คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ค่าธรรมเนียมการโอนและอำนาจศาลในการห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดิน
โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ได้ตกลงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 ผู้จะขายจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสิ้นแทนโจทก์อันจะทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1เช่นนั้นด้วย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์มิใช่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์หรือฟ้องเรียกที่ดินพิพาทของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม ศาลจึงไม่มีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: หน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมและอำนาจศาล
โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ได้ตกลงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้จำเลยที่ 1 ผู้จะขายจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสิ้นแทนโจทก์อันจะทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เช่นนั้นด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ มิใช่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์หรือฟ้องเรียกที่ดินพิพาทของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม ศาลจึงไม่มีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: คำนวณเฉพาะแต่ละชั้นศาล ไม่รวมตลอดทั้งสามศาล
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253และมาตรา 253 ทวิ ในกรณีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียม ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกานั้น จำนวนเงินที่จะให้วางหรือหาประกันมาคงคำนวณเฉพาะ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละชั้นศาล เท่านั้น หาใช่ต้องคำนวณให้พอตลอดทั้งสามศาล โดยไม่จำต้อง พิจารณาว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดี เพราะศาลมีอำนาจ ที่จะพิพากษาให้ฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีทุนทรัพย์ 18,378,312 บาท ศาลชั้นต้นสั่ง ให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 60,000 บาท จึงเป็นการเพียงพอแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและมูลละเมิด: สิทธิเจ้าของที่ดินในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเรียกค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวว่าอาคารของโจทก์เสียหายอย่างไรอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบเอ็ด ความเสียหายดังกล่าวสามารถซ่อมแซมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ค่าเสียหายจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งถึงสภาพของความเสียหายของโจทก์และจำนวนค่าเสียหาย เพียงพอที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การต่อสู้ได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องว่าความเสียหายของโจทก์อยู่ที่ส่วนไหนเพียงใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดจำเลยที่ 2 ในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336บังคับให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องละเมิด ส่วนกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายที่อาคารของโจทก์เสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรงนั้น โจทก์อ้างว่าอาคารของโจทก์แตกร้าวเสียหายเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2530และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ แต่จำเลยทั้งสิบเอ็ดเพิกเฉย ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดยังคงปล่อยให้มีการรุกล้ำดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดกระทำละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตราบเท่าที่ยังไม่มีการรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและละเมิดต่อเนื่อง: สิทธิเจ้าของที่ดินในการบังคับรื้อถอนและเรียกค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวว่าอาคารของโจทก์เสียหายอย่างไรอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบเอ็ด ความเสียหายดังกล่าวสามารถซ่อมแซมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ค่าเสียหายจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งถึงสภาพของความเสียหายของโจทก์และจำนวนค่าเสียหาย เพียงพอที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การต่อสู้ได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องว่าความเสียหายของโจทก์อยู่ที่ส่วนไหน เพียงใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดจำเลยที่ 2 ในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 บังคับให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องละเมิด ส่วนกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายที่อาคารของโจทก์เสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรงนั้น โจทก์อ้างว่าอาคารของโจทก์แตกร้าวเสียหายเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2530 และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ แต่จำเลยทั้งสิบเอ็ดเพิกเฉย ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดยังคงปล่อยให้มีการรุกล้ำดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดกระทำละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตราบเท่าที่ยังไม่มีการรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและขอบเขตค่าเสียหายในคดีละเมิด รวมถึงการกำหนดค่าเสียหายที่สมควร
กรณีที่บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1169 วรรคแรกนั้น จะต้องเป็นกรณีที่กรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท และความเสียหายดังกล่าวจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรืองดเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ เมื่อความเสียหายเกิดจากการที่ ส.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกแก๊สด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้รถพลิกคว่ำ แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องก็เป็นเพียงเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ได้รับผลร้ายแรงเท่านั้น แต่การที่รถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องนั้น มิใช่ผลโดยตรงของความเสียหาย หากจะเป็นการผิดกฎหมายก็เป็นการผิดกฎหมายในส่วนของการที่นำรถยนต์มาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5กรรมการบริษัทชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลละเมิดของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายตามป.พ.พ.มาตรา 1169 วรรคสอง ได้
ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการจะรับฟังพยานหลักฐานของฝ่ายใดว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากันก็ต้องพิจารณาจากข้อนำสืบของทั้งสองฝ่าย เมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบในรายละเอียดแห่งทรัพย์สินและราคาทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายได้ ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควร
ตามเอกสารสัญญาเช่ามิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าได้ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 10 แห่งเอกสารดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่ามีอยู่อย่างไร โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าหากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น ผู้ให้เช่าจะต้องยินยอมให้โจทก์โอนได้โดยไม่อาจปฏิเสธได้หรือไม่ ค่าเสียหายอันเกิดจากค่าเสียโอกาสที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากอาคารที่เช่าอยู่ หากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงเป็นความเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ
เงินที่โจทก์จ่ายให้ผู้เช่าล่วงหน้าจำนวน 150,000 บาทเป็นความเสียหายส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของ ส.ลูกจ้างจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ให้แก่โจทก์ แต่เงินจำนวน 150,000 บาทดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนการเช่าระยะเวลา 3 ปีเมื่อโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลา 8 เดือนเศษ ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงสมควรกำหนดให้ลดลงตามส่วน และศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ตามป.พ.พ.มาตรา 438 โดยลดให้เหลือ 120,000 บาท
หลังจากโจทก์ย้ายเข้ามาอยู่ในตึกแถวที่เช่าแล้วโจทก์ได้ซ่อมแซมและต่อเติมอาคารหลายอย่าง เพื่อใช้ประกอบธุรกิจและพักอาศัย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในส่วนนี้จำนวน 800,000 บาท นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ชัดว่าสิ่งที่โจทก์หรือภรรยาโจทก์ได้กระทำไปมีรายละเอียดในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการนั้นอย่างไรบ้าง ศาลจึงกำหนดตามที่เห็นสมควรเพียง 600,000 บาท ได้
การรับจ้างแปลเอกสารเป็นธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1015 แม้โจทก์จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัวโดยที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการต่อเติมอาคารเช่า ความรับผิดชอบของจำเลยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโจทก์
กรณีที่บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169วรรคแรกนั้น จะต้องเป็นกรณีที่กรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท และความเสียหายดังกล่าวจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรืองดเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ เมื่อความเสียหายเกิดจากการที่ ส. ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกแก๊สด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้รถพลิกคว่ำ แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องก็เป็นเพียงเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ได้รับผลร้ายแรงเท่านั้น แต่การที่รถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องนั้น มิใช่ผลโดยตรงของความเสียหาย หากจะเป็นความผิดกฎหมายก็เป็นความผิดกฎหมายในส่วนของการที่นำรถยนต์มาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 กรรมการบริษัทชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลละเมิดของบริษัท จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสอง ได้ ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4385 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดซึ่งการจะรับฟังพยานหลักฐานของฝ่ายใดว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากันก็ต้องพิจารณาจากข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายเมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบในรายละเอียดแห่งทรัพย์สินและราคาทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายได้ ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควร ตามเอกสารสัญญาเช่ามิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าได้ตามที่ระบุไว้ในข้อ 10 แห่งเอกสารดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่ามีอยู่อย่างไร โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าหากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นผู้ให้เช่าจะต้องยินยอมให้โจทก์โอนได้โดยไม่อาจปฏิเสธได้หรือไม่ ค่าเสียหายอันเกิดจากค่าเสียโอกาสที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากอาคารที่เช่าอยู่ หากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงเป็นความเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ เงินที่โจทก์จ่ายให้ผู้เช่าล่วงหน้าจำนวน 150,000 บาทเป็นความเสียหายส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของ ส.ลูกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ให้แก่โจทก์ แต่เงินจำนวน 150,000 บาท ดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนการเช่าระยะเวลา 3 ปีเมื่อโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลา8 เดือนเศษ ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงสมควรกำหนดให้ลดลงตามส่วน และศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 โดยลดให้เหลือ120,000 บาท หลังจากโจทก์ย้ายเข้ามาอยู่ในตึกแถวที่เช่าแล้วโจทก์ได้ซ่อมแซมและต่อเติมอาคารหลายอย่าง เพื่อใช้ประกอบธุรกิจและพักอาศัย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในส่วนนี้จำนวน 800,000 บาท นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ชัดว่าสิ่งที่โจทก์หรือภรรยาโจทก์ได้กระทำไปมีรายละเอียดในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการนั้นอย่างไรบ้าง ศาลจึงกำหนดตามที่เห็นสมควรเพียง 600,000 บาท ได้ การรับจ้างแปลเอกสารเป็นธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015 แม้โจทก์จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัวโดยที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4522/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องมูลหนี้เช็ค คดีอาญาเลิกกัน
ในคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยให้จำเลยใช้เงินตามเช็คโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันมีผลทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะเรียกให้จำเลยใช้เงินในมูลหนี้ตามเช็คเป็นอันระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์ร่วมคงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้โจทก์ร่วมหรือไม่ก็ตามโจทก์ร่วมหามีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้เช็คอีกไม่ ดังนั้น หนี้ที่จำเลยออกเช็คตามฟ้องทั้งสองสำนวนเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 ไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือไม่ก็ตามสิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39ศาลต้องจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินส.ค.1 ก่อนเสียชีวิต: ที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า บ.ได้ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส.ค.1 ให้แก่บุตรทั้งห้าคนของตนโดยได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้บุตรทั้งห้าครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ปี 2500 จนกระทั่ง บ.ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2525 ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของ บ.อีกต่อไปดังนั้นเมื่อ บ.ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ บ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ บ.และให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ.เพื่อโจทก์จะได้นำที่ดินพิพาทไปแบ่งปันให้แก่ทายาทของ บ.ต่อไป และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์: กรณีสุดวิสัย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถ-จักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
of 79