พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
พยานโจทก์ทั้งสามไม่เคยมีสาเหตุกับจำเลยที่2มาก่อนเบิกความถึงพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันกอปรด้วยเหตุผลและจำเลยที่2ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนโดยสมัครใจคำรับสารภาพดังกล่าวย่อมใช้ยันจำเลยที่2ในชั้นพิจารณาได้และโจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่1ที่ให้การว่าจำเลยที่2มีส่วนร่วมในการกระทำผิดซึ่งแม้จะเป็นคำซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วยกันแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังศาลมีอำนาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักเชื่อได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่2ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่1จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากการจดจำของผู้เสียหาย และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน
เหตุเกิดเวลาประมาณ11นาฬิกาก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายมีโอกาสเห็นจำเลย2ครั้งซึ่งมีระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้เสียหายจะจำคนร้ายได้และเมื่อผู้เสียหายพบจำเลยในเวลาต่อมาก็ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายจึงเชื่อว่าผู้เสียหายจำจำเลยว่าเป็นคนร้ายได้แน่นอนไม่ผิดตัวG โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่8กรกฎาคม2537เวลากลางวันจำเลยกับพวกอีก1คนราคา4,500บาทร่วมกันชิงทรัพย์เงินจำนวน800บาทสร้อยคอทองคำหนัก2บาทราคา9,500บาทและสร้อยคอทองคำหนัก1บาทราคา4,500บาทรวมราคาทรัพย์14,800บาทของนางสำรวนเชื้อปรางผู้เสียหายโดยจำเลยกับพวกใช้กำลังประทุษร้ายผลักผู้เสียหายล้มใช้อาวุธปืนขู่บังคับว่าทันใดนั้นจะยิงผู้เสียหายและจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การชิงทรัพย์ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์พาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุมเหตุเกิดที่ตำบลไร่เก่าอำเภอปราณบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมรถจักรยานยนต์คันหมายเลขทะเบียนราชบุรีน-3232ที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,339,340ตรีริบของกลางให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์14,800บาทแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา339วรรคสองประกอบมาตรา340ตรี,83จำคุก15ปีของกลางริบให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์14,800บาทแก่ผู้เสียหาย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า"ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าวันที่8กรกฎาคม2537เวลาประมาณ11นาฬิกานางสำรวนเชื้อปรางผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เพื่อไปทำไร่เมื่อไปถึงทางแยกเข้าไร่ใหม่ก็จอดรถซื้อของเห็นจำเลยและพวก1คนนั่งอยู่เมื่อซื้อของแล้วผู้เสียหายขับรถไปตามถนนลูกรังขณะอยู่ห่างจากไร่ประมาณ1กิโลเมตรพวกของจำเลยขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยนั่งซ้อนท้ายไล่ตามทันผู้เสียหายและแล่นคู่กันจำเลยกระชากแขนขวาของผู้เสียหายทำให้รถจักรยานยนต์ทั้งสองคันล้มจำเลยเดินเข้าไปหาผู้เสียหายใช้อาวุธปืนสั้นจี้ขู่บังคับห้ามมิให้ผู้เสียหายร้องจากนั้นพวกของจำเลยปลดเอาสร้อยคอทองคำหนัก2บาท1เส้นสร้อยคอทองคำหนัก1บาท1เส้นและล้วงเอาธนบัตรจำนวน800บาทไปจากกระเป๋ากางเกงของผู้เสียหายส่วนจำเลยเดินไปที่รถของผู้เสียหายแล้วหยิบเอากุญแจรถไปจากนั้นพวกของจำเลยขับรถให้จำเลยนั่งซ้อนท้ายหลบหนีผู้เสียหายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรตำบลไร่เก่าเจ้าพนักงานตำรวจออกติดตามจำเลยกับพวกโดยสอบถามชาวบ้านซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุทราบว่าจำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปทางหมู่บ้านหนองแกจึงตามไปจนพบบ้านชั้นเดียวมีลักษณะคล้ายกระต๊อบหน้าบ้านประตูปิดเจ้าพนักงานตำรวจเคาะประตูเรียกอยู่ประมาณ10นาทีจำเลยเปิดประตูออกมาเมื่อเห็นเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยมีท่าทีตกใจกลัวเจ้าพนักงานตำรวจเห็นรถจักรยานยนต์ยี่ห้อซูซูกิสีดำไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนจอดอยู่จึงสั่งให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ออกมาตรวจสอบและถามจำเลยว่าขับรถจักรยานยนต์ไปไหนและให้ใครยืมรถจักรยานยนต์ไปใช้หรือไม่จำเลยบอกว่าไม่มีแต่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับเครื่องยนต์ดูปรากฏว่าเครื่องยนต์ยังร้อนเป็นพิรุธจึงควบคุมตัวจำเลยไปให้ผู้เสียหายดูตัวเมื่อผู้เสียหายเห็นจำเลยและรถจักรยานยนต์ก็ชี้ตัวยืนยันให้เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจจึงจับจำเลยโดยแจ้งข้อกล่าวหาว่าชิงทรัพย์ของผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนและยานพาหนะชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ จำเลยนำสืบว่าวันเกิดเหตุเวลาประมาณ8นาฬิกาจำเลยพาภริยาไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาลกุยบุรีกลับจากโรงพยาบาลกุยบุรีเวลาประมาณ15นาฬิกาต่อมาเวลาประมาณ16นาฬิกาเจ้าพนักงานตำรวจให้ผู้เสียหายไปดูตัวจำเลยและค้นบ้านจำเลยผู้เสียหายดูแล้วแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายแล้วค้นบ้านจำเลยแต่ไม่พบสิ่งของที่ผิดกฎหมายต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจผู้ค้นกลับมาค้นบ้านอีกครั้งขณะทำการค้นสิ่งของภายในบ้านจำเลยเสียหายจึงเกิดโต้เถียงกันเจ้าพนักงานตำรวจจึงจับจำเลยมาดำเนินคดี พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่าในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องมีคนร้าย2คนชิงทรัพย์ตามฟ้องของผู้เสียหายไปมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่โจทก์มีผู้เสียหายเบิกความว่าวันเกิดเหตุเวลาประมาณ11นาฬิกาพยานขับรถจักรยานยนต์ไปทำไร่ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านประมาณ30กิโลเมตรเมื่อขับรถไปถึงบริเวณทางแยกเข้าไร่ใหม่ได้จอดรถเพื่อซื้อของพบจำเลยกับเพื่อนอีก1คนนั่งอยู่อีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กันเมื่อซื้อของเสร็จแล้วพยานขับรถจักรยานยนต์เพื่อไปไร่พอจะถึงไร่ห่างกันประมาณ1กิโลเมตรพวกของจำเลยขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยนั่งซ้อนท้ายไล่ตามพยานมาทันขณะที่รถแล่นคู่กันจำเลยกระชากแขนขวาของพยานทำให้รถเสียหลักล้มทั้งสองคันจำเลยลุกขึ้นเดินเข้ามาหาพยานแล้วใช้อาวุธปืนสั้นจี้ขู่บังคับไม่ให้ร้องพวกของจำเลยเข้ามาปลดเอาสร้อยคอทองคำ2เส้นและล้วงเอาธนบัตรจำนวน800บาทจากกระเป๋ากางเกงพยานไปต่อมาจำเลยได้เดินไปที่รถจักรยานยนต์ของพยานแล้วหยิบเอากุญแจรถไปด้วยจำเลยขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของพวกจำเลยหลบหนีพยานจำจำเลยและพวกของจำเลยได้เพราะจำเลยกับพวกไม่มีอะไรปกปิดใบหน้าพยานได้วิ่งไปหาสามีพยานที่ไร่แล้วพากันไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านจากนั้นผู้ใหญ่บ้านได้พามาแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรตำบลตลาดไร่เก่าเวลาประมาณ17นาฬิกาเจ้าพนักงานตำรวจพาพยานไปดูตัวจำเลยที่บ้านหลังหนึ่งพยานจำได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายและเห็นรถจักรยานยนต์จอดอยู่บริเวณบ้านจำเลยจำได้ว่าเป็นรถที่จำเลยกับพวกใช้ในขณะเกิดเหตุปัญหาคงมีว่าผู้เสียหายจดจำคนร้ายได้แน่นอนเพียงใดเห็นว่าเหตุเกิดเวลาประมาณ11นาฬิกาผู้เสียหายมีโอกาสเห็นจำเลย2ครั้งกล่าวคือก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายเข้าไปซื้อของที่ร้านแห่งหนึ่งเห็นจำเลยกับพวกนั่งอยู่อีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กันขณะเกิดเหตุเมื่อรถจักรยานยนต์2คันล้มจำเลยเดินเข้าไปหาผู้เสียหายผู้เสียหายจึงมีโอกาสได้เห็นหน้าคนร้ายในระยะใกล้เมื่อคนร้ายไปถึงตัวได้ใช้อาวุธปืนจี้พร้อมทั้งห้ามผู้เสียหายมิให้ส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือพวกของจำเลยเข้ามาปลดเอาสร้อยคอและล้วงเอาธนบัตรไปก่อนจำเลยจะหลบหนีจำเลยยังได้เดินไปที่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้วหยิบเอากุญแจรถไปด้วยจึงมีระยะเวลาที่ผู้เสียหายเห็นคนร้ายนานพอสมควรที่จะจำคนร้ายได้จึงเชื่อว่าผู้เสียหายจำคนร้ายได้แน่นอนไม่ผิดตัวที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายเบิกความว่าเจ้าพนักงานตำรวจพาผู้เสียหายไปดูตัวจำเลยที่บ้านแล้วชี้ให้พนักงานตำรวจจับจำเลยแต่จ่าสิบตำรวจชัยวัฒน์คีรีวัฒน์พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้จับจำเลยกลับเบิกความว่ารับแจ้งเหตุแล้วออกติดตามคนร้ายไปหมู่บ้านหนองแกพบรถจักรยานยนต์จอดอยู่ที่บ้านจำเลยเครื่องยนต์ยังร้อนจึงเชิญจำเลยมาสถานีตำรวจพบผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายพบจำเลยแล้วชี้จำเลยว่าเป็นคนร้ายเป็นการแตกต่างกันหาข้อยุติไม่ได้ว่าขณะเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยผู้เสียหายอยู่ด้วยหรือไม่เห็นว่าเมื่อผู้เสียหายพบจำเลยผู้เสียหายยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายข้อแตกต่างดังกล่าวจึงเป็นเพียงพลความหาเป็นพิรุธทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายมีน้ำหนักน้อยลงไม่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้วฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งถอนการบังคับคดี: การไต่สวนทางลัดและการพิจารณาพยานหลักฐานเพียงพอ
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งถอนการบังคับคดีได้แนบเอกสารต่างๆที่โจทก์ได้ติดต่อดำเนินการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดสวรรคโลกในการขายทอดตลาดแทนหลายครั้งตลอดมาโดยมีจ่าศาลจังหวัดสวรรคโลกรับรองสำเนาถูกต้องและในวันนัดไต่สวนคำร้องศาลได้สอบถามทนายโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงว่าเหตุที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนการบังคับคดีเนื่องจากไม่ได้รับเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีดังกล่าวจากศาลจังหวัดสวรรคโลกศาลชั้นต้นได้บันทึกข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่สอบถามไว้ซึ่งพยานหลักฐานที่ได้ดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆในการบังคับคดีสมบูรณ์เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนต่อไปและการที่ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจนได้ความดังกล่าวมาถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้วฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยไม่ไต่สวนคำร้องของโจทก์ต่อไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลแรงงานงดสืบพยานได้หากจำเลยไม่ต่อสู้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งแสดงว่าจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างหาได้ถือเอาเหตุอื่นด้วยไม่จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโดยมิได้สอบข้อเท็จจริงถือลักษณะงานว่าต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 46 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ การงดสืบพยานดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10188/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่ากรณีจำต้อง การทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย
จำเลยและผู้ตายต่างเป็นบุตร ค. ขณะที่ ค.นั่งดูโทรทัศน์อยู่ในบ้าน ผู้ตายมาขอเงินไปเที่ยว ค.จะให้เพียง ๓๐ บาท ผู้ตายแสดงอาการไม่พอใจชกกระจกตู้เสื้อผ้าแตกแล้วตรงเข้าบีบคอ ค. ค.ตะโกนให้คนช่วย จำเลยได้ยินจึงขึ้นมาบนบ้าน บอกให้ผู้ตายปล่อย ค. แต่ผู้ตายกลับชกต่อยจำเลย จำเลยตกใจกลัวจะมีภัยถึงตนและ ค. จึงใช้ไม้ตีป้องกันตัวไป ๒ ครั้ง ทำให้ผู้ตายหมดสตินอนนิ่งจำเลยลากผู้ตายไปที่กระบะพ่วงท้ายรถไถนาเพื่อส่งแพทย์ เมื่อผู้ตายคืนสติจะลงจากกระบะท้ายรถและตะโกนว่าจะฆ่าล้างโคตร จำเลยก็ใช้ไม้ท่อนอันใหญ่ตีผู้ตายอีก๒ ครั้ง ผู้ตายล้มถึงแก่ความตาย ดังนี้ ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดแก่ ค.มารดาจำเลย คือ ค.ถูกผู้ตายบีบคอยังหาได้ผ่านพ้นไปไม่เนื่องจากผู้ตายสลบ เมื่อผู้ตายฟื้นคืนสติขึ้นมาก็พูดทันทีว่า "ไอ้ห่าจะฆ่าทั้งแม่ทั้งลูกเลย"อันแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ตายที่ยังมีเจตนาเดิมอยู่ ดังนั้น การที่จำเลยใช้ไม้ตีผู้ตายขณะนั้นจึงเป็นการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของมารดาจำเลยและตัวจำเลยเองแต่การที่จำเลยใช้ไม้ตีที่ศีรษะผู้ตายโดยแรงในขณะที่ผู้ตายเมาสุรา เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้ตายไม่มีสภาพทางร่างกายที่จะเป็นอันตรายแก่บุคคลใดได้ และจำเลยในขณะนั้นแข็งแรงกว่าผู้ตายมาก จึงน่าจะมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าที่จำเลยใช้ไม้ตีผู้ตายโดยแรงที่ศีรษะจนผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
จำเลยเป็นพี่ชายผู้ตาย ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน เหตุที่เกิดคดีนี้ขึ้นก็เนื่องจากผู้ตายก่อเหตุขึ้นก่อน จำเลยจึงเข้าไปช่วยมารดาเพื่อให้พ้นภยันตรายขณะผู้ตายสลบ จำเลยยังมีเจตนาที่จะช่วยผู้ตายโดยจะพาไปส่งโรงพยาบาล แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างแท้จริงว่าไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย และที่จำเลยตีผู้ตายอีกครั้งหลังจากที่ผู้ตายฟื้นคืนสติขึ้นมาก็น่าจะมีเจตนาทำร้ายไม่ให้ผู้ตายไปก่อเหตุร้ายขึ้นอีกเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเท่านั้น
จำเลยเป็นพี่ชายผู้ตาย ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน เหตุที่เกิดคดีนี้ขึ้นก็เนื่องจากผู้ตายก่อเหตุขึ้นก่อน จำเลยจึงเข้าไปช่วยมารดาเพื่อให้พ้นภยันตรายขณะผู้ตายสลบ จำเลยยังมีเจตนาที่จะช่วยผู้ตายโดยจะพาไปส่งโรงพยาบาล แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างแท้จริงว่าไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย และที่จำเลยตีผู้ตายอีกครั้งหลังจากที่ผู้ตายฟื้นคืนสติขึ้นมาก็น่าจะมีเจตนาทำร้ายไม่ให้ผู้ตายไปก่อเหตุร้ายขึ้นอีกเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10166/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล แม้ไม่ได้แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือขอใบแทน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมได้ออกระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๕๘ วรรคสอง ซึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๖ เป็นต้นไป โดยระบุเหตุผลในการออกระเบียบฉบับนี้ว่า เพื่อให้การออกหลักฐานรับรองสิทธิการไปขอรับบริการทางการแพทย์เกิดความสะดวก มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและเป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยระเบียบฉบับนี้ได้กล่าวถึงวิธีการกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยออกบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๗ กำหนดแบบที่จะต้องใช้ในการยื่นคำขอต่าง ๆและกำหนดวิธีปฏิบัติในการขอใบแทนบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๑๑ กำหนดอายุบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๑๒ และกำหนดให้แสดงบัตรทุกครั้งที่ไปรับบริการทางการแพทย์ในข้อ ๑๓ แต่ไม่มีปรากฏตามมาตราใดใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓หรือในระเบียบฉบับนี้ว่า หากไม่แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือไม่ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิกรณีบัตรสูญหายแล้วผู้ประกันตนจะเสียสิทธิอย่างไร เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ที่ได้จ่ายเงินสมทบครบเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือป่วยเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานและได้รับบัตรรับรองสิทธิมาแล้ว ทั้งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลอันเป็นสถานพยาบาลที่กำหนดให้ใช้บริการ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ตามฟ้อง ลำพังเพียงแต่โจทก์มิได้แสดงบัตรรับรองสิทธิเมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลเพราะบัตรรับรองสิทธิสูญหายไป โดยโจทก์ได้ไปแจ้งความไว้แล้ว และไม่ได้ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิเท่านั้น โจทก์หาสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินที่โจทก์ถูกสถานพยาบาลเรียกเก็บไปแล้วไม่
จำเลยไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามต้องถือว่าจำเลยผิดนัดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอเงินดังกล่าวครั้งแรกวันใด ศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามจำเลยอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา ๒๐๔ และ ๒๒๔
จำเลยไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามต้องถือว่าจำเลยผิดนัดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอเงินดังกล่าวครั้งแรกวันใด ศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามจำเลยอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา ๒๐๔ และ ๒๒๔
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงาน, ปิดงาน, และสิทธิลูกจ้างทดลองงาน: การคำนวณระยะเวลาทำงานและสิทธิการเลิกจ้าง
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน การที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา ๓๑ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา ๑๓๖ และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม แต่การที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลย ทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน ๑๒๐ วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็นลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลย ทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน ๑๒๐ วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็นลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานเพื่อสิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีมีการนัดหยุดงานและปิดงาน
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงานการที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา 136 และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม ดังนี้ การที่ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่จึงต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวม คำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลยทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน 120 วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็น ลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948-10129/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ถือเป็นผลจากการไม่สามารถดำเนินกิจการได้ และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนอกจากจะหมายถึงการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้แล้วยังหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปอีกด้วย คดีนี้จำเลยจ้างโจทก์มาเพื่อจะให้ทำงานให้แก่จำเลยหมายความว่าจำเลยดำเนินกิจการมีงานที่จะมอบหมายให้โจทก์ทำตามที่จ้างและในขณะเดียวกันจำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยจำเลยมีเงินที่จะจ่ายค่าจ้างได้เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2538ถึงวันที่20ธันวาคม2538ไม่ว่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำหรือเพราะเหตุอื่นใดและโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีเงินจะจ่ายให้การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมอยู่ในความหมายที่ว่าเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ซึ่งถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่จำต้องคำนึงว่าในเวลาภายหน้าจำเลยจะมีงานให้โจทก์ทำและมีเงินจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่ละคนหรือไม่ ปัญหาว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่2จะไม่ได้ให้การไว้จำเลยที่2ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31 แม้จำเลยที่2จะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ก็ตามแต่จำเลยที่1เป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลจำเลยที่2เป็นกรรมการและเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ความรับผิดของจำเลยที่2ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77ประกอบมาตรา820กล่าวคือเมื่อจำเลยที่2กระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่1ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างค้างจ่ายของโจทก์มีการพิมพ์จำนวนเงินผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9785/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทางทะเล: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสัญญาและการสูญหายระหว่างทำงาน
อ.ปฏิบัติงานเป็นไต๋เรือทำหน้าที่ควบคุมดูแลการจับปลาและอุปกรณ์ตลอดจนลูกเรือ โดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายปลาที่หาได้เมื่อขายและหักค่าใช้จ่ายให้โจทก์แล้ว โจทก์จะได้65 เปอร์เซ็นต์ อ. และลูกเรือได้ 35 เปอร์เซ็นต์แสดงว่าอ. เพียงตกลงทำงานให้โจทก์เพื่อประโยชน์ในธุรกิจหาปลาเท่านั้น การกำหนดส่วนแบ่งจำนวนเงินเป็นเรื่องจูงใจให้ขยันทำงานถือว่าเป็นเงินที่แบ่งให้หรือจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานมีลักษณะเป็นค่าจ้าง อ. จึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ อ. ต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ในทะเลตลอดระยะเวลาที่อยู่ในทะเลจึงถือว่าเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะนำเรือกลับมาถึงฝั่ง เมื่อ อ. หายไปจากเรือที่ทำงานอยู่จึงถือได้ว่า อ. หายไปในระหว่างทำงาน เป็นการสูญหายตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5