คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถือเป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัย ไม่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยให้นายจ้างปฏิบัติตามไม่เป็นการโต้แย้งสิทธินายจ้างที่จะมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งพักงานเกิน 7 วัน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากไม่มีเจตนาจะไม่จ้าง หรือกลั่นแกล้ง
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ โดยไม่มีเจตนาที่จะไม่จ้างหรือกลั่นแกล้งแต่เพื่อสอบสวนกรณีทุจริต แล้วสั่งให้โจทก์เข้าทำงานต่อไปไม่ถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ
คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งโจทก์ มิได้คัดค้านไว้โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานเกิดหลังเลิกจ้าง ศาลยกฟ้องตามกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยได้เลิกจ้าง โดยมีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2519 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลแรงงานบังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใหม่หรือเรียกค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 49 ได้ส่วน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ก็ไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องคดีขอให้ศาลบังคับจำเลยตามคำขอข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งพนักงานเงินทดแทนภายในกำหนด ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งในศาลแรงงาน
เมื่อพนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนแล้วจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่ออธิบดีตามขั้นตอนและวิธีการในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 จำเลยดำเนินการในศาลแรงงานไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการคุ้มครองประโยชน์คู่ความมีขอบเขตจำกัดเฉพาะระหว่างการพิจารณาคดีก่อนมีคำพิพากษา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 58 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะทำคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาก่อนศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีแต่กรณีของโจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ภายหลังจากศาลแรงงานมีคำพิพากษาแล้ว จึงจะนำมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ไม่รับคำร้องดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องแสดงเหตุผลการเลิกจ้าง หากไม่มีเหตุผล ย่อมถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งให้โจทก์ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม และแถลงตอบคำถามของศาลแรงงานกลางว่า โจทก์ได้รับค่าชดเชยค่าที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับการบอกกล่าวจากจำเลยครบถ้วนแล้ว ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงเรียกค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ หากฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลง ก็ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมอยู่ในตัว จึงยังไม่ชอบที่จะงดสืบพยาน แต่ควรฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด ไม่สร้างผลผูกพันทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้ทำคำเตือนถึงโจทก์ เพราะเห็นว่าโจทก์ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โดยไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่ลูกจ้างคำเตือนนี้มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดอันมีผลทางกฎหมาย แม้จะกำหนดให้โจทก์ชำระเงินแก่ลูกจ้างโจทก์หาจำต้องปฏิบัติตามไม่คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใดและไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้เพิกถอนคำเตือนของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019-2022/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ยินยอมและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัทโจทก์จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากข้อตกลงเดิมเป็นให้ลูกจ้างทำงานเป็นผลัดหรือเป็นกะโดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้เพราะการทำงานเป็นผลัดนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างการที่ลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งประกาศระเบียบข้อบังคับการทำงานฉบับใหม่จะถือว่าลูกจ้างได้ยินยอมแล้วยังไม่ได้การไม่เข้าทำงานจึงมิใช่การหยุดงานหรือการนัดหยุดงานการเลิกจ้างจึงสืบเนื่องมาจากข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงยังมีผลบังคับอยู่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา123 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างหากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะโต้แย้งทันทีแต่ไม่อาจหยุดงานได้การหยุดงานจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายดังนี้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางฟังมาและไม่มีความตอนใดที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของรองผู้จัดการใหญ่ต่อการสูญหายของทรัพย์สิน และขอบเขตค่าชดเชยตามสัญญาจ้าง
ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่และรักษาการในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 การที่ปุ๋ยในคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 หายไปโจทก์ให้คนไปสืบได้เพียง 7 วัน จึงยังมิได้รายงานให้คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ทราบ เป็นการใช้ดุลพินิจปฏิบัติหน้าที่ตามที่เห็นสมควรในพฤติการณ์เช่นนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่รับผิดชอบในหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนข้อบังคับและคำสั่งของจำเลยที่ 1 หรือมิได้กระทำการโดยซื่อสัตย์สุจริตตามความในสัญญาจ้าง และหาใช่เป็นเรื่องไม่ดูแลรักษาทรัพย์สินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับเรื่องวินัยไม่ จึงไม่ผิดวินัยหรือเงื่อนไขในสัญญาจ้างการที่โจทก์แถลงขอเรียกเงินตามฟ้องเพียง 230,000 บาทเห็นได้ว่าโจทก์ติดใจเรียกเงินทุกประเภทรวมทั้งค่าชดเชยด้วยทั้งไม่ติดใจเรียกดอกเบี้ยจากเงินที่กล่าวนี้อีกเมื่อศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจลดเงินที่โจทก์ติดใจเรียกร้องลงมาเหลือเพียง 159,64246 บาท เงินจำนวนนี้จึงรวมค่าชดเชยไว้แล้วนั่นเอง เมื่อเงินจำนวนนี้สูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับตามกฎหมายแล้วโจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าศาลใช้ดุลพินิจลดค่าชดเชยลงให้โจทก์ได้รับต่ำกว่าที่กฎหมายบังคับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถือเป็นข้อพิพาทที่โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงให้คำเตือนแก่โจทก์โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 77 แห่งประกาศดังกล่าวเช่นนี้ แม้จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วก็ไม่ใช่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 คำวินิจฉัยของกรมแรงงานจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีผลบังคับเป็นพิเศษไปกว่าคำเตือนของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นกันจำเลยไม่ยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 10