พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนดสัญญา การคิดดอกเบี้ยเกินสิทธิและวิธีการหักชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทระบุว่า เมื่อถึงกำหนด12 เดือน ตามข้อ 1(คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533) และไม่มีการ ต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลา กันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงกันให้มีการเบิกเงิน เกินบัญชีตามสัญญานี้ต่ออีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไป หมายความ เพียงว่าหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือจึงจะเป็นการตกลงให้มี การเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน หาใช่ว่าเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินจากโจทก์อีกต่อไป จะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไปไม่ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือกันต่อไป และไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ จำเลยที่ 1ขอเบิกเงินจากบัญชีหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงิน เกินบัญชีต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่านับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงิน จากโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง ภายหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เพื่อ ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี อีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ย่อมเลิกกันและสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีคือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งมีผลให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็น รายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้น ยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ย ไม่ทบต้น หลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 และเมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง แล้วโจทก์มีสิทธิที่จะ หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้ โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 ได้ทันที การที่โจทก์ยังคง คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิ ตลอดมา ทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏ ในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงต้องถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงิน จากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหัก ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยรถยนต์ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ และขอบเขตความรับผิดของผู้เอาประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยพิพาทเป็นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาท ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 4 ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน7วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6(พ.ศ. 2535) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนอีก 40,000 บาท ที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส. ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และขอบเขตความรับผิดของผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารสาธารณะ ซึ่งได้เอาประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกับโจทก์ จำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซ่อมรถยนต์โดยสารคันดังกล่าว วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ทำการซ่อมรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวอันเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ในการซ่อมรถจำเลยที่ 1 ได้ทดลองขับรถและขับด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ห.ซึ่งขับรถจักรยานยนต์มาในที่เกิดเหตุเป็นเหตุให้ ห.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส.มารดาของ ห. ต่อมาโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ส.เป็นเงิน 50,000 บาทดังนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทเป็นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาท ตามกรมธรรมประกันภัยพิพาทข้อ 4 ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 20 และกฏกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่ง ป.พ.พ. ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส.ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส.ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ: ขอบเขตความรับผิดของผู้ขับขี่ นายจ้าง และผู้เอาประกัน
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้เอาประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 3ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซ่อมรถยนต์ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ซ่อมรถยนต์และทดลองขับรถและขับด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ห. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส.มารดาของ ห.ต่อมาโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ส.เป็นเงิน 50,000 บาท เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาทซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 20 โจทก์ย่อมมีสิทธิ ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ย ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ทั้งโจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าว จากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้จากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทั้งไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย ดังนั้นการที่โจทก์จ่ายเงินอีก 40,000 บาทให้แก่ ส. ไป จึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบ เนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาประเมินและขาดการแจ้งเจ้าของทรัพย์
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินพิพาทขณะยึดเพียง 404,000 บาท และผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด 430,000 บาท ก็ตาม แต่ก่อนมีการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามราคาที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือตอบมาว่าที่ดินพิพาทราคา 808,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลเกือบเท่าตัว ประกอบกับการขายทอดตลาดครั้งนี้เป็นการขายครั้งแรก และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มาระวังการขายเนื่องจากไม่ทราบวันขายทอดตลาด ทั้งค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในขณะนั้นมีเพียง 100,000 บาทเศษ เท่านั้น พฤติการณ์ในการขายทอดตลาดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการรวบรัดและกดราคาจึงเป็นการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาประเมินและจำเลยไม่ทราบวันขาย
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินพิพาทขณะยึดเพียง 404,000 บาท และผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด430,000 บาท ก็ตาม แต่ก่อนมีการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามราคาที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือตอบมาว่า ที่ดินพิพาทราคา 808,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลเกือบเท่าตัวประกอบกับการขายทอดตลาดครั้งนี้เป็นการขายครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ไม่ได้มาระวังการขายเนื่องจากไม่ทราบวันขายทอดตลาด ทั้งค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในขณะนั้นมีเพียง 100,000 บาทเศษเท่านั้น พฤติการณ์ในการขายทอดตลาดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการรวบรัดและกดราคา จึงเป็นการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7512/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ เหตุผลที่ตรวจสอบได้ก่อนฟ้องไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ว. ได้ยึดรถคันที่จำเลยเช่าซื้อไปจากโจทก์คืนมาแล้วตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยเชื่อพยานหลักฐานของจำเลยหรือไม่ และหากเป็นไปดังที่จำเลยอ้างโจทก์ก็จะไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์นั้นเมื่อปรากฏว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ทราบมาก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยเบิกความพร้อมทั้งแสดงเอกสารประกอบข้ออ้างดังกล่าวในชั้นพิจารณา ดังนี้หากโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ในเรื่องนี้โจทก์ก็ควรจะหาข้อมูลได้ตั้งแต่ได้ฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว การตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวจึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่โจทก์จะอาศัยมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7512/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ การตรวจสอบข้อเท็จจริงที่โจทก์ทราบอยู่แล้วไม่ใช่เหตุผล
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ว.ได้ยึดรถคันที่จำเลยเช่าซื้อไปจากโจทก์คืนมาแล้วตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยเชื่อพยานหลักฐานของจำเลยหรือไม่ และหากเป็นไปดังที่จำเลยอ้างโจทก์ก็จะไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์นั้น เมื่อปรากฏว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ทราบมาก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยเบิกความพร้อมทั้งแสดงเอกสารประกอบข้ออ้างดังกล่าวในชั้นพิจารณา ดังนี้หากโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ในเรื่องนี้ โจทก์ก็ควรจะหาข้อมูลได้ตั้งแต่ได้ฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว การตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวจึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่โจทก์จะอาศัยมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินหรือหาประกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 นั้นแม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล หาใช่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่คดีนี้แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดี และงดสืบพยานจำเลยไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องวางเงินค่าธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกัน
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 นั้นแม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งจำเลยก็ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล หาใช่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่คดีนี้แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดี และงดสืบพยานจำเลยไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234