คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ไพเราะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองทำประกันภัยรถยนต์ แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ศาลยืนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
แม้ ม.ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์ คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้าย ทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์และครอบครอง ใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิ ครอบครองรถยนต์คันพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา 1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับ เป็นปกติ ทั้งผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนค์ คันพิพาทที่ เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองรถยนต์โดยสุจริต: การประกันภัยและค่าสินไหมทดแทน
แม้ ม.ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์และครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์คันพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา1382 หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับเป็นปกติ ทั้งผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 863
โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนต์คันพิพาทที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองทำประกันภัยรถยนต์ แม้ไม่มีกรรมสิทธิ์: ประเด็นความเสียหายจากการสูญหายและการเรียกร้องค่าสินไหม
แม้ม.ผู้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้รับโอนรถยนต์ มาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์ โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์ไว้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน แจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ และครอบครอง ใช้ประโยชน์รถยนต์ตลอดมาโจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิ ใช้สอยและได้รับประโยชน์จากรถยนต์ มีสิทธิให้ปลดเปลื้อง การรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา 1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ ในรถยนต์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 จึงเป็น ที่เห็นได้ว่าหากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์ในระหว่างที่อยู่ ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ จากรถยนต์มีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวไว้แก่จำเลย เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยได้สูญหายไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองทำประกันภัยรถยนต์คันพิพาท แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่เป็นของตน
แม้ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนมีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ และโจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์ รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์ คันพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์ คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครอง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิ ครอบครองตามมาตรา 1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ดังนี้ หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับเป็นปกติ ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้นผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณ เป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจ เอาประกันภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ ดังกล่าวไว้แก่จำเลยโดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนต์คันพิพาท ที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนและการผ่อนเวลาชำระหนี้ที่ไม่มีผลต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ พ. กระทำการและดำเนินการแทนในกิจการดังต่อไปนี้... เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง... เพื่อป้องกันรักษาผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ รวมทั้งทรัพย์สินของโจทก์ การมอบอำนาจในลักษณะนี้แม้จะเป็นการมอบอำนาจทั่วไปตามมาตรา 801 แห่ง ป.พ.พ. แต่ก็มีการมอบอำนาจรวมถึงการฟ้องคดีแทนด้วย ทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด และแม้ว่าขณะมอบอำนาจมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจดังกล่าวเสียไป พ. จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอำนาจตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 801 (5)
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงกำหนดชำระแล้ว โจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ หาใช่เป็นการยอมผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 700 แห่ง ป.พ.พ. อันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่า แม้ไม่ได้เป็นผู้ลงมือเอง แต่มีเจตนาและพฤติการณ์ร่วม
จำเลยร่วมอยู่ในกลุ่ม ม. กับพวกเข้าไปจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 กับพวก โดย ม. มีอาวุธปืนเล็งมาทางที่ผู้เสียหายที่ 2 นั่ง จำเลยกวักมือเรียกกลุ่มผู้เสียหายที่ 2กับเข้าแย่งปืนจาก ม. และพูดว่า กูยิงเอง และเมื่อเสียงปืนดังขึ้น จำเลย ม. กับพวกก็วิ่งหลบหนีไปพร้อมกันแม้จะได้ความว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนยิง พฤติการณ์เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับ ม. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกับพวกผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการ ร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าพวกผู้เสียหาย และยัง ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้หลังเกิดเหตุ 1 ปีเศษ แสดงว่าจำเลยหลบหนีเป็นพิรุธ การนำสืบอ้างฐานที่อยู่ ลอย ๆ ของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอไม่อาจ หักล้างพยานโจทก์ได้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่า การกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญา หากแต่เป็นบทมาตรา ที่ใช้แก่ความผิดทั่ว ๆ ไป กรณีที่การกระทำร่วมกัน ของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษ แก่บุคคลเหล่านั้นอย่างไร ดังนั้น แม้โจทก์มิได้อ้างมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาในฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้ หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ศาลฎีกายกฟ้องคดีอาญา ฐานฆ่าและกักขัง เนื่องจากพยานหลักฐานขัดแย้งและไม่น่าเชื่อถือ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง ฐานฆ่าผู้อื่น ให้ประหารชีวิตและฐานทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำคุกคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ความผิดฐาน ทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง คงมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาเฉพาะความผิด ฐานฆ่าผู้อื่น ซึ่งเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้พาผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะสีขาวไป และการที่ผู้ตายถูกฆ่าเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานทำให้ผู้อื่น ปราศจากเสรีภาพในร่างกายของจำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 เพราะเป็น ข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์และมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองเป็นคนละกรรม, เจตนาใช้อาวุธเป็นภัยต่อสังคม ไม่รอการลงโทษ
หลังจากจำเลยที่ 1 ลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองอาวุธปืนดังกล่าวติดต่อกันตลอดมาจนถึงวันจับกุมเป็นเวลา 1 ปีเศษ โดยไม่ได้รับอนุญาตจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตลอดเวลาที่ครอบครองอาวุธปืนอยู่จนกระทั่ง ถูกจับกุม ส่วนการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิด ในขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกัน พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ลักอาวุธปืนของนายจ้างแล้วครอบครองพาติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะใช้อาวุธปืนดังกล่าว นับว่าเป็นภัยต่อความปลอดภัยของสุจริตชนโดยทั่วไป และกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของสังคม สมควรที่จะปราบปรามอย่างเด็ดขาด จึงไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนดสัญญา การคิดดอกเบี้ยเกินสิทธิและวิธีการหักชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทระบุว่า เมื่อถึงกำหนด12 เดือน ตามข้อ 1(คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533) และไม่มีการ ต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลา กันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงกันให้มีการเบิกเงิน เกินบัญชีตามสัญญานี้ต่ออีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไป หมายความ เพียงว่าหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือจึงจะเป็นการตกลงให้มี การเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน หาใช่ว่าเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินจากโจทก์อีกต่อไป จะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไปไม่ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือกันต่อไป และไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ จำเลยที่ 1ขอเบิกเงินจากบัญชีหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงิน เกินบัญชีต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่านับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงิน จากโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง ภายหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เพื่อ ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี อีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ย่อมเลิกกันและสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีคือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งมีผลให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็น รายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้น ยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ย ไม่ทบต้น หลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 และเมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง แล้วโจทก์มีสิทธิที่จะ หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้ โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 ได้ทันที การที่โจทก์ยังคง คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิ ตลอดมา ทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏ ในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงต้องถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงิน จากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหัก ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด ผลบังคับใช้ดอกเบี้ยไม่ทบต้น การหักชำระหนี้จากบัญชีอื่น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือนตามข้อ 1 (คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533) และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญานี้ต่ออีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไป หมายความเพียงว่าหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือจึงจะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน หาใช่ว่าเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินจากโจทก์อีกต่อไป จะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไปไม่ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือกันต่อไป และไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่านับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินจากโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันและสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งมีผลให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น
ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้นยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น และหลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วโจทก์คิดดอกเบี้ยได้แบบไม่ทบต้น โจทก์คิดดอกเบี้ยในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2533 ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีดังนั้นนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 แบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533การที่โจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิตลอดมาทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่า จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงให้ถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับ
of 140