คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนฟ้องศาล
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121(1) ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และต้องยื่น ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางในกรณีนี้ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีแรงงาน: อำนาจฟ้องไม่ตกแม้ศาลแรงงานยังไม่ตั้ง, ไม่เกินขอบเขตมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนลูกจ้าง ซึ่งทำไว้ก่อนตั้งศาลแรงงาน ผู้รับมอบอำนาจนำมาฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็ได้ และฟ้องเรียกค่าจ้าง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องบินไปกลับตามสัญญาได้ เมื่อจำเลยมิได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผู้มอบอำนาจตายไร้ความสามารถหรือล้มละลาย ก็ไม่มีเหตุที่จะไม่รับฟังใบมอบอำนาจนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขัดคำสั่งและประเด็นค่าชดเชยที่ศาลสั่งเกินคำขอ
กรรมการลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ลูกจ้างเคยทำผิดขัดคำสั่งมาแล้ว และได้ตักเตือนเป็นหนังสือ ถูกลงโทษพักงานและละทิ้งหน้าที่ นายจ้างร้องต่อศาลแรงงานขอเลิกจ้างได้ ลูกจ้างไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ อันศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งเกินคำขอได้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ศาลฎีกายกคำสั่งศาลแรงงานกลางในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425-1436/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานพิพากษาเกินคำขอ: ดอกเบี้ยค่าชดเชย
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในค่าชดเชยโดยโจทก์มิได้มีคำขอในเงินจำนวนนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานพิพากษาในเรื่องนี้มิใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ที่ศาลแรงงานจะพิพากษาเกินคำขอบังคับได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความผิดและสิทธิในการรับค่าชดเชย กรณีไม่ชัดเจนว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อ
เมื่อกรณีฟังไม่ได้ชัดว่าจำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ทำผิดตาม ข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลยผู้เป็นนายจ้าง ส่วนค่าเสียหายที่ยังไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์จะต้องรับผิดทั้งหมดหรือไม่ จึงยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะนำมาหักจากค่าชดเชยได้ ในชั้นนี้จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนก่อน ส่วนหนี้ที่โจทก์ติดค้างต้องว่ากล่าวกันต่างหาก
อุทธรณ์ที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยขัดกับคำพิพากษาเดิม และขัดต่อพยานหลักฐานเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาใหม่นี้ ศาลแรงงานกลางจะยกประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้ ศาลแรงงานกลางยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
อุทธรณ์ว่าศาลวินิจฉัยคดีขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207-1209/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: หลักการผิดนัดชำระหนี้ และขอบเขตอำนาจศาลแรงงาน
ตามข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แก้ไขฉบับที่ 2 และฉบับที่ 6 นายจ้างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าชดเชยให้ลูกจ้างทันที โดยลูกจ้างไม่ต้องทวงถาม เมื่อนายจ้างไม่ชำระย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัด และลูกจ้างเสียหายอยู่ในตัว แม้กฎหมายว่าด้วยแรงงานมิได้บัญญัติถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้ก็นำหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ที่ให้ลูกหนี้รับผิดเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดมาบังคับได้
ตามคำฟ้องมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยไว้ ทั้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็มิได้อ้างเหตุผลความเป็นธรรมตามที่เห็นควรประการใด การที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าดอกเบี้ยในค่าชดเชยด้วยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เจตนาฝ่าฝืนระเบียบ และข้อความในเอกสารที่ไม่เข้าข่ายการปลุกปั่น
ลูกจ้างมีเจตนาฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้างหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อความในใบปลิวเป็นแต่แถลงผลการเจรจา และขอให้ต่อสู้ต่อไปไม่เป็นการผิดระเบียบที่จะเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การเรียกร้องสินจ้างจากการเลิกจ้างที่ไม่แจ้งล่วงหน้า แม้จะเคยฟ้องเรื่องค่าชดเชยไปแล้ว
การเลิกจ้างย่อมเป็นมูลให้เรียกร้องค่าชดเชยและเรียกสินจ้างที่มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า และโจทก์อาจฟ้องเรียกร้องรวมในคดีก่อนได้อยู่แล้ว แต่ไม่ฟ้อง กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เรียกสินจ้างที่มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าอีก ดังนี้ ประเด็น ที่จะต้องวินิจฉัยในคดีทั้งสองก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376-377/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการฟ้องผิดตัวบุคคลในคดีแรงงาน
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานซึ่งเป็นการไม่เป็นธรรมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ โดยถืออัตราค่าจ้างก่อนโจทก์ถูกเลิกจ้างมาเป็นการคำนวณค่าเสียหายการจะใช้คำว่าค่าจ้างหรือค่าเสียหายไขว้เขวไป ไม่ทำให้อายุความ 10 ปีเรื่องจำเลยผิดสัญญาจ้างเปลี่ยนแปลงไปเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การฟ้องผิดตัวจำเลยเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ถ้าศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นเองได้
ศาลมีอำนาจคำนวณค่าเสียหายให้ได้ตามที่เห็นสมควรอุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงวิธีคิดค่าเสียหายซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 10