คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนและการแก้ไขคำพิพากษาศาลล่าง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทที่ค้างชำระไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 369 แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ฟ้องแย้งและอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: ผลของการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและขอบเขตกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาขายฝากเอกสารหมาย จ.1 ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ระบุกำหนดเวลาไถ่ 1 ปี การที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่ 2 ปี จึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝาก โดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา144 วรรคสอง จึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญาขายฝากเอกสารหมายจ.1ไม่เป็นนิติกรรมอำพรางเมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงระบุกำหนดเวลาไถ่1ปีการที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่2ปีจึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝากโดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินบ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา144วรรคสองจึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: คำพิพากษาถึงที่สุดห้ามฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน แม้อ้างละเมิด
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้ลดขั้นเงินเดือนของโจทก์ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้คำสั่งให้ลดขั้นเงินเดือนโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายคดีถึงที่สุดแล้วต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าการลงโทษลดขั้นเงินเดือนโจทก์นั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420ซึ่งจำเลยทำละเมิดแก่โจทก์หรือไม่ต้องได้ความว่าจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดระเบียบข้อบังคับของจำเลยและทำให้โจทก์เสียหายเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยจนถึงที่สุดแล้วว่าคำสั่งลงโทษโจทก์ของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบจึงไม่เป็นละเมิดแก่โจทก์แต่เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกันหาใช่เป็นเรื่องละเมิดอีกต่างหากจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามกฎหมาย และอำนาจฟ้องขับไล่ของผู้รับโอนสิทธิ
การที่ด.และค.ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่1ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจากบ.และผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิมหาใช่เพราะบ.และผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่1มานานหลายสิบปีที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมายแม้ส. บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตามส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองเมื่อส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองโจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าส. ผู้โอน แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่าส. ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าเมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง vs. สิทธิผู้รับโอน: บุคคลภายนอกคดีพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ แม้ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
การที่ ด.และ ค. ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจาก บ.และ ผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิม หาใช่เพราะ บ.และ ผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่ และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่ 1 มานานหลายสิบปี ที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมาย แม้ ส.บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะ ส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสองเมื่อ ส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส.ผู้โอน
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า ส.ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า เมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมาย คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสอง ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรค 2 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-อำนาจฟ้อง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้
ในปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม คงมีแต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ไว้ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุม ดังนี้ ข้ออ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังให้การต่อสู้ไว้ แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นไว้ แต่จำเลยที่ 1 ก็ยื่นคำแถลงคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม & อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น, การละเมิดต้องมีนิติสัมพันธ์, หลักฐานความเสียหาย
ในปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมคงมีแต่จำเลยที่1ให้การต่อสู้ไว้ส่วนจำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมดังนี้ข้ออ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามฎีกาของจำเลยที่2จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังให้การต่อสู้ไว้แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นไว้แต่จำเลยที่1ก็ยื่นคำแถลงคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์: หลักฐานการฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 680
บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายระบุว่ามีคู่กรณี2ฝ่ายฝ่ายแรกคือโจทก์ทั้งสองฝ่ายหลังคือ ท. คู่กรณีได้ตกลงกันว่าฝ่ายหลังจะชดใช้ค่าเสียหายคืนให้ฝ่ายแรกตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้หากฝ่ายหลังผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน ในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวระบุต่อไปว่าคู่กรณีตกลงกันเป็นที่เข้าใจแล้วโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ ท. ในข้อหาฉ้อโกงอีกต่อไปพร้อมกับลงชื่อโจทก์ทั้งสอง ท. จำเลยทั้งสองและพนักงานสอบสวนดังนี้จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้ค้ำประกันอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเมื่อ ท. ผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสอง บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญในอันที่โจทก์ทั้งสองจะนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองเท่านั้นมิใช่ตราสารตามประมวลรัษฎากรมาตรา118จึง ไม่ต้องปิด อากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหาย มิใช่ตราสารทางภาษี
บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายซึ่งจำเลยทั้งสองลงชื่อเป็นพยานและผู้ค้ำประกันระบุว่ามีคู่กรณี 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกคือโจทก์ทั้งสอง ฝ่ายหลังคือนาย ท.คู่กรณีตกลงกันให้ฝ่ายหลังชดใช้ค่าเสียหายคืนให้ฝ่ายแรกตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากฝ่ายหลังผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน ในตอนท้ายของบันทึกได้ระบุว่าคู่กรณีตกลงกันเป็นที่เข้าใจดีแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่นาย ท.ในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์อีกต่อไป พร้อมกับลงชื่อโจทก์ทั้งสอง นาย ท. จำเลยทั้งสองและพนักงานสอบสวนดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้ค้ำประกันอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเมื่อนาย ท.ผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามข้อตกลง และถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญในอันที่โจทก์ทั้งสองจะนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่ตราสารตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
of 79