คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักทรัพย์เพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน ต้องมีข้อความยอมชำระหนี้แทน
เอกสารที่จะเข้าลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันต้องมีข้อความที่ให้ความหมายว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วบุคคลภายนอกนั้นจะยอมชำระหนี้แทนแต่เอกสารพิพาทมีข้อความว่า"ข้าพเจ้านางสาวอ. (จำเลยที่2)นางสาวด. (จำเลยที่3)ขอรับรองว่าจะนำโฉนดที่ดิน(ระบุเลขโฉนด)มอบให้ม. ในวันที่13มีนาคม2531เพื่อเป็นหลักทรัพย์ซึ่งน. (จำเลยที่1)ได้บกพร่องต่อทางราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีตามความเป็นจริงที่น. ได้กระทำเท่านั้น"เมื่อเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความที่ให้ความหมายว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้แล้วจำเลยที่2และที่3จะชำระแทนจึงไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่2และที่3ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์ - การแก้ไข/ไม่อนุญาตแก้ไขกระบวนพิจารณา - ศาลแรงงาน
ทนายความของโจทก์ทั้งสองลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนโดยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ชอบและมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีกรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องสั่งให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์: กรณีใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งป.วิ.พ.ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน: ขอบเขตการคุ้มครองเฉพาะกรรมการสหภาพฯ และลูกจ้างสมาชิกเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างและเป็นประธานสหภาพแรงงาน พ. ลาหยุดงานเพื่อไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานให้แก่ลูกจ้างของบริษัท ม. โดยลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน พ. ด้วยนั้นมิใช่เป็นการลาไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานตามกฎหมายแต่เป็นการลากิจทั่วไปเมื่อผู้คัดค้านมิได้ลาหรือมิได้รับอนุญาตให้ลาจากผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและได้หยุดงานเป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรผู้ร้องจึงมีสิทธิ เลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบทำให้ศาลไม่สามารถบังคับตามคำขอได้
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นโจทก์จะต้องฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่กรณีที่ทำนิติกรรมการที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความจะทำให้ศาลไม่สามารถพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้เพราะจำเลยที่1เป็นบุคคลนอกคดีเสียแล้วปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งหมด ผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองที่ทำต่อหน้าศาล อ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1คนหนึ่งเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าว โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลนอกคดี การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความเพราะจำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำขอของโจทก์ต่อไปได้เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความจากข้อฉ้อฉลและผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
การฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 คนหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกที่ใช้กระทำผิด เนื่องจากบรรทุกเกินน้ำหนักและก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางหลวง
รถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)ตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางบรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดถึง8,540กิโลกรัมเป็นการใช้ทรัพย์ของกลางกระทำผิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทางหลวงและต่อส่วนรวมจึงสมควรให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกที่ใช้กระทำผิด โดยบรรทุกเกินน้ำหนักเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
รถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางบรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดถึง 8,540 กิโลกรัม เป็นการใช้ทรัพย์ของกลางกระทำผิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทางหลวงและต่อส่วนรวม จึงสมควรให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฟ้องเท็จในคดีหมิ่นประมาท การตีความข้อความในเอกสารและหลักการรับฟังพยาน
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา175นอกจากจะต้องเอาข้อความเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่าการกระทำความผิดอาญาแล้วผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59ด้วยเมื่อปรากฏว่าหนังสือตามเอกสารหมายล.1ที่โจทก์ทำและนำไปปิดประกาศที่หน้าบ้านโจทก์ซึ่งบุคคลอื่นที่ผ่านไปมาสามารถพบเห็นได้โดยง่ายมีข้อความว่าป.ผู้เช่าบ้านของก. ภริยาโจทก์ซึ่งถูกฟ้องขับไล่ทนต่อความละอายไม่ได้ได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้วแต่จำเลยกับมารดาและน้องๆของจำเลยบริวารของป. ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่าและจำเลยได้นำป้ายชื่อและอาชีพของตนไปติดไว้ที่ฝาบ้านโดยเปิดเผยแสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่าเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ใส่ความจำเลยต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสารว่าแม้ผู้เช่าบ้านได้ยอมออกจากบ้านไปแล้วจำเลยซึ่งเป็นบริวารยังดื้อดึงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งยังเอาป้ายชื่อและอาชีพของจำเลยไปติดไว้แสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่าเป็นการกระทำที่น่าจะทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังและตามหนังสือเอกสารหมายล.1ก็เป็นหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยโดยตรงข้อความที่ว่าป.ผู้เช่าได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้วนั้นก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าป.ไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าบ้านอีกต่อไปผู้ที่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าบ้านคือผู้ที่อยู่ในบ้านเช่าซึ่งก็หมายถึงตัวจำเลยนั้นเองทั้งจำเลยได้แนบเอกสารหมายล.1เป็นเอกสารท้ายฟ้องของคดีอาญาที่โจทก์กล่าวหาเป็นฟ้องเท็จด้วยจำเลยจึงมิได้บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการบิดเบือนข้อเท็จจริงพฤติการณ์แห่งคดีไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ
of 79