คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875-878/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน แม้หลักเกณฑ์ราชการจะแตกต่าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด โดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ ทั้งไม่มีข้อความยกเว้นไว้มิให้ถือว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุอันถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นการเลิกจ้าง การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
เดิม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานมิได้มีความระบุไว้ถึงเรื่องการเกษียณอายุ ต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 5) มีข้อความเพิ่มเติมว่า การเลิกจ้างรวมทั้งกรณีลูกจ้างต้องพ้นตำแหน่งเพราะเกษียณอายุนั้น เป็นการเน้นความหมายของคำว่าเลิกจ้างให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น และต่อมามีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6)ไม่มีข้อความว่า การเลิกจ้างให้รวมทั้งกรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ เช่น ประกาศกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 5) ก็ไม่ทำให้ความหมายของการพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเปลี่ยนแปลงไป
การที่กระทรวงการคลังวางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าชดเชยไว้ว่า การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจพ้นจากตำแหน่ง เพราะเกษียณอายุตามกฎหมายมิใช่เป็นกรณีเลิกจ้างนั้น เป็นเพียงหลักเกณฑ์ตามแนวความเห็นของทางราชการ ไม่มีผลบังคับอย่างกฎหมาย จึงไม่มีผลลบล้างความหมายของคำว่าเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าเงินบำเหน็จเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้ได้รับบำเหน็จ
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จะออกโดยฝ่ายบริหาร แต่ก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ฯ ข้อ 2 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุแต่อย่างใด เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจฯก็มิได้บัญญัติว่าการที่พนักงาน ต้องพ้น ตำแหน่งเพราะครบ 60 ปีบริบูรณ์ไม่เป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศดังกล่าวในข้อที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เป็นเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยก็หาเป็นค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติ อายุเกิน 60 ปี และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46, (ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษ แก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุนี้ย่อมตั้งถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่า พระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มิใช่จะถือว่า มีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัว นอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า พ้นจากตำแหน่ง ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติอายุเกิน 60 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46,(ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุนี้ย่อมต้องถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมาตรา 9(2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่าพระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมิใช่จะถือว่ามีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัวนอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "พ้นจากตำแหน่ง" ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง
of 9