล้ว มิใช่เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของผู้ร้องว่า แม้โจทก์จะขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลก็ขาดอายุความแล้ว มิใช่เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกให้ลาออกเพื่อหลีกเลี่ยงดำเนินคดีทุจริต ไม่ถือเป็นการข่มขู่ให้ลาออก
เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันส่อว่าทุจริตเกี่ยวกับการเงินแล้วนายจ้างบอกให้ลูกจ้างลาออกมิฉะนั้นจะดำเนินคดีเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ดังนั้น เมื่อลูกจ้างสมัครใจลาออก จึงถือไม่ได้ว่านายจ้างเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลไม่อำนาจสั่งจ่ายค่าชดเชย ต้องพิจารณาตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัท
แม้การเลิกจ้างของจำเลยจะมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและเงินอื่น ๆ ตามข้อบังคับของจำเลยไม่
โจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าเสียหายให้โจทก์คณะกรรมการยกคำร้องของโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยต้องจ่ายเงินต่าง ๆ นั้นให้โจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าเสียหายให้โจทก์คณะกรรมการยกคำร้องของโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยต้องจ่ายเงินต่าง ๆ นั้นให้โจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อน กรณีจำเลยให้การรับว่าเลิกจ้างแล้ว
เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ถูกต้องและคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์มีสิทธิอะไรบ้าง เมื่อถูกเลิกจ้าง ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยดังกล่าวและให้ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากสามีของลูกจ้างทำงานกับคู่แข่ง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเพื่อความเหมาะสมเพราะเหตุที่ สามีโจทก์ไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งขันทางธุรกิจกับจำเลย เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ตาม มาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800-2801/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าเสียหายระหว่างถูกเลิกจ้าง: ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายแม้สั่งให้กลับเข้าทำงาน
การที่ลูกจ้างข่มขู่นายจ้าง ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกคืนเงินค่าชดเชยศาลแรงงานต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้การประปานครหลวงจำเลยจ่ายค่าชดเชย จำเลยให้การว่าได้จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ซึ่งถือว่าเป็นค่าชดเชยให้โจทก์ไปแล้ว และฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินดังกล่าวดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 6 อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา8(1)
การเสนอคำฟ้องแย้งนั้น ผู้เสนอต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 การยืนยันว่าเงินกองทุนสงเคราะห์ที่จ่ายไปนั้นเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินดังกล่าว คดีไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องแย้ง
การเสนอคำฟ้องแย้งนั้น ผู้เสนอต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 การยืนยันว่าเงินกองทุนสงเคราะห์ที่จ่ายไปนั้นเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินดังกล่าว คดีไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงานหลังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยแล้ว ไม่ถือเป็นการดำเนินคดีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
โจทก์ได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้วินิจฉัยชี้ขาด และออกคำสั่งตามมาตรา 125 ประกอบด้วยมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แล้ว กฎหมายมิได้บัญญัติว่าให้คำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุดหรือให้อุทธรณ์ ต่อผู้ใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(4) แต่กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จะถือว่าโจทก์ ดำเนินคดีโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ได้ เพราะแปลได้ว่าโจทก์ฟ้องตาม มาตรา 8(2) โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในวรรคท้ายแล้ว