คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหน้าที่งานที่ไม่เป็นธรรมและการปฏิเสธคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2522จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่พนักงานทอผ้าในแผนกทอผ้าตลอดมา การปฏิบัติงานที่แผนกสวัสดิการทั่วไป คือทำงานตักขยะ ตักเศษด้ายขึ้นมาจากท้องร่องรอบ ๆ โรงงานและกวาดขยะเน่าในโกดัง ซึ่งมีลักษณะงานแตกต่างจากที่โจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่เดิมที่แผนกทอผ้ามาก ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานในส่วนสำคัญและเป็นการย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ต่ำกว่าเดิม คำสั่งเปลี่ยนแปลงหน้าที่โจทก์จากงานทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไปจึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม การที่จำเลยมีคำสั่งเปลี่ยนหน้าที่โจทก์จากทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไป แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามโดยจำเลยได้ตักเตือนแล้วก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, สิทธิครอบครอง, ที่ดินแปลงเดียวกัน, น.ส.3ก., การโต้แย้งสิทธิ
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์กับที่ดินตามแบบหมายเลข 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวจำเลยได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นโต้แย้งในการชี้สองสถานของศาลชั้นต้นและในคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยให้จำเลยไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
ที่พิพาทตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 5141 ตำบลหนองขาม อำเภอ-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ของโจทก์ และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 ตำบลหนองขามอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นที่ดินแปลงเดียวกันและโจทก์มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่พิพาทเพื่อออกโฉนดเป็นของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 5141 ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาข้อนี้ด้วยแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5141 และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏในการชี้สองสถานคู่ความทั้งสองรับกันแล้วว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปแล้วในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, สิทธิครอบครอง, น.ส.3ก. และการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัย
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์กับที่ดินตามแบบหมายเลข3เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้นปัญหาดังกล่าวจำเลยได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นโต้แย้งในการชี้สองสถานของศาลชั้นต้นและในคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้วแต่ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยให้จำเลยไม่จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ ที่พิพาทตามน.ส.3ก.เลขที่5141ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีของโจทก์และที่ดินตามแบบหมายเลข3ตำบลหนองขามอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีเป็นที่ดินแปลงเดียวกันและโจทก์มีสิทธิครอบครองการที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่พิพาทเพื่อออกโฉนดเป็นของจำเลยถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ปัญหาที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)เลขที่5141ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็ตามแต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาข้อนี้ด้วยแล้วส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่5141และที่ดินตามแบบหมายเลข3เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้นเมื่อปรากฎในการชี้สองสถานคู่ความทั้งสองรับกันแล้วว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปแล้วในศาลชั้นต้นถือว่าเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ความผิดฐานปล้นทรัพย์ฯ ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานและลดโทษ
ในขณะที่จำเลยทั้งสองกับพวกกำลังช่วยกันค้นหาทรัพย์สินอยู่นั้นผู้ตายเข้ามาภายในบ้านจำเลยทั้งสองกับพวกจึงเข้าไปล็อกคอผู้ตายผู้ตายดิ้นรนต่อสู้และร้องขอความช่วยเหลือจำเลยทั้งสองกับพวกจึงช่วยกันจับผู้ตายมัดและรุมแทงผู้ตายต่อเนื่องจนผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุแม้ผู้ตายจะมีบาดแผลหลายแห่งก็เป็นการส่อแสดงให้เห็นเจตนาว่าต้องการแทงผู้ตายให้ถึงแก่ความตายในทันทีเท่านั้นไม่ใช่เป็นการฆ่าโดยการกระทำทารุณโหดร้าย ลำพังคำให้การชั้นสอบสวนของว. ภริยาผู้ตายและอ.ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าว.วานให้อ. ไปหาคนมาข่มขู่ผู้ตายและจับผู้ตายมัดเพื่อให้ว. เข้าไปตกลงกับผู้ตายเกี่ยวกับเรื่องในครอบครัวก็ดีคำซัดทอดของจำเลยทั้งสองกับส. ที่ว่าวันเกิดเหตุว. เป็นผู้กดรีโมทคอนโทรลเปิดประตูบ้านผู้ตายให้จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปก็ดีล้วนแต่เป็นพยานบอกเล่าและคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดมีน้ำหนักน้อยทั้งข้อความตามเทปบันทึกเสียงของผู้ตายก็รับฟังไม่ได้ว่าเป็นคำกล่าวของผู้ถูกทำร้ายก่อนตายพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกจ้างมาฆ่าผู้ตายจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์จากการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 4
จำเลยที่1ทำสัญญาจ้างจำเลยที่4ก่อสร้างอาคารและจำเลยที่4ทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์กับจำเลยที่4มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่2และที่3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้างจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่4ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคหนึ่งและมาตรา306บัญญัติไว้แล้วสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่4ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้นส่วนจำเลยที่4ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยที่1จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่4เมื่อจำเลยที่2และที่3ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที1ที่2และที่3ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่า จำเลยที่ 4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายต้องไม่คลุมเครือ หากรวมค่าล่วงเวลา ต้องคำนวณฐานค่าจ้างปกติได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะและลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
ตามสัญญาจ้างข้อ1ระบุว่าโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยและบริษัทในเครือโดยจะทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติและข้อ2ระบุให้โจทก์รับค่าจ้างเดือนละ8,160บาทเป็นการเหมาจ่ายและเงินพิเศษอื่นๆ(ค่าครองชีพค่าพาหนะและค่าอาหาร)อีกเดือนละ440บาทครั้งสุดท้ายโจทก์ได้รับการปรับค่าจ้างเป็นเดือนละ9,350บาทแม้สัญญาจ้างดังกล่าวจะระบุว่าเป็นการเหมาจ่ายแต่ก็มิได้ระบุให้เหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาเข้าด้วยกับค่าจ้างหากมีการรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเข้ากับค่าจ้างผลจะเป็นว่าไม่อาจทราบได้ว่าค่าจ้างปกติที่จะนำไปเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำหรือไม่และค่าล่วงเวลาที่ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เพราะการกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150 นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและนายจ้างประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ31วรรคหนึ่งแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นโมฆะ หากไม่ระบุอัตราค่าจ้างปกติชัดเจน และเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง
การกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นเมื่อจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและจำเลยประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายที่ไม่ระบุค่าจ้างปกติและค่าล่วงเวลา เป็นโมฆะตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ตามสัญญาจ้างข้อ 1 ระบุว่า โจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยและบริษัทในเครือ โดยจะทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติ และข้อ 2 ระบุให้โจทก์รับค่าจ้างเดือนละ 8,160 บาท เป็นการเหมาจ่ายและเงินพิเศษอื่น ๆ(ค่าครองชีพ ค่าพาหนะ และค่าอาหาร) อีกเดือนละ 440 บาท ครั้งสุดท้ายโจทก์ได้รับการปรับค่าจ้างเป็นเดือนละ 9,350 บาท แม้สัญญาจ้างดังกล่าวจะระบุว่าเป็นการเหมาจ่าย แต่ก็มิได้ระบุให้เหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาเข้าด้วยกับค่าจ้างหากมีการรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเข้ากับค่าจ้าง ผลจะเป็นว่าไม่อาจทราบได้ว่าค่าจ้างปกติที่จะนำไปเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่และค่าล่วงเวลาที่ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะการกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3, 11, 29,34 และ 42 เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาวันละ 5 ชั่วโมง นับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้อง และนายจ้างประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้า ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3วรรคสอง (1) (ข) ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว
of 79