คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการจอดรถกีดขวางทางรถไฟและการประมาทของพนักงานขับรถไฟ ศาลแบ่งความรับผิด
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิได้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดจำเลยที่2จึงละเมิดต่อโจทก์และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425 การที่ช. ขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อผ่านทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันมีรถยนต์ของจำเลยที่2อยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่นแต่ช. คงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันนั้นในภาวะเช่นนั้นช. ย่อมจะคาดหมายได้ว่าอาจเกิดการเฉี่ยวชนรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่ขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วการที่ช. ขับรถไฟด้วยอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าช.มีความประมาทเลินเล่อด้วยส่วนหนึ่งแต่การที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้ช. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่เห็นย่อมจะไม่ได้เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังมากกว่าในส่วนประมาทเลินเล่อของช. จึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: การจอดรถกีดขวางทางรถไฟ และความประมาทของผู้ขับรถไฟ
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนก้นพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วและเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223วรรคหนึ่ง,438วรรคหนึ่งและ442ปรากฎว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าค้นอื่นพนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไปส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ20เมตรเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้นซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว15กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ50เมตรในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ3ปีก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำและพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา18นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นการที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้าแสดงว่าการที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าเพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่าในส่วนของความประมาทเลินเล่อของศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567-3568/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่องโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ ศาลยืนตามคำตัดสินเดิม
การที่ผู้คัดค้านทั้งสองเข้ามาในสถานประกอบการของผู้ร้องมีการลงบันทึกเวลาเข้าและออกจากที่ทำงานและมีการจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองแต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ยอมเข้าทำงานตามที่ผู้ร้องมอบหมายถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันสมควรผู้ร้องกล่าวในคำร้องโดยชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาเกินกว่า3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นมูลเหตุที่ผู้ร้องประสงค์เพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยขัดต่อพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน และอำนาจศาลในการกำหนดค่าธรรมเนียมผู้เชี่ยวชาญ
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับ ไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้าง และสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีปฏิเสธว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ปลอม จำเลยที่ 2 จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยที่ 2 เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใด ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 129 (2) แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคสอง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้อง และสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่ 2แถลงไว้ ดังนี้ถือว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 99 แล้วและการกำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรก ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 167 วรรคแรก คดีนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตรวจพิสูจน์เอกสาร: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจแบ่งความรับผิดค่าธรรมเนียม แม้ไม่ได้กำหนดในตารางค่าฤชาธรรมเนียม
กรณีที่ต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญไปเท่าใด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1219(2)แม้จะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามมาตรา 161 วรรคสอง จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่า เป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยแถลงไว้ ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ก็มี อำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรกและมาตรา 167 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่มีหลักฐานพิสูจน์การทำสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิด
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้างและสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่2ดังนี้เมื่อจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่2ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้ โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์จำเลยที่2ต่อสู้คดีปฏิเสธว่าจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้างลายมือชื่อของจำเลยที่2ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่2ปลอมจำเลยที่2จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเลยที่2เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใดศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา129(2)แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง1ถึง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ตามแต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคสอง ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่2ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้องและสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักบานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่2แถลงไว้ดังนี้ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา99แล้วและการกำหนดความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้นศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคแรกไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา167วรรคแรกคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้จำเลยที่2จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควรที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธในการเบิกความ, บาดเจ็บไม่ร้ายแรง, อายุความคดีทำร้ายร่างกาย ทำให้ศาลยกฟ้อง
ในทางนำสืบโจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานแต่คำเบิกความของผู้เสียหายกับจำเลยยันกับอยู่จึงต้องอาศัยพยานแวดล้อมมาฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายผู้เสียหายมีบาดแผลที่ใบหน้าบริเวณโหนกแก้มขวาบวมช้ำเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ3เซนติเมตรมีรอยถลอกเป็นทาง1เซนติเมตรที่บริเวณเขียวช้ำตามร่างกายไม่พบบาดแผลบาดเจ็บที่ใบหน้าจากของแข็งไม่มีคนใช้เวลารักษาประมาณ10วันหายถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนลักษณะของการกระทำและบาดแผลดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจการจะลงโทษจำเลยในฐานความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณาจะต้องดูว่าคดีไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95ด้วยเมื่อความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณามีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนจึงมีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา95(5)นับแต่วันกระทำความผิดจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่29เมษายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่16กรกฎาคม2535เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799-1800/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างและตัวแทนตามกฎหมายแรงงาน: การกระทำของตัวแทนผูกพันตัวการ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา5ให้คำนิยามของคำว่านายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ว่านายจ้างหมายความว่าผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ทำการแทนในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลหมายความว่าผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลนั้นและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนเมื่อจำเลยที่2เป็นผู้อำนวยการสำนักงานและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสองด้วยตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่2เป็นผู้ทำการแทนตามกฎหมายประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77บัญญัติว่า"ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลม"และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาตรา820บัญญัติว่า"ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน"ซึ่งมีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำแทนตัวการจำเลยที่1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799-1800/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างและตัวแทนทางกฎหมายในคดีแรงงาน: หลักตัวแทนและการผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยที่1ซึ่งเป็น นายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็น นิติบุคคลมีจำเลยที่2เป็นผู้ทำการแทนตามกฎหมายประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลมและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา820บัญญัติว่าตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนซึ่ง หมายความว่า กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของ ตัวการ จำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ค่าที่ดินควบคู่กับการโอนกรรมสิทธิ์
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทที่ค้างชำระไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา369แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ฟ้องแย้งและอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน
of 79