คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีสิทธิค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 ที่กำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นเพียงบทกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน การที่จำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งก็เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง เงินกองทุนสงเคราะห์ จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยและมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ซึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จบำนาญเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชยเงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำเหน็จบำนาญมิใช่ค่าชดเชยจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่า โจทก์ไม่ใช่สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิดตามประกาศดังกล่าวข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ และกรณีมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 3 วรรคสอง บัญญัติว่าบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ดังนั้น การที่โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ จึงไม่ใช่เป็นการออกจากงานตามความในมาตรา 33 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เป็นอันพ้นจากตำแหน่ง แต่เป็นกรณีออกจากงานตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9,11 ที่ว่าพนักงานของ รัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติต้องพ้นจากตำแหน่งไปเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 11 ที่บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้ว ก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงานดังนั้น เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุเข้าข่ายการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน สิทธิค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ย จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีวัตถุประสงค์ในทางสงเคราะห์พนักงานและทายาท เงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณทำนองเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการซึ่งต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์กับเงินบำเหน็จจึงไม่ใช่ค่าชดเชย แม้มากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์เรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จึงอ้างไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิลูกจ้าง-อายุงานต่อเนื่อง-เงินสงเคราะห์-การเลิกจ้าง-สิทธิลูกจ้าง
การที่จำเลยดำเนินกิจการจัดให้มีซึ่งเคหะเพื่อให้ประชาชนได้เช่าซื้อหรือซื้อเป็นของตนเอง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจการดังกล่าวโดยมิใช่กิจการที่ให้เปล่า แม้จำเลยจะเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะถือว่าจำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจยังไม่ได้ การจ้างงานของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานพระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันในวงการรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เมื่อจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวโดยโจทก์มิได้กระทำความผิดจึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แล้ว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคท้าย แก้ไขใหม่โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กำหนด กรณีที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกจากสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว ต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการด้วย จำเลยเลิกจ้างโจทก์หลังจากประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ผลของการเลิกจ้างจึงต้องบังคับและเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการดังนั้น ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย โจทก์มาทำงานกับจำเลยเพราะผลของการโอนกิจการ ทรัพย์สินสิทธิ หนี้ และความรับผิดของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้แก่จำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 มิใช่โจทก์ลาออกจากหน่วยงานเดิมมาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ก็บัญญัติให้นายจ้างโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกได้เมื่อลูกจ้างยินยอมด้วยการโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง ซึ่งต่างกับกรณีการเลิกจ้าง เมื่อไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกันไป การที่โจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้ว เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์จากจำเลยตามข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 32 จึงต้องคำนวณโดยนำอายุการทำงานของโจทก์จากธนาคารอาคารสงเคราะห์มารวมกับอายุการทำงานกับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุเป็นเหตุให้เกิดสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้มีเงินสงเคราะห์และบำนาญ
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ย จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีวัตถุประสงค์ในทางสงเคราะห์พนักงานและทายาท เงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำนาญเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และใช้วิธีคำนวณทำนองเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ อันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชยเงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชยแม้มากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุไม่ถือเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหรือลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วพ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ เป็นเพียงกำหนดคุณสมบัติของพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518หาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่ เพราะจำเลยอาจเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของจำเลย การจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่ายย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ทวงถามจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตามระเบียบของจำเลย เงินบำนาญที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ จัดอยู่ในประเภทเงินทุนเลี้ยงชีพ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แล้ว โจทก์ทั้งสิบสี่จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยส่วนหนึ่งนั้นเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือนไป จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยเพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ส่วนเงินบำนาญนั้นเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น แม้จะมากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยมิได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเอง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุและการเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 911 ที่บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือเป็นแนวเดียวกัน ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะอายุ 60 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33-34/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ กำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุ 60 ปี บริบูรณ์นั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจำเลยหาได้ถูกผูกพันที่จะต้องจ้าง โจทก์จนกว่าจะมีอายุ 60 ปี บริบูรณ์จำเลยอาจเลิกจ้างเมื่อโจทก์ขาดคุณสมบัติอื่นที่กำหนดไว้หรือโจทก์สมัครใจลาออกจากตำแหน่งก่อน การที่โจทก์รับทราบข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานจำเลยถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนที่บทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและพ้นจากตำแหน่งนั้นการกำหนดคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปเท่านั้น กรณีจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งตามประกาศดังกล่าวได้ให้ความหมายการเลิกจ้างไว้ โดยหมายถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด ดังนี้การที่โจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ จึงเป็นการเลิกจ้างแล้ว ส่วนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้บัญญัติให้การเกษียณอายุรวมอยู่ในความหมายคำว่าเลิกจ้าง ก็เนื่องจากเห็นว่าความหมายครอบคลุมถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุอยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจ, คุณสมบัติสัญชาติ, การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, บำเหน็จ
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหารไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2521มาตรา60ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจการบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลยต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มาตรา9(1)ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทยโจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลยและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา9วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลยโจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา11(3)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น
of 9