พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดิน: การเพิกถอนสิทธิผู้รับประโยชน์เนื่องจากคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้ประกาศรายชื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามระเบียบแล้ว ต่อมาจำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งปฏิรูปที่ดินจังหวัดเห็นว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงเสนอเรื่องให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาทบทวนมติเดิม คณะกรรมการมีมติให้รอการพิจารณาของศาลก่อนจึงจะมีมติต่อไป จำเลยจึงต้องรอฟังมติดังกล่าวทำให้ไม่สามารถมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้โจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิรูปที่ดินดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงและยักยอก: ความครบถ้วนของคำฟ้องและการระบุวันเวลาเบียดบังทรัพย์
ตามคำฟ้องแยกข้อหาฉ้อโกงไว้ข้อก. ข. และง. และข้อหายักยอกไว้ข้อค. เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องข้อก. ข. และง. แล้วมีความหมายพอเข้าใจได้ว่าประกาศกระทรวงได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมในฟ้องข้อก.ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน147,053บาทและในฟ้องข้อข. และง. ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน60,813.58บาทและ71,999.20บาทซึ่งเป็นความเท็จส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนต่อมาในข้อก.ว่าจำเลยกลับไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากรเพียง122,543.65บาทและในข. และง. ว่าจำเลยกลับทำแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่ต้องชำระภาษีต่อกรมสรรพากรนั้นเท่ากับโจทก์ได้บรรยายว่าความจริงแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อก. เพียงใดหรือไม่หรือเสียภาษีในฟ้องข้อข. และง.เลยจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อได้จ่ายเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยขอเบิกแล้วจำเลยได้เอาเงินส่วนที่เบิกเกินไปตามข้อก. และส่วนที่ไม่ได้ชำระภาษีเลยตามข้อข. และง. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341แล้ว การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้นต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วยส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่โจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้นจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงและการเบียดบังทรัพย์ในความผิดยักยอก: การระบุรายละเอียดวันเวลาที่กระทำผิด
ตามคำฟ้องแยกข้อหาฉ้อโกงไว้ข้อ ก. ข. และ ง. และข้อหายักยอกไว้ ข้อ ค. เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องข้อ ก. ข. และ ง.แล้ว มีความหมายพอเข้าใจได้ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมในฟ้องข้อ ก.ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน 147,053 บาท และในฟ้องข้อ ข.และ ง. ว่า โจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน 60,813.58 บาทและ 71,999.20 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนต่อมาในข้อ ก.ว่า จำเลยกลับไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากรเพียง 122,543.65 บาทและใน ข. และ ง. ว่า จำเลยกลับทำแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่ต้องชำระภาษีต่อกรมสรรพากรนั้นเท่ากับโจทก์ได้บรรยายว่า ความจริงแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อ ก.เพียงใด หรือไม่ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อ ข. และ ง. เลยจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อได้จ่ายเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยขอเบิก แล้วจำเลยได้เอาเงินส่วนที่เบิกเกินไปตามข้อ ก. และส่วนที่ไม่ได้ชำระภาษีเลยตามข้อ ข. และ ง.ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา341 แล้ว
การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้น ต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วย ส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อ ค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ของโจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่ เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 158 (5)
การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้น ต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วย ส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อ ค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ของโจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่ เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบมูลหนี้และการชำระหนี้เกินจำนวนที่ค้างชำระ ศาลบังคับใช้ตามสัดส่วน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไรและเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริงโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวนและได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่งจึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องสัญญากู้และการนำสืบหลักฐานหนี้ การชำระหนี้เกินจำนวน และการนำไปชำระหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไร และเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่า & การชำระค่าเช่า: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น, การวางทรัพย์มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์, อุทธรณ์เรื่องการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องขัดต่อ ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่จำเลยเช่าจาก น.และ พ.แล้ว โจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่า จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ปัญหานี้ย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายที่ดินที่เช่าระหว่างโจทก์กับ น. และ พ.เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืม สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินที่เช่านั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142
โจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่ 22 ธันวาคม 2535แจ้งให้จำเลยทราบว่า น. และ พ.ขายที่ดินที่จำเลยเช่าให้โจทก์แล้ว ให้จำเลยนำค่าเช่างวดที่จะต้องชำระภายในวันที่ 20 มีนาคม 2536 มาชำระให้โจทก์ซึ่งจำเลยรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 การที่จำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ประจำศาลจังหวัดภูเก็ตโดยมีเงื่อนไขในการวางทรัพย์ตามคำร้องขอวางทรัพย์ว่า หากโจทก์มารับเงินก็ขอให้โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมที่ น.ทำกับจำเลย เมื่อโจทก์ขอรับเงินที่จำเลยวางไว้เพื่อชำระค่าเช่าตามสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง แต่ไม่อาจรับเงินได้เนื่องจากติดเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในการวางเงินดังกล่าวที่ว่าโจทก์ต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยใหม่ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิม ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดใน ป.พ.พ.ว่าด้วยเช่าทรัพย์บัญญัติรองรับไว้ การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ ดังนั้นการวางเงินโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระค่าเช่านั้นให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การโอนทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องน.มิได้แจ้งการโอนให้จำเลยทราบเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรกการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ชอบ จึงถือว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า จำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่ 22 ธันวาคม 2535แจ้งให้จำเลยทราบว่า น. และ พ.ขายที่ดินที่จำเลยเช่าให้โจทก์แล้ว ให้จำเลยนำค่าเช่างวดที่จะต้องชำระภายในวันที่ 20 มีนาคม 2536 มาชำระให้โจทก์ซึ่งจำเลยรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 การที่จำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ประจำศาลจังหวัดภูเก็ตโดยมีเงื่อนไขในการวางทรัพย์ตามคำร้องขอวางทรัพย์ว่า หากโจทก์มารับเงินก็ขอให้โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมที่ น.ทำกับจำเลย เมื่อโจทก์ขอรับเงินที่จำเลยวางไว้เพื่อชำระค่าเช่าตามสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง แต่ไม่อาจรับเงินได้เนื่องจากติดเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในการวางเงินดังกล่าวที่ว่าโจทก์ต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยใหม่ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิม ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดใน ป.พ.พ.ว่าด้วยเช่าทรัพย์บัญญัติรองรับไว้ การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ ดังนั้นการวางเงินโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระค่าเช่านั้นให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การโอนทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องน.มิได้แจ้งการโอนให้จำเลยทราบเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรกการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ชอบ จึงถือว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า จำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าเช่าโดยมีเงื่อนไข และการโอนสิทธิเรียกร้องที่ไม่แจ้งให้ทราบ ถือเป็นการชำระหนี้ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่จำเลยเช่าจากน. และพ.แล้วโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ปัญหานี้ย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายที่ดินที่เช่าระหว่างโจทก์กับน. และพ.เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมสัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินที่เช่านั้นเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 โจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่22ธันวาคม2535แจ้งให้จำเลยทราบว่าน. และพ. ขายที่ดินที่จำเลยเช่าให้โจทก์แล้วให้จำเลยนำค่าเช่างวดที่จะต้องชำระภายในวันที่20มีนาคม2536มาชำระให้โจทก์ซึ่งจำเลยรับทราบแล้วเมื่อวันที่23ธันวาคม2535การที่จำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ประจำศาลจังหวัดภูเก็ตโดยมีเงื่อนไขในการวางทรัพย์ตามคำร้องขอวางทรัพย์ว่าหากโจทก์มารับเงินก็ขอให้โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมที่น.ทำกับจำเลยเมื่อโจทก์ขอรับเงินที่จำเลยวางไว้เพื่อชำระค่าเช่าตามสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองแต่ไม่อาจรับเงินได้เนื่องจากติดเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในการวางเงินดังกล่าวที่ว่าโจทก์ต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยใหม่ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเช่าทรัพย์บัญญัติรองรับไว้การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ดังนั้นการวางเงินโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระค่าเช่านั้นให้โจทก์แล้วจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการโอนทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องน. มิได้แจ้งการโอนให้จำเลยทราบเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคแรกการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ชอบจึงถือว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเห็นว่าจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบบัตรเอทีเอ็มและการยอมรับการชำระหนี้โดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม275,000บาทโดยมีจำเลยที่1ค้ำประกันและล. ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม345,000บาทจึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ล. กู้จากโจทก์จำนวน275,000บาทแต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใดและโจทก์ก็อ้างว่าล. ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่2และที่3ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน210,000บาท การที่ล. มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา321แม้ว่าจำเลยที่2ที่3ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสองก็รับฟังได้ว่าล. ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบสิทธิถอนเงินจากบัญชี และการรับชำระหนี้บางส่วนโดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม 275,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 1ค้ำประกัน และ ล.ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของ ล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม 345,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ ล.กู้จากโจทก์จำนวน 275,000 บาท แต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใด และโจทก์ก็อ้างว่า ล.ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน 210,000 บาท
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: การจอดรถกีดขวางทางรถไฟ และความประมาทของผู้ขับรถไฟ
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนก้นพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วและเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223วรรคหนึ่ง,438วรรคหนึ่งและ442ปรากฎว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าค้นอื่นพนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไปส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ20เมตรเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้นซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว15กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ50เมตรในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ3ปีก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำและพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา18นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นการที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้าแสดงว่าการที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าเพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่าในส่วนของความประมาทเลินเล่อของศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด