พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานชั่วคราวเพื่อรอสอบสวนทางวินัย ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ผู้ถูกสั่งพักงานจะใกล้เกษียณอายุ
สิ่งของในโรงงานของจำเลยขาดบัญชีและไม่ถูกต้องจำเลยจึงมีคำสั่งตั่งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนและพิจารณาเมื่อขณะออกคำสั่งจำเลยยังไม่ทราบชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่จำต้องระบุไว้ในคำสั่งนั้น. การสอบสวนของคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งปรากฏว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ขาดบัญชีโดยเป็นประธานกรรมการตรวจรับสิงของบางส่วนแต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นและโจทก์มีอายุใกล้กำหนดจะออกจากงานฐานเกษียณอายุดังนี้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้เพราะข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในกรณีเช่นนี้เป็นการสั่งให้ออกไว้ชั่วคราวโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งตามผลการสอบสวนพิจารณาจึงหาทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับสิ้นไปทันทีไม่แม้เมื่อสอบสวนเสร็จและโจทก์เกษียณอายุไปแล้วแต่หากการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากงานฐานเกษียณอายุได้มิใช่เป็นการพ้นวิสัยที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งทั้งมิใช่ให้โจทก์ทำงานต่อไปหลังจากที่ขาดคุณสมบัติแล้วจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเช่นนี้ไม่เป็นการเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ - สิทธิรับค่าจ้างและสวัสดิการ - หนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีผลผูกพันเมื่อไม่มีมูลหนี้
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2514 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับ มีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2520 โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่ 29 กันยายน 2520 จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2520 ช่วงเวลาก่อนวันที่ 29 กันยายน 2520 นั้น จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใด ซึ่งในเดือนกันยายน 2520 โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพ เงินค่ายังชีพ เงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใด จำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่ โจทก์จึงเรียกเงินต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา180 เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา180 เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินสวัสดิการลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ: สิทธิลูกจ้างยังคงมีตราบใดที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12กรกฎาคม2514ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518ออกใช้บังคับมีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่28กันยายน2520โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่29กันยายน2520จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2520ช่วงเวลาก่อนวันที่29กันยายน2520นั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใดซึ่งในเดือนกันยายน2520โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วยถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพเงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใดจำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่โจทก์จึงเรียกเงินต่างๆดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้. จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา180เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยก่อนจำเลยเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วพนักงานของจำเลยได้เปลี่ยนฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องอยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 โจทก์มีอายุเกิน60 ปีบริบูรณ์ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 9(2) และต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุตามกฎหมาย มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจว่าต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์นั้นเป็นบทกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติไว้โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำมาตรา 582แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุไม่ได้เมื่อโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติโดยครบเกษียณอายุจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต่างชาติเนื่องจากสัญชาติ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางแม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถ้า ศาลฎีกายังไม่เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่รับ วินิจฉัยให้ ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุไม่มีสัญชาติไทยอันเป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย แต่นายจ้างก็จะต้องดำเนินการให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่ง เป็นการให้ลูกจ้าง ออกจากงานโดยไม่ได้กระทำผิดใดๆ จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ขาดคุณสมบัติ แม้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแรงงาน นายจ้างทำได้โดยชอบ
แม้โจทก์จะเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยยื่นต่อจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ในเรื่องไม่สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจได้เต็มเวลา จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318-1319/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่า การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุครบเกษียณอายุตามกฎหมายมิใช่เป็นการเลิกจ้าง และพนักงานจะครบเกษียณอายุเมื่อมีอายุเท่าใดอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง จึงหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
การจ้างที่ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องออกจากงานเมื่อมีอายุครบ 60 ปีนั้นไม่ถือเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน
การพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง
เงินทุนสงเคราะห์ เงินบำนาญ ที่มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยไม่ถือเป็นค่าชดเชย
นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างทราบว่า การจ่ายเงินสงเคราะห์นั้นจ่ายเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด และจ่ายโดยมีเจตนาจ่ายตามค่าชดเชย โดยนายจ้างออกประกาศฝ่ายเดียวภายหลังที่โจทก์ออกจากงานแล้วเช่นนี้ ไม่ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง
เงินทุนสงเคราะห์ เงินบำนาญ ที่มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยไม่ถือเป็นค่าชดเชย
นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างทราบว่า การจ่ายเงินสงเคราะห์นั้นจ่ายเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด และจ่ายโดยมีเจตนาจ่ายตามค่าชดเชย โดยนายจ้างออกประกาศฝ่ายเดียวภายหลังที่โจทก์ออกจากงานแล้วเช่นนี้ ไม่ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย แม้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า และเงินสงเคราะห์ไม่ใช่ค่าชดเชย
การจ้างลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องออกจากงานเมื่อมีอายุครบ 60 ปีนั้น ไม่ถือเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน
การพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง
เงินทุนสงเคราะห์ เงินบำนาญ ที่มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยไม่ถือเป็นค่าชดเชย
นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างทราบว่า การจ่ายเงินสงเคราะห์นั้น จ่ายเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด และจ่ายโดยมีเจตนาจ่ายตามค่าชดเชย โดยนายจ้างออกประกาศฝ่ายเดียวภายหลังที่โจทก์ออกจากงานแล้วเช่นนี้ ไม่ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง
เงินทุนสงเคราะห์ เงินบำนาญ ที่มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยไม่ถือเป็นค่าชดเชย
นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างทราบว่า การจ่ายเงินสงเคราะห์นั้น จ่ายเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด และจ่ายโดยมีเจตนาจ่ายตามค่าชดเชย โดยนายจ้างออกประกาศฝ่ายเดียวภายหลังที่โจทก์ออกจากงานแล้วเช่นนี้ ไม่ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-910/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ: ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ยังมีผลผูกพัน แม้มีระเบียบภายใน
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ใช้สำหรับพิจารณาว่า คุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรบ้าง การที่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติในเรื่องอายุนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ มิได้ยกเว้นไว้ว่าไม่ให้ถือเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46กำหนดบทนิยามคำว่า 'การเลิกจ้าง' ไว้ และได้ระบุเจาะจงลงไปด้วยว่า 'การเลิกจ้างตามข้อนี้' แสดงว่าให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นด้วย การแปลคำว่า 'เลิกจ้าง' ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา31 จึงไม่จำต้องพลอยแปลตามข้อ 46 ด้วย (การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ(ฉบับที่6) กลับไปใช้ข้อความตาม (ฉบับที่ 2) โดยไม่มีข้อความให้รวมเอากรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างด้วยดังเช่น (ฉบับที่ 5) นั้นอาจเป็นเพราะเห็นบทนิยามคำว่า 'การเลิกจ้าง' ตามที่เคยใช้อยู่นั้น ครอบคลุมถึงกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้วก็ได้ เพราะมิได้ระบุยกเว้นไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด จะถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนหลักการยังไม่ได้
นายจ้างหามีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยขึ้นเองให้ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อันมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายไม่
แม้นายจ้างจะได้กำหนดเป็นข้อตกลงซึ่งลูกจ้างทราบดีแล้วตั้งแต่สมัครเข้าทำงานว่า เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็จะให้พ้นจากตำแหน่งไป ก็ถือไม่ได้ว่ามีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติลูกจ้างเป็นการทั่วไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46และข้อ 47 ไม่ปรากฏชัดว่ามีเจตนารมณ์ในการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินยังชีพในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และยังไม่มีกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นหนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้วโดยลูกจ้างมิพักต้องทวงถามอีกเมื่อจำเลยมิได้จ่ายให้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบังคับไว้ จึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46กำหนดบทนิยามคำว่า 'การเลิกจ้าง' ไว้ และได้ระบุเจาะจงลงไปด้วยว่า 'การเลิกจ้างตามข้อนี้' แสดงว่าให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นด้วย การแปลคำว่า 'เลิกจ้าง' ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา31 จึงไม่จำต้องพลอยแปลตามข้อ 46 ด้วย (การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ(ฉบับที่6) กลับไปใช้ข้อความตาม (ฉบับที่ 2) โดยไม่มีข้อความให้รวมเอากรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างด้วยดังเช่น (ฉบับที่ 5) นั้นอาจเป็นเพราะเห็นบทนิยามคำว่า 'การเลิกจ้าง' ตามที่เคยใช้อยู่นั้น ครอบคลุมถึงกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้วก็ได้ เพราะมิได้ระบุยกเว้นไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด จะถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนหลักการยังไม่ได้
นายจ้างหามีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยขึ้นเองให้ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อันมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายไม่
แม้นายจ้างจะได้กำหนดเป็นข้อตกลงซึ่งลูกจ้างทราบดีแล้วตั้งแต่สมัครเข้าทำงานว่า เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็จะให้พ้นจากตำแหน่งไป ก็ถือไม่ได้ว่ามีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติลูกจ้างเป็นการทั่วไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46และข้อ 47 ไม่ปรากฏชัดว่ามีเจตนารมณ์ในการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินยังชีพในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และยังไม่มีกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นหนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้วโดยลูกจ้างมิพักต้องทวงถามอีกเมื่อจำเลยมิได้จ่ายให้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบังคับไว้ จึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย