พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จฐานหมิ่นประมาท ต้องมีเจตนาและข้อความเป็นเท็จ โดยพิจารณาจากบริบทของเอกสารและพฤติการณ์
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 175นอกจากจะต้องเอาข้อความเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 59 ด้วย เมื่อปรากฏว่าหนังสือตามเอกสารหมาย ล.1 ที่โจทก์ทำและนำไปปิดประกาศที่หน้าบ้านโจทก์ซึ่งบุคคลอื่นที่ผ่านไปมาสามารถพบเห็นได้โดยง่ายมีข้อความว่า ป.ผู้เช่าบ้านของ ก.ภริยาโจทก์ซึ่งถูกฟ้องขับไล่ทนต่อความละอายไม่ได้ ได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้ว แต่จำเลยกับมารดาและน้อง ๆ ของจำเลยบริวารของ ป.ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่า และจำเลยได้นำป้ายชื่อและอาชีพของตนไปติดไว้ที่ฝาบ้านโดยเปิดเผยแสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่าเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ใส่ความจำเลยต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสารว่า แม้ผู้เช่าบ้านได้ยอมออกจากบ้านไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นบริวารยังดื้อดึงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้เช่า ทั้งยังเอาป้ายชื่อและอาชีพของจำเลยไปติดไว้แสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่า เป็นการกระทำที่น่าจะทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังและตามหนังสือเอกสารหมาย ล.1 ก็เป็นหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยโดยตรงข้อความที่ว่า ป.ผู้เช่าได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้วนั้น ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า ป.ไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าบ้านอีกต่อไป ผู้ที่ตัองรับผิดชำระค่าเช่าบ้านคือผู้ที่อยู่ในบ้านเช่า ซึ่งก็หมายถึงตัวจำเลยนั่นเอง ทั้งจำเลยได้แนบเอกสารหมาย ล.1 เป็นเอกสารท้ายฟ้องของคดีอาญาที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นฟ้องเท็จด้วย จำเลยจึงมิได้บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการบิดเบือนข้อเท็จจริง พฤติการณ์แห่งคดีไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: อำนาจศาลในการถอดถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่1ถึงที่4เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้วเมื่อปรากฏต่อมาในภายหลังว่าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แม้ศาลยกคำร้องของค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้วแต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้งค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษมิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฎต่อมาในภายหลังว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
แม้ศาลยกคำร้องของ ค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษ มิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718
แม้ศาลยกคำร้องของ ค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษ มิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ: พยานบุคคลสืบแก้ข้อความในสัญญาได้, แก้ไขข้อผิดพลาดคำพิพากษา
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน248,625บาทแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น248,625บาทเพื่อให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบุคคลสืบได้ในสัญญาจ้างทำของ, แก้ไขจำนวนเงินเบี้ยปรับตามข้อผิดพลาดเล็กน้อย
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9403-9495/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลง
การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นหาได้จำต้องเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ จำเลยเคยจ่ายเงินพิเศษแก่ลูกจ้างปีละ15วันแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแทนลูกจ้างของจำเลยหาได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านประการใดไม่ตรงกันข้ามกลับยอมรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงโดยยอมรับเอาคูปองค่าอาหารแทนเงินพิเศษตลอดมาจึงมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ190บาทต่อเดือนนั้นคูปองค่าอาหารที่จ่ายให้มีลักษณะเป็นสวัสดิการอันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งเมื่อลูกจ้างยอมรับเอาและจำเลยก็ได้จ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือมี2กรณี คือกรณีแรกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา10วรรคแรกซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีนี้จะต้องมีข้อความดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11ส่วนกรณีที่สองข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างและสามารถตกลงกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา18ซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีจะต้องลงลายมือชื่อและต้องนำไปจดทะเบียนอีกด้วย จำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารโดยมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนี้จำเลยจะยกเบิกการจ่ายคูปองค่าอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13หาได้ไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนที่จำเลยจะยกเลิกจ่ายคูปองค่าอาหารจำเลยได้ตกลงกับตัวแทนลูกจ้างแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังมาว่าไม่ได้มีการเจรจาสองฝ่ายให้ยกเลิกการจ่ายคูปองค่าอาหารอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินโบนัสและคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะเพิ่มเงินโบนัสแก่ลูกจ้างแต่การที่จำเลยยกเลิกการจ่ายคูปองอาหารอันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับคูปองอาหารย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะแก้ไขยกเลิกโดยลำพังโดยที่มิได้ดำเนินการตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลแรงงานกล่าวไว้ในส่วนของคำวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าอาหารแก่โจทก์แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายอาหารแก่โจทก์นั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารแก่ลูกจ้างเดือนละ190บาทซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแก่โจทก์ทุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักงานชั่วคราวก่อนสอบสวนวินัย/อาญา และสิทธิการกลับเข้าทำงานเมื่อไม่พบความผิด
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 มีข้อความว่าพนักงานผู้ใดมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่คดีความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท... ฯลฯ... ก็ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่ง...ฯลฯ...ให้ผู้นั้นออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ และวรรคสองมีข้อความว่า แต่ถ้าภายหลังศาลพิพากษาว่ามีความผิด หรือสอบสวนพิจารณาได้ความเป็นสัตย์ที่จะต้องลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก หรือเป็นกรณีที่จะต้องให้ออกจากงานด้วยเหตุอื่น ก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ตรงตามข้อบังคับ... ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนมิได้มีความผิดเลยหรือมีความผิด... และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากงานด้วยเหตุอื่น ให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ออกจากงานสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าทำงานตามเดิม แต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และกรณีของจำเลยที่ 2 ได้กระทำผิดสัญญาจ้างทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับของข้อบังคับดังกล่าวให้โจทก์รับจำเลยที่ 2 กลับเข้าทำงาน และกรณีผิดสัญญาจ้างก็ไม่มีข้อบังคับห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับการรถไฟฯ กับการฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างที่ศาลยกฟ้องคดีอาญา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่3.5มีข้อความว่าพนักงานผู้ใดมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาเว้นแต่คดีความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทฯลฯก็ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งฯลฯให้ผู้นั้นออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้และวรรคสองมีข้อความว่าแต่ถ้าภายหลังศาลพิพากษาว่ามีความผิดหรือสอบสวนพิจารณาได้ความเป็นสัตย์ที่จะต้องลงโทษไล่ออกปลดออกหรือให้ออกหรือเป็นกรณีที่จะต้องให้ออกจากงานด้วยเหตุอื่นก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกปลดออกหรือให้ออกให้ตรงตามข้อบังคับถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนมิได้มีความผิดเลยหรือมีความผิดและไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากงานด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ออกจากงานสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าทำงานตามเดิมแต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและกรณีของจำเลยที่2ได้กระทำผิดสัญญาจ้างทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับของข้อบังคับดังกล่าวให้โจทก์รับจำเลยที่2กลับเข้าทำงานและกรณีผิดสัญญาจ้างก็ไม่มีข้อบังคับห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดในทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนดจึงจะมีผลผูกพัน
สัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การรับฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 94 กล่าวคือจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมหรือนอกเหนือไปจากนี้ปรากฏในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้
จำเลยสัญญาว่ายินยอมจะไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เป็นสัญญาหรือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 แต่สัญญายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยสัญญาว่ายินยอมจะไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เป็นสัญญาหรือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 แต่สัญญายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินจากตัวแทน: ไม่ใช่การซื้อขาย แต่เป็นความรับผิดในฐานะตัวแทน มีอายุความ 10 ปี
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นดอกเบี้ย โดยระบุอัตราดอกเบี้ย ต้นเงิน และระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งสามารถคิดคำนวณจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำนวนดอกเบี้ยรายเดือนเป็นเงินเดือนละเท่าใดอีก และคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อโดยจำเลยในฐานะกรรมการบริษัทซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนหรือผู้แทนของบริษัทตามบทบัญญัติของกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน และจำเลยได้รับเงินมัดจำกับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อไว้แทนโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งมอบเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินค่าขายสินค้าที่จำเลยได้รับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทน มิใช่กรณีพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปี และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินค่าขายสินค้าที่จำเลยได้รับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทน มิใช่กรณีพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปี และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม