คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ บุณยเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและการแต่งตั้งใหม่เนื่องจากละเลยหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาคดีไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่กรณีที่ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างแม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันที่ยังไม่ถึงที่สุดเพราะผู้ร้องอุทธรณ์นั้น คำสั่งดังกล่าวก็ผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความจนกว่าคำสั่งนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นและทราบคำสั่งแล้ว ถือว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้เริ่มขึ้นแล้วในวันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1716 ดังนั้นผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา1728 ทั้งนี้ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729และหากผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ มาตรา 1731 ก็บัญญัติให้ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้
ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็เพราะว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อบัญชีทรัพย์ที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 และ 1729 และโดยที่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด ทรัพย์มรดกที่ให้เช่าผู้ร้องก็เป็นผู้เก็บค่าเช่าตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม2534 แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้วผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกประกอบกับศาลได้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงสมควรตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับซื้อทรัพย์ที่ได้มาจากการลักทรัพย์ โดยผู้ซื้อรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย มีความผิดฐานรับของโจร
รถยนต์กระบะของกลางมีสภาพเป็นรถใหม่ผู้เสียหายซื้อมาก่อนเกิดเหตุ 5 เดือน ราคา 335,000 บาท แต่ขณะที่จำเลยรับซื้อรถยนต์กระบะของกลางปรากฏว่าไม่มีกุญแจและบริวารกุญแจไขประตูและกุญแจสตาร์ทชำรุด ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ป้ายวงกลมและหลักฐานการทำประกันภัยก็ไม่มีที่รถ ในชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้รับซื้อรถยนต์กระบะของกลางไว้ในราคา 80,000 บาท ดังนี้ ตามพฤติการณ์พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยรับซื้อรถยนต์กระบะของกลางโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนผลขาดทุนสะสมทางบัญชีกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ผลขาดทุนสะสมทางบัญชีมิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) ที่บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายได้นั้น ตามแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด.50) ของโจทก์ ปรากฏว่าผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (12) อยู่ในรายการที่ 5 (47) ว่าด้วยรายได้ รายจ่ายและกำไรหรือขาดทุนสุทธิ แต่ผลขาดทุนสะสมจำนวน 11,849,473.86 บาท ที่เจ้าพนักงานของจำเลยนำมาถือเป็นผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี นำมาปรับปรุงหักเป็นรายจ่ายให้แก่โจทก์ในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528นั้นอยู่ในรายการที่ 6 (13) ว่าด้วยหนี้สินและทุน จึงเห็นได้ว่าเป็นการแยกต่างหากออกจากกันคนละรายการและเป็นคนละเรื่อง ทั้งในรายการที่ 5 (47) ก็ระบุเฉพาะแต่ผลขาดทุนสุทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต่างกับรายการที่ 6 (13)ได้ระบุถึงผลกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสมคือมีทั้งกำไรหรือขาดทุน รายการที่ 6(13) นี้จึงเป็นเรื่องหนี้สินและทุนที่ยกมาทางบัญชี ผลขาดทุนสะสมตามรายการที่ 6(13) จึงมิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร เพราะผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรนั้นต้องคำนวณตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี ซึ่งตามแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2527ของโจทก์ก็ระบุว่าโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2527 จำนวน18,571,825.52 บาท อันเป็นผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำยอดเงินจำนวน 11,849,473.86 บาทที่โจทก์ระบุในรายการที่ 6 (13) อันเป็นผลขาดทุนสะสมทางบัญชีมาถือเป็นผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี และนำมาปรับปรุงหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 ของโจทก์นั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (1) โจทก์จะมีหน้าที่หักภาษีณ ที่จ่ายเมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้พนักงาน แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บังคับให้โจทก์มีหน้าที่ขอหลักฐานการชำระเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยดังกล่าวจากพนักงานเพื่อนำมาแสดงต่อจำเลย อีกทั้งหลักฐานการชำระเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหลักฐานที่บุคคลภายนอกออกให้แก่พนักงานโจทก์เพื่อเก็บไว้ใช้อ้างอิง มิใช่หลักฐานที่ออกให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เก็บหลักฐานดังกล่าวไว้แสดงต่อจำเลย หากจำเลยสงสัยว่าหลักฐานดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่จำเลยก็สามารถเรียกพนักงานโจทก์มาสอบปากคำหรือทำการตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่พนักงานโจทก์ยื่นไว้แล้วต่อจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีอาญา: การพิจารณาความพิรุธและข้อสงสัยในพยานหลักฐาน
ในคืนวันเกิดเหตุจำเลยว่าจ้างป. ให้ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งที่คลองเตยตกลงราคากันอยู่นานประมาณ 2 นาทีไม่ได้ความว่า ป.ได้สังเกตตำหนิรูปพรรณของจำเลยว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร ทั้งสถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ป.จอดรถอยู่ข้างวัดอยู่ห่างจากประตูซุ้มถึง 200 เมตรแสงสว่างจากไฟฟ้าที่ประตูซุ้มน่าจะส่องมาไม่ถึง นอกจากนี้ระหว่างทางที่ ป.ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งคนร้ายก็ไม่ปรากฏว่าได้พูดคุยหรือหันมามองหน้าคนร้ายแต่อย่างใดน่าเชื่อว่าตอนที่คนร้ายไปว่าจ้างให้ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งป.คงเห็นหน้าคนร้ายไม่ชัดเจนปรากฏว่า ป.รูปร่างสูงใหญ่มีร่างกายแข็งแรงกว่าจำเลยซึ่งมีรูปร่างผอมสูงและเป็นคนติดยาเสพติด ตามสภาพไม่น่ามีเรี่ยวแรงพอที่จะต่อย ป.จนล้มลงจากรถจักรยานยนต์และจำเลยคงไม่กล้าเสี่ยงกระทำการดังกล่าวเป็นแน่ ประกอบกับภายหลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจให้ ป. ไปขอหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อรถมาร้องทุกข์ แต่ ป. กลับนำหนังสือมอบอำนาจมาให้เป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุแล้วถึง 5 วัน ทำให้ ป.มีเวลาปรุงแต่งลักษณะตำหนิรูปพรรณของคนร้ายก็เป็นได้เมื่อจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่มาตลอด พยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธและมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้จริงหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของรถที่ถูกยึด: พยานหลักฐานต้องสอดคล้องและน่าเชื่อถือ
รถจักรยานยนต์ของกลางที่ถูกยึดยังมีรายการจดทะเบียนรถแสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถอยู่ ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนผู้เป็นเจ้าของรถเป็นชื่อผู้ร้องแต่อย่างใดทั้งปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นคนแรกและเพิ่งครอบครองเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2539ซึ่งเป็นการครอบครองก่อนที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องได้ซื้อรถของกลางจากจำเลยเพียง 8 วัน หากผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากจำเลยจริงก็ควรจะพูดจาตกลงให้เป็นที่แน่นอนว่าจะไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางกันเมื่อใด แต่ผู้ร้องก็มิได้ตกลงในข้อดังกล่าวทั้งข้ออ้างของจำเลยที่ว่าได้ขายรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำเงินไปใช้หนี้ผู้อื่นที่จำเลยยืมมาซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางนั้น ก็เป็นคำเบิกความลอย ๆไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยยืมเงินจากใคร จำนวนเท่าใดทั้งจำเลยเพิ่งซื้อและนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปจดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ไม่ปรากฏว่าผู้ที่ให้จำเลยยืมเงินได้ทวงถาม อันจะทำให้จำเลยต้องรีบร้อนขายรถจักรยานยนต์ของกลาง เพื่อนำไปชำระหนี้เงินยืมหลังจากที่ซื้อมาได้เพียง 8 วัน พยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบว่าผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจึงมีพิรุธ ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากจำเลย ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางอันแท้จริงที่จะมีสิทธิมาร้องขอคืนรถคันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นจากการเจรจาหลังแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการข่มขู่
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่เป็นโมฆะ แม้ทำภายใต้สถานการณ์ถูกกดดันจากคดีอาญา เพราะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องมูลหนี้โดยชอบ
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1ให้โจทก์ โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8297/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานซื้อของผิดกฎหมายและทำไม้หวงห้าม: ศาลฎีกายืนโทษฐานความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้ดังกล่าวไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตราของ รัฐบาล และโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ไม้ดังกล่าวมาโดยชอบด้วยกฎหมาย แปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไว้ในครอบครองจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯนั้น ความผิดแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8297/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดซื้อของหลีกเลี่ยงอากร, ทำไม้หวงห้าม, และแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้ดังกล่าวไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตราของรัฐบาลและโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ไม้ดังกล่าวมาโดยชอบด้วยกฎหมาย แปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯนั้น ความผิดแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8120/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเจ้าพนักงานประเมินที่ไม่ชอบ เนื่องจากแบบแสดงรายการภาษีถูกต้อง
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 24มิถุนายน 2536 นั้น เป็นฉบับที่โจทก์ยื่นปกติมิใช่ฉบับยื่นเพิ่มเติม แม้โจทก์มิได้ยื่นตามกำหนดเวลาตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสอง ก็ตาม แต่ผลการตรวจสอบปรากฏว่า ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ภาษีขาย ยอดซื้อที่เสียภาษีแล้วภาษีซื้อ ภาษีที่ชำระเกิน และภาษีสุทธิที่ชำระเกิน ตรงตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้ทุกรายการ เช่นนี้ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์ยื่นปกติสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2536 จึงมิได้มีข้อผิดพลาดหรือมีการแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีมีนาคม 2536 คลาดเคลื่อนไปแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีมีนาคม 2536 ภายในกำหนดเวลาโจทก์จะต้องรับผิดหรือไม่อย่างไร ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้
of 110