คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ บุณยเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากทายาท กรณีตกลงขายฝากแล้วยกเลิกมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ช.ให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืน จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้แก่ ช.เป็นเวลา 1 ปี โดยได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้ว กับมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท และหนังสือมอบอำนาจให้ช.ไปจดทะเบียนขายฝากเอง แต่โจทก์ไปขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ช.หรือทายาทมีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้จนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนการขายฝากหรือนำเงินราคาที่ขายฝากพร้อมดอกเบี้ยไปคืนแก่ทายาท ช. และให้การว่าโจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องคืนหนังสือรับรองการทำ-ประโยชน์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยแล้ว ทั้งจำเลยก็นำสืบพยานตามข้อต่อสู้นั้นแล้วด้วย ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงและโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่เป็นเรื่องที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมได้ดำเนินไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
แม้ ช.จะเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทโดยโจทก์มอบให้ไว้ เนื่องจากตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาททั้งสองแปลงให้ แต่การที่ ช.เคยครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้นั้น ก็เป็นเพียงการครอบครองเอกสารซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในเอกสารนั้นได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเท่านั้น ช.ไม่ได้ครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องขายฝากให้แก่ ช. ฉะนั้นจึงถือไม่ได้ว่า ช.หรือกองมรดกของ ช.มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท เมื่อ ช.ถึงแก่ความตายจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ช.ย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 241
โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจาก ช. เมื่อ ช.ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของ ช.คนใดก็ได้ จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ช. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องส่งมอบเอกสาร-สิทธิสำหรับที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดิน แต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์สำหรับการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเป็นเงินเกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูง ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากทายาท หลังตกลงขายฝากแล้วยกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ช.ให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืน จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้แก่ ช. เป็นเวลา 1 ปี โดยได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้วกับมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท และหนังสือ มอบอำนาจให้ ช. ไปจดทะเบียนขายฝากเอง แต่โจทก์ไปขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ช. หรือทายาทมีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้จนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนการขายฝากหรือนำเงินราคาที่ขายฝากพร้อมดอกเบี้ยไปคืนแก่ทายาท ช. และให้การว่าโจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่จึงครอบคลุมถึงข้อต่อสู่ตามคำให้การของจำเลยแล้ว ทั้งจำเลยก็นำสืบพยานตามข้อต่อสู้นั้นแล้วด้วย ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงและโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่เป็นเรื่องที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมได้ดำเนินไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก แม้ ช. จะเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทโดยโจทก์มอบให้ไว้ เนื่องจากตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาททั้งสองแปลงให้แต่การที่ ช. เคยครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้นั้น ก็เป็นเพียงการครอบครองเอกสารซึ่งแสดงว่าผู้เขียนในเอกสารนั้นได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเท่านั้น ช. ไม่ได้ครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องขายฝากให้แก่ ช.ฉะนั้นจึงถือไม่ได้ว่าช. หรือกองมรดกของช. มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท เมื่อ ช. ถึงแก่ความตายจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ช. ย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจาก ช.เมื่อช. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของ ช. คนใดก็ได้จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ช. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินแก่โจทก์เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์สำหรับการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเป็นเงินเกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูง ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: ภริยาต่างด้าวมีสิทธิจัดการมรดก หากไม่เป็นบุคคลต้องห้าม
แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลต่างด้าวแต่ผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ที่จะจัดการมรดกของผู้ตาย การเป็นบุคคลต่างด้าวหาเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกของผู้ตายแต่อย่างใดไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ของผู้ตายร่วมกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดมีผลเหนือกว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 89 คือต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 400,000 บาท แต่ข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสอง มีโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 500,000 บาท เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเช่นเดียวกันต้องใช้พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,83 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาปรับบทลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีพยายามฆ่า: พยานหลักฐานแน่นชัด โจทก์ให้การรับสารภาพ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุมจำเลยได้ภายหลังเกิดเหตุแล้วประมาณ 2 ปีก็ตาม แต่โจทก์มีผู้เสียหายทั้งสองและ อ.เบิกความเป็นพยานตรงกันว่า คืนเกิดเหตุขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองอ.และว. นั่งดื่มสุรากันอยู่ที่ร้านค้า จำเลยเดินเข้ามาหาผู้เสียหายที่ 1 พร้อมจ้องอาวุธปืนไปที่หน้าอกผู้เสียหายที่ 1 แล้วยิงทันที 3 นัด แต่กระสุนปืนไม่ลั่นผู้เสียหายที่ 2 และ อ. วิ่งเข้าไปแย่งอาวุธปืนจากจำเลยแล้วเสียงปืนก็ดังขึ้น ผู้เสียหายที่ 2 ถูกกระสุนปืนที่ศีรษะขณะนั้นจำเลยยืนห่างผู้เสียหายทั้งสองและ อ. ประมาณ3 เมตร ในบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้านีออนขนาด 40 แรงเทียนอยู่ที่หน้าร้านเกิดเหตุ ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 3 เมตรแสดงว่าในที่เกิดเหตุมีแสงสว่างเพียงพอที่ทำให้ผู้เสียหายทั้งสอง และ อ. เห็นหน้าจำเลยได้ชัดเจน ทั้งผู้เสียหายที่ 1และ อ. รู้จักจำเลยมาก่อน นอกจากนี้ภายหลังเกิดเหตุแล้วในวันรุ่งขึ้นซึ่งแทบจะทันทีทันใดกับเหตุเกิดแล้วสด ๆผู้เสียหายที่ 2 ไปแจ้งความระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสอง หากผู้เสียหายที่ 2 จำจำเลยไม่ได้ก็คงจะไม่ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้เป็นแน่จึงเชื่อว่าผู้เสียหายทั้งสองและ อ. จำจำเลยได้ ส่วน ก.และ ร. เป็นพนักงานสอบสวนผู้ร่วมจับกุมจำเลยเบิกความว่าได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแก่จำเลย จำเลยให้การรับสารภาพโดยมีผู้เสียหายทั้งสอง และ อ. ชี้ตัวต่างก็ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายเมื่อ ก. และ ร. พยานโจทก์ต่างก็เป็นเจ้าพนักงานของรัฐมีหน้าที่สืบสวน ตรวจค้น จับกุมและสอบสวนผู้กระทำความผิดกฎหมายได้ปฏิบัติงานไปตามอำนาจหน้าที่ทั้งไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะแกล้งกล่าวหาจับกุมและสอบสวนจำเลย อีกทั้งจำเลยได้ให้การถึงเหตุการณ์นับแต่จำเลยกับพวกออกจากบ้านจนใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองแล้วหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจขู่เข็ญบังคับ ตามพฤติการณ์พยานหลักฐานโจทก์เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้จริง พยานจำเลยไม่พอฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสาม และมาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ วรรคสองจำคุกกระทงละ 1 ปี และ 6 เดือนตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษายืน ดังนี้การที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงหักกลบลบหนี้กับการเลิกคดีความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค การหักกลบลบหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงไม่ถือเป็นการระงับหนี้
กรณีคดีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจะเลิกกัน ต้องเป็นกรณีที่มีการใช้เงินตามเช็คหรือหนี้ที่ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การที่โจทก์และจำเลยแถลงร่วมกันว่าคดีสามารถที่จะตกลงกันได้โดยจำเลยจะรีบไปดำเนินการถมดินให้กับโจทก์เป็นที่เรียบร้อย หากถมดินให้กับโจทก์เรียบร้อยแล้วก็สามารถหักกลบลบหนี้ตามฟ้องกับโจทก์ได้ข้อตกลงดังกล่าวมีเจตนาจะไม่ให้มูลหนี้เดิมระงับทันทีแต่มีเงื่อนไขในลักษณะที่โจทก์มีเจตนาจะให้จำเลยทำงานให้โจทก์แล้วเสร็จก่อนแล้วจึงหักหนี้ค่าจ้างกับมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทคดีนี้กันภายหลัง จึงมิใช่เป็นการยอมความเพื่อให้คดีระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่แถลงหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกคดีเช็คคืนเงินไม่เป็นผล หากยังไม่ชำระหนี้ตามสัญญา การตกลงหักลบหนี้ไม่ถือเป็นการยอมความ
กรณีคดีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจะเลิกกัน ต้องเป็นกรณีที่มีการใช้เงินตามเช็คหรือหนี้ที่ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การที่โจทก์และจำเลยแถลงร่วมกันว่า คดีสามารถที่จะตกลงกันได้โดยจำเลยจะรีบไปดำเนินการถมดินให้กับโจทก์เป็นที่เรียบร้อย หากถมดินให้กับโจทก์เรียบร้อยแล้วก็สามารถหักกลบลบหนี้ตามฟ้องกับโจทก์ได้ ข้อตกลงดังกล่าวมีเจตนาจะไม่ให้มูลหนี้เดิมระงับทันทีแต่มีเงื่อนไขในลักษณะที่โจทก์มีเจตนาจะให้จำเลยทำงานให้โจทก์แล้วเสร็จก่อนแล้วจึงหักหนี้ค่าจ้างกับมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทคดีนี้กันภายหลัง จึงมิใช่เป็นการยอมความเพื่อให้คดีระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่แถลงหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7คดีจึงไม่เลิกกันตาม ป.วิ.อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสน และประเด็นนอกฟ้อง
เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายสำหรับข้อเท็จจริงนั้นศาลฎีกาจำต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238ประกอบมาตรา 247 ปัญหาที่ว่าราคาที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์โอนให้แก่จำเลยแทนการชำระหนี้มีราคาเท่ากับราคาในท้องตลาดขณะที่โอนแทนการชำระหนี้ จึงมิใช่ประเด็นพิพาทแห่งคดีคู่ความจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนี้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาชำระหนี้จากการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาชี้ว่าการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่ใช่การถูกหลอกลวง และประเด็นราคาตลาดต้องยกขึ้นว่าในคำฟ้อง
โจทก์กู้เงินจากจำเลย 100,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน3 เดือน โดยโจทก์นำที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยขณะทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ เมื่อโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลัง
ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นิติกรรมโอนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยหรือไม่นั้น อันเป็นการกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 154มิใช่การกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจหยิบยกคำเบิกความของ อ.ขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว มิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลังนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเจตนาชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในวันชี้สองสถานดังกล่าวแล้วแม้จะมีถ้อยคำว่าหลอกลวงในคำวินิจฉัยก็เป็นเรื่องกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยว่าเป็นเรื่องโจทก์ทำนิติกรรมเพราะถูกจำเลยหลอกลวงหรือเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ฎีกาของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่า นิติกรรมที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นโมฆะ เพราะไม่มีการตีราคาที่ดินพิพาทตามราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ที่ส่งมอบ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าราคาที่ดินที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทชำระหนี้แก่จำเลยเป็นราคาเท่ากับท้องตลาดขณะที่โอนที่ดินแทนการชำระหนี้อันเป็นเหตุให้นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่นั้น โจทก์มิได้ตั้งประเด็นนี้ขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่คู่ความในการอุทธรณ์ฎีกา แม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้แก่โจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและการแต่งตั้งใหม่เนื่องจากละเลยหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาคดีไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่กรณีที่ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างแม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันที่ยังไม่ถึงที่สุดเพราะผู้ร้องอุทธรณ์นั้น คำสั่งดังกล่าวก็ผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความจนกว่าคำสั่งนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นและทราบคำสั่งแล้ว ถือว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้เริ่มขึ้นแล้วในวันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1716 ดังนั้นผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา1728 ทั้งนี้ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729และหากผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ มาตรา 1731 ก็บัญญัติให้ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้
ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็เพราะว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อบัญชีทรัพย์ที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 และ 1729 และโดยที่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด ทรัพย์มรดกที่ให้เช่าผู้ร้องก็เป็นผู้เก็บค่าเช่าตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม2534 แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้วผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกประกอบกับศาลได้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงสมควรตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป
of 110