คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์: กรณีสุดวิสัย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถ-จักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนและการแจ้งข้อหา, ความผิดฐานล่วงละเมิดความปกครองผู้เยาว์, ความประสงค์ในการอยู่กินฉันสามีภริยา
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 134 พนักงานสอบสวนอาจทำการสอบสวนได้เมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนในหลายกรณีด้วยกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีการจับตัวผู้ต้องหามามอบให้และทำบันทึกการจับกุมแต่อย่างใด การที่ร้อยตำรวจเอก ส.เบิกความว่าได้จับจำเลยนั้น แม้จะมิใช่การจับในความหมายตามป.วิ.อ.แต่เป็นเรื่องนำตัวจำเลยและผู้เยาว์ไปพบกับพนักงานสอบสวนในฐานะที่ ส.เป็นผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยไว้พร้อมกับแจ้งข้อหาแก่จำเลยและบันทึกคำให้การของจำเลยไว้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยถูกจับกุมโดยเจ้าพนักงานก็เป็นฟ้องที่อาจรับไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำเบิกความของ ส.ที่ว่าไม่มีการจับกุมจำเลยเพราะจำเลยกับผู้เยาว์และผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์มาอยู่ต่อหน้าพยานเอง แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ในวันเกิดเหตุจริง แม้ผู้เยาว์ยินยอมก็มีผลแต่เพียงว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่ผู้เยาว์เท่านั้น แต่การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ห้องพักของพี่ชายจำเลยและได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ มิใช่เป็นไปในลักษณะที่มีความประสงค์จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา นอกจากนี้ก่อนวันเกิดเหตุจำเลยกับผู้เยาว์ร่วมประเวณีกันที่โรงแรม และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันในที่อื่น ๆ อีกหลายครั้งโดยที่จำเลยยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ครั้นถึงวันนัดจะนำสินสอดมาสู่ขอผู้เยาว์จำเลยก็หลบเลี่ยง แสดงว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยา การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ และร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยที่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแล เป็นการล่วงละเมิดความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแลอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การต่ออายุโดยปริยาย การสิ้นสุดสัญญา และการคิดดอกเบี้ย
เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาอีก แม้โจทก์ไม่สนองรับแต่ก็ยอมให้มีการเดินสะพัดในบัญชีกระแสรายวันต่อไป การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับยอมให้ต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับ เมื่อครบกำหนดสัญญาก็ยังคงมีการเดินสะพัดในบัญชีต่อไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือ ถือได้ว่ามีการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปคราวละ 6 เดือน ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ปรากฏว่ามีการถอนเงินและการนำเงินเข้าบัญชีถึงวันที่ 7 เมษายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการถอนเงินจากบัญชีอีก จึงถือว่าคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะเดินสะพัดในบัญชีต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นกำหนดต่ออายุสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญา ต่อจากนั้นคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาแผ่นดิน เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด แม้หนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผิด
ข้อหาหรือฐานความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรในคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดหรือไม่ แม้จะปรากฏในหนังสือมอบอำนาจว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้ป. แจ้งความดำเนินคดีแก่บุคคลที่ชื่อว่า ส. แต่เนื่องจากการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาเป็นอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายอาจจะกล่าวโทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าหนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผู้กระทำความผิดหรือไม่ เจ้าพนักงานตำรวจก็ดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้อยู่แล้ว การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ลำพังแต่หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายระบุชื่อผู้กระทำความผิดไม่ถูกต้องไม่ทำให้การดำเนินคดีไม่ชอบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการมอบฉันทะและขอบเขตการดำเนินการแทนจำเลยในเรื่องค่าธรรมเนียมศาล
ทนายความอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 เท่านั้น ส่วนกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่า เป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่า ทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์จำเลยและศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเมื่อโจทก์จำเลยและศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วโจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญ: สิทธิในการขอคืนทุนก่อนเลิกห้าง
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ.ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์ลงหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน จำเป็นต้องมีการเลิกห้างฯ ก่อน
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ, อัตราดอกเบี้ย, การลดหย่อนค่าเสียหาย, การชำระหนี้
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้มีอำนาจสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนและผูกพันโจทก์ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 โดยโจทก์แนบสำเนาหนังสือรับรองมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือรับรองดังกล่าวสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ออกให้และปรากฏชื่อ ธ.กับว. รวมอยู่ในรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทด้วยและโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อตามหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่า สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ไม่ใช่ต้นฉบับของทางราชการ หรือมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ และหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงเรื่องกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่ามิได้เป็นไปตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยยกเหตุที่หนังสือรับรองอำนาจกรรมการบริษัทโจทก์เป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และศาลอุทธรณ์นำหนังสือรับรองตามเอกสารหมาย จ.1 ไปเปรียบเทียบกับหนังสือรับรองอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าแทนบริษัทโจทก์ได้แล้ววินิจฉัยว่าขณะยื่นคำฟ้อง กรรมการบริษัทโจทก์คนหนึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ตามต้นฉบับหนังสือรับรองตรงกับสำเนาหนังสือรับรองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะยื่นคำฟ้องอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์มีอยู่จริงและการมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฟ้อง จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้มีสามกรณี คือค่าขาดประโยชน์ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนที่โจทก์จะยึดรถคืนค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถยนต์ กับค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบเนื่องจากการผิดสัญญาโดยทั่วไป เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อและยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ การที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าราคาที่ได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่พอชำระหนี้ต่าง ๆ ที่ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อ ตกลงยินยอมที่จะชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่เจ้าของจนครบมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์ขอมาสูงเกินไปศาลก็ชอบที่จะลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายโดยไม่ได้แยกว่าส่วนใดโจทก์ลดลงมาเท่าใด แม้ว่าเป็นการนำสืบที่ไม่ชัดแจ้งแต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ตามที่เห็นสมควรได้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้เจ้าของคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่เมื่อค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ไม่ได้ราคาเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหลังจากหักเงินที่โจทก์รับไว้แล้ว ตลอดจนค่าติดตามยึดรถคืนไม่ใช่ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในจำนวนเงินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 นับถัดจากวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาตามคำขอของโจทก์
of 79