คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายยานพาหนะ, การผิดนัดชำระหนี้, ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์, ดอกเบี้ย, ค่าขึ้นศาล
โจทก์และจำเลยทำสัญญาร่วมลงทุนดำเนินการขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย โดยโจทก์ได้มอบยานพาหนะให้จำเลยควบคุมดูแลรักษาใช้งาน มีกำหนด 60 เดือน นับแต่วันส่งมอบ ยานพาหนะ ทั้งนี้โดยจำเลยต้องเสียค่าตอบแทนให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 2,400,000 บาท ตามสัญญาร่วม ลงทุนและรายละเอียดแนบท้ายสัญญา ต่อมาโจทก์และจำเลยได้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนดังกล่าว โดยโจทก์ตกลง ยินยอมให้ลดค่าตอบแทนลงเหลือเดือนละ 2,000,000 บาท ตั้งแต่งวดที่ 30 ประจำเดือนตุลาคม 2529 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดอายุสัญญา ซึ่งตามรายละเอียดแนบท้ายที่พิพาทข้อ 11.3 ว่าในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะ เปลี่ยนแปลงสัญญาจากการร่วมลงทุนเป็นการซื้อ - ขาย เงินสดแทน จำเลยจะต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือ ทั้งหมดจนวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 นอกจากนี้แล้วสัญญาข้อ 8.6 ซึ่งระบุว่า ในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะซื้อหรือไม่ซื้อยานพาหนะตามมูลค่าที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 8.5 จำเลยจะต้องแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญา และสัญญาข้อ 8.7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยตกลงจะซื้อยานพาหนะทั้งหมดหรือบางส่วนตามข้อ 8.5 จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้จากโจทก์ ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระราคาของ ยานพาหนะดังกล่าวภายในกำหนด ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดเป็นต้นไปจนถึงวันที่โจทก์ได้รับการชำระเงิน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ยอมขายยานพาหนะที่จำเลยได้แจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรตกลงจะซื้อจากโจทก์แต่อย่างใดเลยจึงต้องถือว่าโจทก์ได้ให้คำมั่นว่าจะขายยานพาหนะพิพาทให้จำเลยเมื่อจำเลยแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน โดยจำเลยต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมด จนถึงวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 เป็นราคาของ ยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ การที่จำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นการซื้อขาย อันเป็นการแจ้งแก่โจทก์เช่นนั้นก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 90 วัน แล้ว สัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเกิดขึ้นทันทีที่คำบอกกล่าวนั้นไปถึงโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 454 วรรคหนึ่ง และเมื่อสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว กรรมสิทธิ์ในยานพาหนะพิพาททั้งหมดย่อมโอนไปยังจำเลยผู้ซื้อตั้งแต่ขณะที่เกิดสัญญาซื้อขายนั้นขึ้นจากการที่โจทก์ได้รับคำบอกกล่าวแสดงความจำนงจะซื้อยานพาหนะพิพาทของจำเลยตาม ป.พ.พ มาตรา 458 แล้ว
เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิตามสัญญาร่วมลงทุนแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญาซื้อขายตามหนังสือของจำเลย ทำให้เกิดสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมมีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้น โดยจำเลยต้องชำระค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมดจนถึงวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน บวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอให้โจทก์รับเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือจำนวน 14,000,000 บาท และมูลค่าคงเหลือของ ยานพาหนะพิพาทจำนวน 6,534,580 บาท รวมเป็นเงิน 20,534,580 บาท จากจำเลยพร้อมกับโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยแต่โจทก์กลับขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยโดยยังไม่ยอมโอนหรือส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้จำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งจะต้องชำระหนี้ตอบแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ไม่เสนอที่จะชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงกระทำ โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 210 โดยจำเลยมีสิทธิที่จะไม่ยอมชำระหนี้ของตนจนกว่าโจทก์จะชำระหนี้ของโจทก์โดยการส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทหรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ด้วย และเมื่อโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดเช่นนี้แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 221 ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 นั้นหมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ซึ่งการซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้น แต่สัญญาขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดจากการที่จำเลยแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญา ซื้อขาย มิใช่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 457 ดังนั้นเมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบหรือโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าว ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการให้จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของยานพาหนะพิพาทในทะเบียนยานพาหนะพิพาทนั้น จึงย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์แต่ผู้เดียวด้วย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 20,534,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้โจทก์ดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนของยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการทั้งหมด จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์และจำเลยเสียค่าใช้จ่ายใน การดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยคนละครึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทเป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ให้แก่โจทก์ และต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาสำหรับคำขอให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว กับเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วยเท่านั้น แต่ปรากฏว่า จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 189,302.50 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 7,572,126.97 บาท โดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท ด้วย และเสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200,000 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 10,138,948 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินมา สมควรสั่งคืนแก่จำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็คต่อความผิดฐานเบิกความเท็จ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้ส.ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินไปจากส.แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์คดีอาญาซึ่ง ส.ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้องคำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยย่อมมีความผิดตามฟ้องแต่เนื่องจากในขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและมีกฎหมายฉบับใหม่คือพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับแทนซึ่งการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายส่วนกรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4อีกต่อไปดังนี้คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: กฎหมายใหม่ทำให้คำเบิกความไม่เป็นความสำคัญ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทให้ ส. ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ที่1กู้ยืมเงินไปจาก ส. แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่ ส. ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่เนื่องจากในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์ทั้งสองนำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มี พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลังการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่กรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ดังนี้คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนี้อันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จการกระทำของจำเลยไม่เป็นของผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็ค และความสำคัญของการชำระหนี้จริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้ ส.ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินไปจาก ส.แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์คดีอาญาซึ่ง ส.ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ว่า โจทก์ออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยย่อมมีความผิดตามฟ้อง แต่เนื่องจากในขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและมีกฎหมายฉบับใหม่ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ออกมาใช้บังคับแทน ซึ่งการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนกรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 อีกต่อไป ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89,106 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 78 คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 ทวิ จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี4 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิเฉพาะในเรื่องโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยโดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานนี้นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนปริมาณมากเพื่อจำหน่ายเข้าข่ายความผิดฐานขายและมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีจำนวนถึง170เม็ดซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าจะใช้เสพเองทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่1เสพเมทแอมเฟตามีนเองด้วยเชื่อได้ว่าจำเลยที่1มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ผู้อื่นอันเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2และเมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์2.876กรัมซึ่งเกินปริมาณ0.500กรัมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้มีได้จำเลยที่1จึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายและครอบครองเมทแอมเฟตามีนเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีจำนวนถึง170 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าจะใช้เสพเอง ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1เสพเมทแอมเฟตามีนเองด้วย เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ผู้อื่นอันเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และเมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 2.876 กรัมซึ่งเกินปริมาณ 0.500 กรัม ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้มีได้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน กรณีฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์เพื่อดำเนินคดีแทน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินเนื้อที่ 44 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ในปี 2529 โจทก์ให้ ศ.เช่าปลูกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่นอนฟองน้ำจำนวน 5 ไร่ ค่าเช่าไร่ละ 1,000 บาทต่อปี มีกำหนดการเช่า 30 ปี เช่าได้ 3 ถึง 4 ปี เกิดไฟไหม้โรงงานหมดสิ้นจึงมีกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยจัดการแทน แต่จำเลยอ้างว่าต้องให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงจะดำเนินการได้และโจทก์ไม่ต้องเสี่ยง โจทก์จึงให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตกลงกันว่าหากคดีเสร็จแล้วจำเลยจะคืนที่ดินให้โจทก์ ส่วนผลประโยชน์ค่าเช่าหรือรายได้อื่นของที่ดินระหว่างที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ จำเลยจะยกให้โจทก์ทั้งหมด ต่อมาโจทก์ทราบว่าคดีเสร็จแล้ว จำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าใหม่ในปี 2534 โดยจำเลยได้รับเงินกินเปล่า 400,000 บาท และค่าเช่าเป็นรายปี ปีละประมาณ 15,000บาท ถึง 18,000 บาท อีกด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อฉลใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าโจทก์จะถูกฟ้องร้องแบ่งที่ดิน ต้องให้จำเลยจัดการและต้องให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงจะจัดการได้ จนโจทก์หลงเชื่อยอมจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งหมด ขอให้พิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวโดยให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ดังเดิม คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับแล้ว ส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า ตั้งแต่จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น จำเลยไม่เคยแบ่งค่าเช่าหรือผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้โจทก์หรือมอบให้โจทก์ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรในการดำรงชีวิต จำเลยไม่เอาใจใส่เลี้ยงดูโจทก์ ทั้งพูดจากระทบกระเทียบบีบบังคับจนโจทก์ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทและโจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันต่อไปได้โจทก์ต้องไปอาศัยผู้อื่นอยู่ เป็นการประพฤติเนรคุณนั้น เป็นเพียงการบรรยายประกอบให้เห็นพฤติการณ์อันไม่สมควรที่จำเลยได้กระทำต่อโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน ระหว่างที่จำเลยดำเนินการแทนโจทก์ในกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าที่ดินพิพาทเท่านั้นมิใช่เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยโจทก์ประสงค์จะให้มีการบังคับแก่จำเลยเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากในขณะเดียวกันไม่คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นคำฟ้องที่ตั้งประเด็นเป็น 2 นัย ซึ่งขัดแย้งกันแต่อย่างใดฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ดังนี้ ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทน มิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อน อันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ และก่อเหตุทำร้ายร่างกาย ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนันก่อการทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่นซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าวจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของอ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของอ. และอ. จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้เมื่ออ. ไม่ยอมพูดด้วยโจทก์ก็น่าจะรู้ว่าอ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตามแต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อยอ.ถึง2ทีเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อนจะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจากอ. แสดงอาการยียวนหาได้ไม่การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยและเป็นความผิดทางอาญาด้วยจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยการทำร้ายร่างกาย ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนัน ก่อการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่นซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าว จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของ อ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของ อ.และอ. จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้ เมื่อ อ.ไม่ยอมพูดด้วยโจทก์ก็น่าจะรู้ว่าอ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม แต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อย อ.ถึง 2 ที เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจาก อ. แสดงอาการยียวนหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และเป็นความผิดทางอาญาด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
of 79