คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ไพเราะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยาน ทำให้ศาลสั่งงดสืบพยานได้ ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตได้รับการคุ้มครอง
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และอ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ. ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยอาจให้ อ. เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าวอ. มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยติดประชุม โดยตัวจำเลยก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยาน แล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคารก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะว. เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบ แสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยาน มาให้พร้อมมิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจาก จำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมา ในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ. ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพา ต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยอาจให้ทนายคนอื่น ซักถามพยานแทนได้แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์ คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลย นั้นชอบแล้ว โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์ แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ประกอบกับ มาตรา 904 จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกัน ฉ้อฉลกับผู้มีชื่อดังที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลย มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่อย่างไร และศาลจะพิจารณาถอนผู้จัดการมรดกเมื่อใด
แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกจากธนาคารก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้านและเป็นภริยาเจ้ามรดกและทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียกประชุมทายาทก็ปรากฏว่าทายาทของเจ้ามรดกบางคนอยู่ต่างประเทศบางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุมทายาทดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่จัดประชุมทายาทเพราะเหตุดังกล่าวมาจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และแม้ผู้ร้องจะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 และ 1729บัญญัติไว้ก็ตาม แต่มาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่อย่างไร และศาลจะพิจารณาถอนผู้จัดการมรดกเมื่อใด
เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ทั้งผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้าน และเป็นภริยาเจ้ามรดกทุกฝ่ายจึงทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดก มีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่า ผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียก ประชุมทายาทนั้นก็ปรากฏว่าทายาทบางคนอยู่ต่างประเทศ บางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุม ดังนั้น แม้ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 และ 1729บัญญัติไว้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: หน้าที่ผู้จัดการมรดก & เหตุผลสมควรในการไม่ปฏิบัติตาม
แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกจากธนาคารก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้ การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเพราะเหตุดังกล่าว จึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้านและเป็นภริยาเจ้ามรดก และทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียกประชุมทายาท ก็ปรากฏว่าทายาทของเจ้ามรดกบางคนอยู่ต่างประเทศบางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุมทายาท ดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่จัดประชุมทายาทเพราะเหตุดังกล่าวมา จึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และแม้ผู้ร้องจะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ป.พ.พ.มาตรา 1728 และ 1729 บัญญัติไว้ก็ตาม แต่มาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำคัดค้านคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกหลังศาลไต่สวนเสร็จสิ้นและนัดฟังคำสั่ง ศาลมีดุลพินิจในการรับคำคัดค้าน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ พ. ผู้ตาย ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเสร็จแล้ว และนัดฟังคำสั่งในวันที่ไต่สวนคำร้องเสร็จ การที่ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านขึ้นมา ในวันนัดฟังคำสั่งเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะรับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น เมื่อปรากฏว่าไม่มีเหตุที่ผู้คัดค้านทั้งสองจะยื่นคำร้องคัดค้านใดเลย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอาญา ไม่กระทบความรับผิดทางละเมิด
มูลละเมิดคดีนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ แก่บุคคลอื่น โดยเป็นเช็คขีดคร่อมและมีคำสั่งห้ามเปลี่ยนมือ แต่เช็คดังกล่าวถูกนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 ในบัญชีจำเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย เป็นการผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ และจำเลยร่วม เบิกจ่ายเงินดังกล่าวจากบัญชีจำเลยร่วมแล้ว ส่วนคดีที่ โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นสืบเนื่องมาจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็นมูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยร่วมและ น. ฐานฉ้อโกง แล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน อันเป็นเรื่อง ระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิด อันยอมความได้และเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจาก การละเมิดเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้น ความรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ความรับผิดขนส่งสินค้าเสียหาย, การรับช่วงสิทธิจากสัญญาประกันภัย, และข้อจำกัดการฎีกา
ตามหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่สำนักงานใหญ่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์มอบให้นาย จ. มีอำนาจเกี่ยวกับการฟ้องหรือต่อสู้คดี และให้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนสับเปลี่ยนผู้รับมอบอำนาจช่วง นาย จ. มอบอำนาจช่วงให้นาย พ. ฟ้องคดีความทั้งปวงแทนโจทก์ ดังนี้ การมอบอำนาจในลักษณะดังกล่าวแม้มิได้เป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่ก็ครอบคลุมถึงการฟ้องคดีนี้ด้วย แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่นก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาฟ้องในคดีนี้อีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการขนส่งสินค้า ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าพิพาทเสียหายไปในระหว่างการขนส่ง ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 616
เมื่อบริษัท ป. ทำสัญญาประกันวินาศภัยกับโจทก์ในนามตนเอง แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเข้ามาแสดงตนและเข้ารับเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ป. ก็ตาม แต่ก็เป็นการแสดงตนหลังจากโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ป. ไปแล้ว ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อจะทำให้เป็นที่เสื่อมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง และพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจาร
จำเลยรู้จักผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือนและได้พบพูดคุยกันทุกวันแสดงว่าจำเลยย่อมมีความสนิทสนมกับผู้เสียหายเป็นพิเศษ ดังนั้น เมื่อพี่ชายผู้เสียหาย มาพบเห็นเข้า ผู้เสียหายกลัวบิดาและยาย จะตี จำเลยจึง ถือโอกาสนั้นพาผู้เสียหายหลบหนีโดยปราศจากเหตุอันสมควรและหลังจากพาผู้เสียหายหลบหนีแล้ว จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าวิชาชีพทนายความ: การกำหนดอัตรา, คดีต่อเนื่อง, และการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
โจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความให้กับจำเลยเพื่อฟ้อง ขับไล่ผู้เช่าออกไปจากตึกแถวและแผงลอยทั้งหมดโดยตกลง ค่าวิชาชีพกันไว้เป็นจำนวนแน่นอน เมื่อโจทก์ดำเนินการให้ จำเลยบรรลุวัตถุประสงค์คือดำเนินคดีฟ้องขับไล่และดำเนินการ ให้ผู้เช่าขนย้ายออกจากที่ดินที่เช่า เพื่อให้จำเลยซึ่งเป็น ตัวความเข้าครอบครองที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชอบ ที่จะได้รับค่าวิชาชีพเต็มตามจำนวน แม้จำเลยจะมีส่วนในการ ทำความตกลงกับผู้เช่าบางรายจนมีการประนีประนอมยอมความกันก็ตาม ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่า ช.กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายคดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความ แก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กับคดี ที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกันจำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองคดีรวมกัน โดยแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าวิชาชีพทนายความ: คดีต่อเนื่องกับการฟ้องขับไล่ และคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายแยกต่างหาก
โจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความให้แก่จำเลยเพื่อฟ้องขับไล่ ช. กับพวกผู้เช่าออกไปจากตึกแถวและแผงลอยทั้งหมดโดยตกลงค่าวิชาชีพกันไว้เป็นจำนวนแน่นอน เมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยจนบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว คือฟ้องขับไล่และดำเนินการให้ผู้เช่าขนย้ายออกจากที่ดินที่เช่า เพื่อให้จำเลยซึ่งเป็นตัวความเข้าครอบครองที่ดินและ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าวิชาชีพเต็มตามจำนวน แม้จำเลยจะมีส่วนในการทำความตกลงกับผู้เช่าบางรายจนมีการประนีประนอมยอมความกันก็ตาม
ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขับไล่ผู้เช่า ช. กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย คดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความแก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มี ความสัมพันธ์กับคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกัน จำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก
of 140