คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์ผล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลังจำเลยชำระหนี้แล้ว และการให้สัตยาบันต่อการผิดระเบียบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่2เพื่อบังคับชำระหนี้เมื่อจำเลยที่2อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพราะจำเลยที่2ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่2ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่แต่จำเลยที่2ก็หาได้กระทำไม่จำเลยที่2กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่2ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้วมีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์จำเลยที่2ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบจึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาลและจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเนื่องจากจำเลยที่2ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่2ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้วจำเลยที่2จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ ตามคำร้องของจำเลยที่2ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้นดังนั้นหากศาลฟังว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่2เสียกรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่2เป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบหลังจำเลยให้สัตยาบันต่อการบังคับคดีแล้ว ถือเป็นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่2ยื่นคำร้องอ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและคำบังคับณภูมิลำเนาของจำเลยที่2กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นการไม่ชอบไม่มีผลตามกฎหมายเป็นกรณีที่จำเลยที่2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27แต่การเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสองบังคับอยู่ในตัวว่าคู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้วหรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นๆปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แล้วจำเลยที่2กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้วขอให้ถอนการยึดและจำเลยที่2ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบแต่เมื่อจำเลยที่2ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาจำเลยที่2จึงยื่นคำแถลงนี้ถือได้ว่าก่อนยื่นคำแถลงจำเลยที่2ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้วจำเลยที่2จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ คำร้องขอของจำเลยที่2ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้นหากศาลฟังว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่2เสียกรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายแต่อย่างใดที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่2เป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุสมควร แม้มีข้อตกลงบอกเลิกจ้างได้ การฟ้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่เคลือบคลุม
แม้ตามสัญญาจ้างระบุว่าการว่าจ้างอาจจะถูกบอกเลิกได้โดยการที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าหนึ่งเดือนหรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนเท่ากับเงินเดือนหนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตามแต่การบอกเลิกจ้างดังกล่าวก็จะต้องมีเหตุอันสมควรมิฉะนั้นจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49ได้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์หนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้โจทก์ฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะไม่ได้ระบุว่าเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างไว้โดยตรงก็ตามแต่เมื่ออ่านคำฟ้องที่บรรยายประกอบกันก็เข้าใจได้ว่าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์ไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิในวันที่ยังเหลืออยู่14วันและโจทก์มาฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแทนในวันดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีที่เลิกจ้างโจทก์ซึ่งยังมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่14วันนั่นเองฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่เคลือบคลุม อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานที่ไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวและสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบเพราะจำเลยไม่นำพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาร่วมรับผิดในหนี้กู้เงิน หากให้ความยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมกับเจ้าหนี้
จำเลยที่3เป็นภริยาของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมระบุว่าจำเลยที่3ยินยอมให้จำเลยที่1คู่สมรสของตนทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้จึงถือว่าจำเลยที่3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงินและจำเลยที่3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)จำเลยที่1และจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม สัญญาซื้อขายเสาเข็ม การตอกเสาเข็มผิดพลาด และการชำระค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม2ขนาดจำนวน14ต้นจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่งซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วยแต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป10ต้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีกเสาเข็มจำนวน10ต้นที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก4ต้นจำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก29ต้นจำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่4ต้นโจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลยจึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ยจะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็มแม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วยแต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเองเมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน10ต้นนั้นเนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทนส่วนอีก4ต้นที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้นและเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น vs. สิทธิโดยปรปักษ์: การใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นโดยไม่จ่ายค่าทดแทน
ทางพิพาทเกิดขึ้นหลังจากส. ขายที่ดินให้จำเลยแล้วต่อมาส. ปักเสาไฟฟ้าโดยได้รับอนุญาตจากจำเลยจึงเกิดเป็นถนนสายเล็กๆขึ้นโดยปริยายประมาณ10ปีเศษทางพิพาทจึงไม่ใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นบุคคลอื่นอาศัยสัญจรโดยถือวิสาสะหาเข้าลักษณะเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ไม่แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยมากกว่า10ปีทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401 แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349จะกำหนดให้ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนแก่ผู้เปิดทางให้ก็ตามแต่ก็มิได้บังคับให้ใช้ค่าทดแทนก่อนจึงจะใช้สิทธิได้ในทางตรงกันข้ามเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีหน้าที่ต้องเปิดทางให้ผ่านและมีสิทธิเรียกค่าทดแทนเช่นเดียวกันเมื่อโจทก์ไม่เสนอค่าทดแทนแก่จำเลยและจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนจำเลยชอบที่จะว่ากล่าวเอากับโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260-10273/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: พิจารณาจากระยะเวลาโครงการ ไม่ใช่ระยะเวลาสัญญาจ้าง และการรวมพิจารณาคดีหลายสำนวน
จำเลยที่6เป็นเพียงกิจการร่วมค้าระหว่างจำเลยที่1และที่2และจำเลยที่6ได้จดทะเบียนในฐานะเป็นผู้ประกอบการต่อกรมสรรพากรเท่านั้นจำเลยที่6จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะถูกฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ศาลแรงงานวินิจฉัยจากพยานโจทก์ทั้งสิบสี่และจำเลยที่1และที่2แล้วฟังว่าจำเลยที่1และที่2เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบสี่จำเลยที่1และที่2อุทธรณ์อ้างว่าการวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางขัดแย้งกับข้อความในสัญญาจ้างที่โจทก์ทั้งสิบสี่อ้างส่งศาลเป็นการไม่ชอบเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่14)ลงวันที่16สิงหาคม2536ข้อ46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างและในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอนส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วนายจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่ทำสัญญาจ้างไว้นั้นซึ่งมีงานอยู่3ประเภทแต่ในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่าซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีคำว่างานนั้นย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน2ปีดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่หากหมายถึงระยะเวลาการจ้างก็ต้องระบุไว้ในวรรคสามซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างการที่นำระยะเวลางานมากำหนดในวรรคสี่จึงทำให้เห็นได้ว่าหมายถึงระยะเวลาของงานทั้งสามประเภทนั่นเองเมื่องานที่จำเลยที่1และที่2ต้องกระทำการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันมีกำหนดระยะเวลาสามปีเกินกว่า2ปีแม้จะเป็นงานในโครงการเฉพาะหรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจำเลยที่1และที่2ก็ไม่ได้รับยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย คดีนี้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้คดีทั้งสิบสี่สำนวนซึ่งมีโจทก์แต่ละคนเป็นโจทก์แต่ละสำนวนรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าเป็นคดีเดียวกันแล้วข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาจึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสิบสี่สำนวนศาลย่อมนำข้อเท็จจริงนั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายเป็นคุณหรือโทษแก่คู่ความทั้งหมดในสำนวนได้โจทก์ทั้งสิบสี่เป็นคู่ความในสำนวนย่อมได้รับผลจากคำวินิจฉัยด้วยแม้โจทก์บางคนจะไม่ได้เข้าเบิกความก็ตามจึงชอบที่ศาลแรงงานพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์อื่นที่ไม่ได้เข้าเบิกความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10166/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม แม้ไม่แสดงบัตรก็ไม่เสียสิทธิ หากมีสิทธิครบถ้วน และดอกเบี้ยคิดจากวันฟ้อง
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วยการออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ไม่มีมาตราใดหรือข้อใดในพระราชบัญญัติหรือระเบียบดังกล่าวกำหนดว่าหากไม่แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือไม่ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิกรณีบัตรสูญหายแล้วผู้ประกันตนจะเสียสิทธิอย่างไร เมื่อโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินสมทบครบเงื่อนเวลามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือป่วยเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานและได้รับบัตรรับรองสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงิน เพียงแต่โจทก์มิได้แสดงบัตรรับรองสิทธิเมื่อเข้ารับราชการรักษาเพราะบัตรสูญหายแต่โจทก์ได้แจ้งความและไม่ได้ไปขอออกใบแทน เท่านั้น โจทก์หาสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินไม่ ไม่ปรากฎว่า โอกาสร้องขอรับเงินประโยชน์ทดแทนเมื่อใดศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9649/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมว่าลูกจ้างได้รับครบถ้วนแล้ว
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานฝ่าฝืนจากคำพยานหลักฐานในสำนวนเช่นวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยก็ดีเอกสารหมายล.1ถึงล.13เป็นรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่ชอบของโจทก์แต่ที่จริงเป็นเอกสารที่มีข้อความชดเชยโจทก์ก็ดีและควรวินิจฉัยว่าพยานบุคคลที่โจทก์นำมาสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานมาด้วยดีส่วนพยานหลักฐานของจำเลยล้วนแต่เป็นพนักงานของจำเลยไม่ควรรับฟังก็ดีปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยฝ่าฝืนพยานหลักฐานดังกล่าวโดยมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดเพราะเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยส่วนพยานเอกสารหมายล.1ถึงล.13ตรวจดูแล้วก็มิใช่หนังสือชมเชยการปฏิบัติงานของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่ามีข้อความชดเชยว่าโจทก์ปฏิบัติงานดีก็ไม่มีปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารใดคงมีแต่เอกสารหมายจ.7และจ.8ที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นล้วนแต่โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงส่วนที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือและศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ถูกรองกรรมการผู้จัดการของจำเลยเขียนหนังสือเตือนให้ปรับปรุงตัวใหม่ก็มิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมายนั้นเป็นเพียงการนำมาประกอบเหตุผลในการวินิจฉัยว่าพฤติกรรมในการทำงานของโจทก์มีอย่างไรเท่านั้นเพราะในกรณีเลิกจ้างและจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นั้นไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่ามีการเตือนเป็นหนังสือหรือไม่อุทธรณ์ข้อนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนแต่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสุดท้ายของเดือนเมื่อวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยเลิกจ้างโจทก์และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้นจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ตามเอกสารหมายล.9จำนวนเงิน73,920บาทซึ่งแยกเป็นค่าชดเชย63,350บาทกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า10,560บาทโจทก์ยอมรับว่าค่าชดเชยถูกต้องคงโต้แย้งเฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังนี้เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่31กรกฎาคม2532ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนจึงเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582วรรคหนึ่งซึ่งนายจ้างอาจจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่บัญญัติในมาตรา582วรรคสองเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอีก1เดือนเท่านั้นดังนั้นโจทก์จึงได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6246/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดก เจ้าของรวม และอายุความ คดีมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเงินจำนวน 216,250 บาทก่อนที่จะแบ่งปันให้ทายาทต้องถือว่า ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแทนทายาททุกคน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าวร่วมกันแล้ว และจำเลยที่ 1ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นในฐานะเจ้าของรวม การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 โดยไม่มีอายุความมิใช่เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก จะนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 รับเงินส่วนแบ่งมรดกไว้ ถือว่าจำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ถือว่ามีการผิดนัดจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์จนกว่ามีการบอกกล่าวทวงถามเงินส่วนแบ่ง
of 10