คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัชชัย พิทักษ์ผล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: วิธีการแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ จากจำนวนที่ดิน 7 ไร่ 1 งาน จำเลยให้การว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมเพียง1 งาน 26 ตารางวา เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โต้แย้งกันในจำนวนที่ดินส่วนที่ต่างกัน คู่ความตีราคาทุนทรัพย์พิพาท 90,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิปรับควบคู่การเลิกสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายให้สิทธิโจทก์บอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวันจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิจะปรับจำเลยนั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรก แล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาตามข้อ 9 วรรคสามได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเรียกร้องที่ดินจากโจทก์ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินมีโฉนดของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้คดี ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอดให้โจทก์มีชื่อในโฉนดถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ร้องสอดขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้เป็นชื่อของผู้ร้องสอด ดังนี้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเรียกร้องที่ดินพิพาทจากโจทก์ ทั้งโจทก์ก็ให้การแก้คำร้องสอดปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนผู้ร้องสอด จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดต้องเสียค่าขึ้นศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดการเบิกจ่ายอุปกรณ์ไม่ได้ระบุทั้งหมด ศาลรับฟังได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของว. ลูกจ้างโจทก์ไว้กับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำของ ว.โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าว. ได้เบิกอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในงานใด และไม่ส่งคืนคลังพัสดุจำนวนกี่รายการเป็นจำนวนเงินเท่าใด และได้เบิกอุปกรณ์ก่อสร้างเกินประมาณการไปในงานใดตามหมายเลขงานที่เท่าใดบ้าง ว. มิได้ส่งคืนและไม่มีให้ตรวจนับกี่รายการ เป็นจำนวนเงินเท่าใด อันเป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนรายละเอียดว่า ว. ได้เบิกอุปกรณ์ไฟฟ้าไปปฎิบัติหน้าที่วันเวลาใดแต่ละครั้งเบิกไปเท่าใดเหลือที่จะต้องส่งคืนแต่ละครั้งเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำไปสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องด้วยคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหลังกลับเข้าทำงาน
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์นำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างคำขออื่นให้ยก คำพิพากษาของศาลแรงงานดังกล่าวแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานดังกล่าว ย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิม มิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เมื่อจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์อีกครั้งด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่ตามรายงานลับของพนักงานของจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่าโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานแต่ปรากฏว่าเวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานนั้นเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษ และ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่า "ให้พนักงานหยุดพักได้วันละ1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 น." การที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานจึงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งระบุว่า "พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์มิได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อดังกล่าว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุเพียงเท่าที่ปรากฏในรายงานลับจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหากศาลเห็นว่าโจทก์ไม่อาจทำงานร่วมกับจำเลยได้ขอให้ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 68,312.24 บาท ด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและจ่ายเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 125,274.33 บาท ด้วยคำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีหลังจึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อน และยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษและ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยให้พนักงานหยุดพักได้วันละ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 นาฬิกาตามแต่ผู้บังคับบัญชาจะเห็นสมควรโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งระบุว่า"พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตนหรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์จึงหาได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในข้อดังกล่าวไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายรวมทั้งเงินสะสมด้วย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย รวมทั้งเงินสะสมด้วย คำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีนี้จึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อนและยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด แม้ยังไม่ชำระราคาครบถ้วนหรือจดทะเบียน ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองปรปักษ์ได้
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้นโดยสุจริตและวางเงินมัดจำไว้บางส่วน แต่ก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนหรือยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต แม้ยังไม่ชำระราคาครบถ้วน หรือจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่
โจทก์เป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิของโจทก์จึงไม่เสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และแม้จะยังมิได้มีการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วน หรือยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับจากวันที่สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเกิด ขึ้นเมื่อหนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ติดตามทวงถามลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่ปฎิบัติตามหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนคดีขาดอายุความ ทำให้โจทก์เสียหายและเรียกค่าเสียหาย เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้เมื่อสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อนาย ส. ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2525 และสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อคู่กรณีที่ขับรถชนรถยนต์ของโจทก์ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2524ดังนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันที่หนี้แต่ละรายดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 24 มีนาคม 2536 จึงเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิวาทโดยมีอาวุธ การอ้างป้องกันตัวไม่สมเหตุผล และเจตนาฆ่าจากการใช้อาวุธร้ายแรง
แม้จำเลยจะมีพวกน้อยกว่า แต่จำเลยกับพวกมีทั้งอาวุธปืนและอาวุธมีด น่าจะเป็นเหตุให้จำเลยกับพวกไม่ได้เกรงกลัวโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย การทะเลาะวิวาทระหว่างทั้งสองฝ่ายจึงเป็นการสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจอ้างเรื่องป้องกันตัวมาเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้ว่าในระหว่างการวิวาทกันนั้นจำเลยอาจเพลี่ยงพล้ำไปบ้างก็ตาม และกรณีที่โจทก์ร่วมกับผู้เสียหายฝ่ายหนึ่ง และจำเลยกับพวกอีกฝ่ายหนึ่งได้เกิดวิวาททำร้ายกัน และจำเลยใช้อาวุธปืนพกที่ติดตัวไปยิงโจทก์ร่วมกับพวกและใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเช่นนี้เป็นคนละกรณีกับเรื่องชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปเพราะกรณีดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจทราบได้ว่าผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายโจทก์ร่วมและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงโจทก์ร่วมกับพวก กระสุนปืนถูกโจทก์ร่วมและพลาดไปถูกผู้อื่นถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
of 10