คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์พล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 785 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานกู้ยืมเงินจากเอกสารที่มีลายมือชื่อผู้กู้ แม้ไม่มีคำว่า 'กู้ยืม' ก็ใช้ได้ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัด
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้นเมื่อเอกสารมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์รวม 116,000 บาท มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้ แม้ลายมือชื่อมิได้อยู่ในช่องผู้กู้ แต่มีตัวโจทก์มาสืบประกอบอธิบายว่าเหตุที่ให้จำเลยกู้ยืมเงินเพราะเห็นว่าจำเลยเป็นคนน่าเชื่อถือได้โดยจำเลยกู้เงินไปเพื่อทำสวน จำเลยเองก็เบิกความว่าตนมีสวนอยู่ 80 ไร่ ใช้ปุ๋ยครั้งละประมาณ 2 ตัน เป็นเงินเกือบ20,000 บาท จำเลยถูกธนาคารฟ้องเรียกเงินที่กู้ยืม แสดงว่าฐานะของจำเลยไม่ดีนัก เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารที่มีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้น หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ แม้จะมีข้อความส่วนที่เขียนด้วยดินสอว่า "ผู้ยืมมารับใบนี้ไปเมื่อ12 มีนาคม 2537" จะถือเป็นวันที่จำเลยผิดนัดไม่ได้เพียงแต่เป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เท่านั้นจะเป็นการผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคหนึ่ง จึงจะคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 224 เมื่อโจทก์นำสืบว่าได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ซึ่งให้เวลาชำระหนี้ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งใบตอบรับระบุว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามในวันที่ 20 กรกฎาคม 2537จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2537 ต้องชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องของจำเลยในการรับทราบวันนัดพิจารณาคดี และผลกระทบต่อการสืบพยาน
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนั้น โจทก์ไม่ค้านการขอเลื่อนและแถลงว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีกต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เลื่อนคดีไปโดยนัดสืบพยานจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบวันนัดสืบพยานจำเลยไว้แล้วดังนั้นหากเสมียนทนายจำเลยจดเวลานัดผิดพลาดหรือแจ้งเวลานัดสืบพยานจำเลยแก่ทนายจำเลยผิดพลาดก็เป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดสืบพยานจำเลยที่เลื่อนมาซึ่งจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลจึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานที่จะสืบ ให้งดสืบพยานจำเลยและให้รอฟังคำพิพากษาในวันนั้นจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งโดยชอบ มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันจำเลยจะขอให้ยกเลิกเพิกถอนเสียได้ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะขอเช่นนั้นก่อนหรือหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการงดสืบพยานจำเลย: ความรับผิดชอบของจำเลยต่อความบกพร่องในการรับทราบวันนัด
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนั้น โจทก์ไม่ค้านการขอเลื่อนและแถลงว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีกต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เลื่อนคดีไปโดยนัดสืบพยานจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบวันนัดสืบพยานจำเลยไว้แล้ว ดังนั้นหากเสมียนทนายจำเลยจดเวลานัดผิดพลาดหรือแจ้งเวลานัดสืบพยานจำเลยแก่ทนายจำเลยผิดพลาด ก็เป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ในวันนัดสืบพยานจำเลยที่เลื่อนมา ซึ่งจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลจึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานที่จะสืบ ให้งดสืบพยานจำเลยและให้รอฟังคำพิพากษาในวันนั้นจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งโดยชอบ มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันจำเลยจะขอให้ยกเลิกเพิกถอนเสียได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะขอเช่นนั้นก่อนหรือหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่สำนักทำการงานของจำเลยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 นั้น ให้ปฏิบัติดั่งนี้...(2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น... ดังนั้น การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยเจ้าพนักงานศาล จึงไม่จำเป็นต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น แต่อาจส่งให้แก่จำเลย ณ สำนักทำการงานของจำเลยได้
บ้านเลขที่ 409 เป็นสำนักงานของบริษัท อ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้บริหารและนั่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานนั้นทุกวัน บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลย และในการดำเนินคดีนี้ โจทก์ได้ดำเนินการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง และหมายต่าง ๆ ให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 409 ดังกล่าวดังนี้ การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยณ บ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงเป็นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา74 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่สำนักทำการงานของจำเลยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74นั้น ให้ปฏิบัติดังนี้ (2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น ดังนั้น การ ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยเจ้าพนักงานศาลจึงไม่จำเป็นต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น แต่อาจส่งให้แก่จำเลย ณ สำนักทำการงานของจำเลยได้ บ้านเลขที่ 409 เป็นสำนักงานของบริษัทอ.ซึ่งจำเลยเป็นผู้บริหารและนั่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานนั้นทุกวัน บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลย และในการดำเนินคดีนี้โจทก์ได้ดำเนินการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและหมายต่าง ๆ ให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 409 ดังกล่าว ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัด ฟัง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ณ บ้านเลขที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงเป็นการส่งหมายนัด ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด: การพิจารณาบาดแผลและพฤติการณ์เพื่อประเมินเจตนาของผู้กระทำ
แม้ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ โจทก์ร่วมและจำเลยต่างทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยใช้มีดของกลางแทงทำร้ายโจทก์ร่วม ส่วนโจทก์ร่วมใช้ไม่ตีจำเลยจนได้รับบาดเจ็บแต่เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยดื่มสุราจนมึนเมา กลับมายังที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านของมารดาโจทก์ร่วมที่จำเลยเช่าอยู่ และได้ขึ้นไปนอนขวางประตูหน้าห้องเช่าของบุคคลอื่นโจทก์ร่วมและเพื่อนของจำเลยช่วยกันพยุงจำเลยลงมาที่ห้องพักของจำเลยบริเวณชั้นล่าง ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยถูกบุคคลอื่นพูดจาถากถาง เกิดความไม่พอใจ จึงใช้มีดของกลางทุบตีรั้วสังกะสีและส่งเสียงดัง โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรเจ้าของบ้านย่อมมีความชอบธรรมที่จะเข้าทำการห้ามปรามจำเลยแต่จำเลยกลับใช้มีดของกลางแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงใช้ไม้ตีต่อสู้เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นจำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นก่อนการที่จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงมิใช่การป้องกันตัว โจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้มีดของกลางซึ่งมีขนาดความยาวถึง11 นิ้วแทงหลายทีในระยะกระชั้นชิดติดต่อกัน เกิดบาดแผล4 แห่ง ซึ่งล้วนอยู่ในตำแหน่งของอวัยวะสำคัญบาดแผลดังกล่าวบางแห่งเป็นบาดแผลฉกรรจ์ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีมีโอกาสถึงแก่ชีวิตได้ แสดงว่าจำเลยแทงโจทก์ร่วมโดยมีเจตนาฆ่า แต่เนื่องจากแพทย์ทำการรักษาได้ทันโจทก์ร่วมจึงไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อมีการอายัดที่ดิน และความรับผิดของทายาทตามสัญญาของเจ้ามรดก
แม้ว่ามรดกนั้นมีเพียงหนี้สินที่เจ้ามรดกจะต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่มีทรัพย์สินอื่น ๆอีกก็ตาม แต่ทายาทก็ไม่อาจอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญาที่เจ้ามรดกทำไว้ หากมีการผิดสัญญาและเป็นกรณีที่ไม่เปิดช่องให้บังคับในการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญา ทายาทผู้รับมรดกก็ต้องรับผิดในส่วนที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาหรือต้องชำระเบี้ยปรับตามที่กำหนดในสัญญาด้วย การที่เจ้าพนักงานที่ดินจะรับแจ้งอายัดที่ดินขึ้นอยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานว่าผู้แจ้งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินหรือไม่ เหตุที่เจ้าพนักงานที่ดินใช้ดุลพินิจรับแจ้งการอายัดของจำเลย เพราะเห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียแม้ว่าขณะนั้นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจะมิใช่ช.แต่ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยอาจบังคับให้ช.หรือทายาทต้องปฏิบัติตามสัญญาได้ อันจะส่งผลให้ต้องเพิกถอน การจดทะเบียนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด เมื่อ ไม่มีคำสั่งศาลให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้การอายัดมีผล ต่อไปจนกว่าศาลในคดีที่ผู้ขออายัดได้ยื่นฟ้องไว้จะสั่งให้ ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด จึงเป็น กรณีที่จำเลยใช้สิทธิที่มีอยู่ในฐานะผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจาก ช.ก่อนที่ช. จะโอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่ จ. ผู้เป็นบุตร จำเลยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ หากโจทก์จะ เสียหายอย่างไรชอบที่จะต้องว่ากล่าวเองกับผู้ที่ทำสัญญากับ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก & สิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม: กรณีผู้จัดการมรดกถูกพิพากษาจำคุก & มูลนิธิจัดตั้งตามพินัยกรรม
การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้นนอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 10 ปี ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกนอกจากนี้ยังปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวแล้วจำเลยมิได้ดำเนินการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1728(2),1729 และ 1732 อีกด้วย และที่จำเลยอ้างว่าระหว่างที่รับโทษจำเลยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้นั้นก็ขัดต่อมาตรา 1723 ที่ต้องการให้ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเอง ดังนั้นจึงเป็นที่เห็นประจักษ์ว่าจำเลยเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดี การสืบพยาน และการวินิจฉัยข้อพิพาทเรื่องลายมือชื่อปลอม ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในวันชี้สองสถาน คู่ความแถลงสละข้อต่อสู้อื่น ๆ คงเหลือประเด็นว่าสัญญากู้ตามฟ้องปลอมหรือไม่ แม้จะจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ด้วยว่าคู่ความตกลงท้ากันว่าหากศาลวินิจฉัยฟังว่าลายมือชื่อผู้กู้ปลอมโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่ปลอม จำเลยเป็นฝ่ายแพ้ ก็ไม่ใช่การท้ากันให้ศาลตัดสินคดีไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยคดีไปตามพยานหลักฐาน ฉะนั้น แม้ก่อนสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยต่างขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารที่มีลายมือชื่อของผู้กู้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของผู้กู้ในสัญญากู้นั้นปลอมหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้ตกลงท้ากันโดยหากผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้นดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์เสร็จแล้วส่งรายงานการ ตรวจพิสูจน์กลับคืนมาศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แล้วจึงพิพากษาคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วและให้นัดฟังคำพิพากษาหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์เอกสารและส่งรายงานการตรวจพิสูจน์โดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นเช่นนั้นแล้ว แม้โจทก์มิได้คัดค้านคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) และ(2) ศาลอุทธรณ์ไม่อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานปลอมแปลงเงินตราต่างประเทศ: ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษตามกระทงความผิดได้
ป.อ.มาตรา 248 ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดฐานปลอมเงินตราตามมาตรา 240 หรือผู้กระทำความผิดฐานแปลงเงินตราตามมาตรา 241 หรือผู้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 247 ซึ่งได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวด 1 ลักษณะ 7 อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 แต่กระทงเดียวดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 244,246 และมาตรา 247 นั้น เป็นการพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรปลอมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมกระทงหนึ่ง และฐานมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมเงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการปลอมเงินตราดังกล่าวอีกกระทงหนึ่ง โดยศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่าง-ประเทศตามมาตรา 247 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 248 ที่จะต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 247 แต่กระทงเดียว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
of 79