พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินจากตัวแทน และอายุความของคดีตัวแทนรับเงินแทน
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นดอกเบี้ย โดยระบุอัตราดอกเบี้ย ต้นเงินและระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งสามารถคิดคำนวณจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำนวนดอกเบี้ยรายเดือนเป็นเงินเดือนละเท่าใดอีกและคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อโดยจำเลยในฐานะกรรมการบริษัทซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนหรือผู้แทนของบริษัทตามบทบัญญัติของกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน และจำเลยได้รับเงินมัดจำกับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อไว้แทนโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งมอบเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินค่าขายสินค้าที่จำเลยได้รับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทน มิใช่กรณีพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปี และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8065/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเสียสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติว่า เมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจที่หยิบยกขึ้นพิจารณาได้เอง หรือเฉพาะคู่ความฝ่ายที่เสียหายเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ และเมื่อเห็นว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอย่างไรบ้าง ส่วนวรรคสอง เป็นกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการยื่นคำร้องคัดค้าน คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 เป็นการคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ที่จำเลยอ้างว่าผิดระเบียบ จำเลยจึงต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 แต่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 คำร้องของจำเลยจึงมิได้ยื่นต่อศาลภายในแปดวันนับแต่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเสียสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติว่า เมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจที่หยิบยกขึ้นพิจารณาได้เอง หรือเฉพาะคู่ความฝ่ายที่เสียหายเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ และเมื่อเห็นว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอย่างไรบ้าง ส่วนวรรคสอง เป็นกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการยื่นคำร้องคัดค้าน คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 เป็นการคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ที่จำเลยอ้างว่าผิดระเบียบ จำเลยจึงต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 แต่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 คำร้องของจำเลยจึงมิได้ยื่นต่อศาลภายในแปดวันนับแต่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8039/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ และการรับฟังเอกสารสำเนา/ภาพถ่ายในคดีแพ่ง
แม้ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทโจทก์และหนังสือรับรองว่าค.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ พนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์จะได้รับรองความถูกต้องและสถานฑูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ได้รับรองลายมือชื่อและตราประทับของพนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์หลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่ใบสำคัญจดทะเบียนบริษัทโจทก์ระบุว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ และระบุว่า ค.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ อีกทั้ง ค. ก็ได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีนี้ด้วย จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบให้ฟังได้เป็นอย่างอื่น ย่อมฟังได้ว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และ ค.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และได้มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 นั้น เป็นเรื่องอำนาจของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจหรือใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆในกรณีที่ศาลมีความสงสัยเท่านั้น หาใช่ว่าหากเอกสารไม่มีการรับรองจากโนตารีปับลิกจะถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โทรสารใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์ ต้นฉบับเอกสารจะอยู่ที่จำเลยที่ 1 โจทก์ได้รับโทรสารที่เป็นสำเนาเอกสาร ส่วนใบกำกับสินค้าซึ่งต้นฉบับเอกสารโจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์คงมีแต่ภาพถ่ายใบกำกับสินค้าดังนี้ เอกสารเฉพาะที่เป็นโทรสารซึ่งจำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์นั้น ต้นฉบับเอกสารจึงอยู่ที่จำเลยที่ 1 ส่วนใบกำกับสินค้านั้นโจทก์มอบต้นฉบับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า โจทก์คงมีแต่สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ จึงรับฟังสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ส่วนภาพถ่ายเอกสารที่เหลือซึ่งเป็นโทรสารที่โจทก์ส่งไปถึงจำเลยที่ 1 นั้น ก็เป็นเพียงการตอบโทรสารที่จำเลยที่ 1มีไปถึงโจทก์ ซึ่งแม้หากจะไม่รับฟังเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าและรับสินค้าไปจากโจทก์จริง ดังนี้ ปัญหาว่าเอกสารดังกล่าวจะรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 หรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 นั้น เป็นเรื่องอำนาจของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจหรือใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆในกรณีที่ศาลมีความสงสัยเท่านั้น หาใช่ว่าหากเอกสารไม่มีการรับรองจากโนตารีปับลิกจะถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โทรสารใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์ ต้นฉบับเอกสารจะอยู่ที่จำเลยที่ 1 โจทก์ได้รับโทรสารที่เป็นสำเนาเอกสาร ส่วนใบกำกับสินค้าซึ่งต้นฉบับเอกสารโจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์คงมีแต่ภาพถ่ายใบกำกับสินค้าดังนี้ เอกสารเฉพาะที่เป็นโทรสารซึ่งจำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์นั้น ต้นฉบับเอกสารจึงอยู่ที่จำเลยที่ 1 ส่วนใบกำกับสินค้านั้นโจทก์มอบต้นฉบับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า โจทก์คงมีแต่สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ จึงรับฟังสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ส่วนภาพถ่ายเอกสารที่เหลือซึ่งเป็นโทรสารที่โจทก์ส่งไปถึงจำเลยที่ 1 นั้น ก็เป็นเพียงการตอบโทรสารที่จำเลยที่ 1มีไปถึงโจทก์ ซึ่งแม้หากจะไม่รับฟังเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าและรับสินค้าไปจากโจทก์จริง ดังนี้ ปัญหาว่าเอกสารดังกล่าวจะรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 หรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8039/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, เอกสารประกอบการฟ้อง, การรับฟังพยานหลักฐาน (โทรสาร, ภาพถ่าย), ประเด็นการสั่งซื้อสินค้า
แม้ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทโจทก์และหนังสือรับรองว่าค. เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์พนักงานโนตารีปับลิก แห่งประเทศสิงคโปร์จะได้รับรองความถูกต้องและสถานฑูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ได้รับรองลายมือชื่อและตราประทับของพนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์หลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตามแต่ใบสำคัญจดทะเบียนบริษัทโจทก์ระบุว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และระบุว่าค. เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้อีกทั้งค.ก็ได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจให้น.ฟ้องคดีนี้ด้วยจำเลยที่1มิได้นำสืบให้ฟังเป็นอย่างอื่นย่อมฟังได้ว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และค.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และได้มอบอำนาจให้น. ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47นั้นเป็นเรื่องอำนาจของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจหรือใบสำคัญและเอกสารอื่นๆในกรณีที่ศาลมีความสงสัยเท่านั้นหาใช่ว่าหากเอกสารไม่มีการรับรองจากโนตาลีปัปลิกจะถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ โทรสารใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยที่1ส่งถึงโจทก์ต้นฉบับเอกสารจะอยู่ที่จำเลยที่1โจทก์ได้รับโทรสารที่เป็นสำเนาเอกสารส่วนใบกำกับสินค้าซึ่งต้นฉบับเอกสารโจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่1โจทก์คงมีแต่ภาพถ่ายใบกำกับสินค้าดังนี้เอกสารเฉพาะที่เป็นโทรสารซึ่งจำเลยที่1ส่งถึงโจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์นั้นต้นฉบับเอกสารจึงอยู่ที่จำเลยที่1ส่วนใบกำกับสินค้านั้นโจทก์มอบต้นฉบับให้แก่จำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าโจทก์คงมีแต่สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้จึงรับฟังสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)ส่วนภาพถ่ายเอกสารที่เหลือซึ่งเป็นโทรสารที่โจทก์ส่งไปถึงจำเลยที่1นั้นก็เป็นเพียงการตอบโทรสารที่จำเลยที่1มีไปถึงโจทก์ซึ่งแม้หากจะไม่รับฟังเอกสารนี้ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยที่1ได้สั่งซื้อสินค้าและรับสินค้าไปจากโจทก์จริงดังนี้ปัญหาว่าเอกสารดังกล่าวจะรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93หรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับขี่รถยนต์ใกล้ทางรถไฟ และการเรียกค่าแรงงานจากการซ่อมแซมความเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เป็นผู้ว่าการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 63 บัญญัติว่าในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้ จำเลยที่ 1 ไม่ลดความเร็วของรถและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเป็นเหตุให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับขบวนรถไฟของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว
แม้พนักงานของโจทก์จะมีเงินเดือนเป็นประจำและมีงานทำเป็นปกติ แต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าวและมาทำงานซ่อมแซมความเสียหายรถไฟของโจทก์ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมเรียกค่าแรงงานในการทำงานดังกล่าวได้
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 63 บัญญัติว่าในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้ จำเลยที่ 1 ไม่ลดความเร็วของรถและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเป็นเหตุให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับขบวนรถไฟของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว
แม้พนักงานของโจทก์จะมีเงินเดือนเป็นประจำและมีงานทำเป็นปกติ แต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าวและมาทำงานซ่อมแซมความเสียหายรถไฟของโจทก์ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมเรียกค่าแรงงานในการทำงานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นละเมิด การฟ้องใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีที่จำเลยอ้างว่าเป็นฟ้องซ้ำ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าไม่มีข้อเท็จจริงที่บรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่อย่างใดที่จะต้องกระทำและละเว้นเสียตามคำฟ้องโจทก์จึงมิได้บรรยาย ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะ เป็นเหตุให้โจทก์ใช้สิทธิเสนอคดีต่อศาลได้ พิพากษายกฟ้อง เป็นเรื่องที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุการบรรยายฟ้องของโจทก์ ยังไม่เข้าลักษณะละเมิดโดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ในประเด็นแห่งคดีที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและการห้ามฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้อง คำให้การของจำเลย คำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 246 โจทก์หาจำต้องระบุทางนำสืบของคู่ความแต่ละฝ่ายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาทเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาทเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง และการพิจารณาความชอบของฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ได้ระบุทางนำสืบ
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้องคำให้การของจำเลย คำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 246 โจทก์หาจำต้องระบุทางนำสืบของคู่ความแต่ละฝ่ายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาท เป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7770/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มสุราในระหว่างทำงาน แม้เพียงเล็กน้อย ก็ถือเป็นความผิดร้ายแรง
ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของบริษัทจำเลยได้กำหนดเกี่ยวกับความผิดวินัยกรณีร้ายแรงไว้ตามหมวด 7 ข้อ 3 (4) ว่า"การดื่มสุรา สิ่งมึนเมาหรือยาเสพติดในบริเวณบริษัท หรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็นความผิดวินัยร้ายแรง" เจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ที่จำเลยได้กำหนดระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวข้างต้นไว้ เพราะจำเลยต้องการที่จะกำหนดเป็นมาตรการเพื่อป้องกันภยันตรายหรือความเสียหายซึ่งจะเกิดแก่พนักงานทุกคนหรือแก่ทรัพย์สินของจำเลย อันอาจจะเกิดขึ้นได้ไว้ล่วงหน้า เพราะการดื่มสุราหรือสิ่งมึนเมาก่อให้เกิดความประมาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ทั้งนี้จำเลยมิได้กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการทำงานให้นำผลจากการดื่มมากดื่มน้อยเพียงใด หรือผลจากการดื่มแล้วยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่มาเป็นเกณฑ์การพิจารณาถึงความร้ายแรงหรือไม่ โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์รับส่งผู้บริหารของบริษัทจำเลย ตั้งแต่เวลา 17 ถึง 20 นาฬิกา แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างระยะเวลาทำงานล่วงเวลา แต่ก็ต้องถือว่าอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์ปฏิบัติย่อมต้องใช้ความรับผิดชอบและความระมัดระวังสูง หากประมาทเลินเล่อย่อมนำมาซึ่งความเสียหายได้ทันที ดังนั้น หากปล่อยให้โจทก์ดื่มสุราหรือสิ่งมึนเมาจนถึงขั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือมึนเมาจนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อนแล้วจึงถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง นายจ้างโดยทั่วไปหรือจำเลยก็ย่อมไม่ได้รับประโยชน์หรือความคุ้มครองในมาตรการที่ป้องกันภยันตรายที่จำเลยได้กำหนดไว้ หรือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แต่อย่างใดการที่โจทก์ดื่มเบียร์เพียงครึ่งแก้วระหว่างระยะเวลาการทำงานล่วงเวลาจึงเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย