คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ไพเราะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยมิชอบ
การที่ทนายโจทก์อ้างว่ามีอาการป่วยวิงเวียนศีรษะต้องจอดรถอาเจียนข้างถนนจึงทำให้มาถึงศาลช้าไปนั้น โจทก์ก็รับว่ามาศาลหลังเวลานัดสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที และภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว 10 นาที ถือว่าโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดจึงเป็นกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง บัญญัติบังคับให้ศาลสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และเมื่อคำสั่งให้จำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นได้
เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีของโจทก์ โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลจำหน่ายคดี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัด – การคิดดอกเบี้ย – วันหักบัญชีครั้งสุดท้าย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์และจำเลยทำต่อกันเป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา วงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทจำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 9 มกราคม 2539 จำนวน 509,000 บาท แล้วจำเลยได้นำเงินฝากเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2539 จำนวน 30,000 บาท หักทอนบัญชีแล้วมียอดหนี้ 4,070,147.21 บาท หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินจาก บัญชีอีก คงมีแต่รายการหนี้ค่าธรรมเนียมเช็คคืนและดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นทุกเดือนจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเท่านั้นการที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คถอนเงินออกจากบัญชี แล้วโจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินและคิดค่าธรรมเนียมเช็คคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2539 แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปและโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่ 31 มกราคม 2539 ถือว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มี การเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2539 ซึ่งเป็น วันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิ คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6573/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย & การประวิงคดี: ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตถอนตัว & งดสืบพยานจำเลยได้
การที่ทนายความจะยื่นคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการแต่งตั้งให้เป็นทนาย จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายความผู้นั้นได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วเว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ แต่ตามคำร้องที่ทนายจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นขอถอนตนจากการเป็นทนายจำเลยนั้นไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แจ้งเรื่องการขอถอนตนให้จำเลยทราบแล้ว และมิใช่กรณีที่หาตัวจำเลยไม่พบการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตนจากการเป็นทนาย จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานมาสืบถึง 3 นัดและกำชับมิให้จำเลยเลื่อนคดีมาโดยตลอด แต่จำเลยก็มิได้ใส่ใจที่จะนำพยานมาสืบตามคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้ง ๆ ที่พยานจำเลยก็มีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้นซึ่งสามารถจะสืบให้เสร็จสิ้นได้ในนัดเดียว ยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏจากคำร้องขอถอนตนของทนายจำเลยเองว่าจำเลยทราบวันนัดแล้วแต่ก็มิได้เดินทางมาเบิกความต่อศาลชั้นต้นตามนัด ซึ่งทนายจำเลยเห็นว่า การที่จำเลยไม่มาศาล 3 นัด ติดต่อกันเป็นการจงใจไม่มาศาลมีลักษณะประวิงคดีให้ล่าช้า ทนายจำเลยจึงขอถอนตนจากการเป็นทนายดังกล่าว เป็นการยอมรับว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีจริง ตามพฤติการณ์ที่ปรากฏย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า เมื่อจำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนิน กระบวนพิจารณาแทนตนก็จะต้องรับผิดชอบในการกระทำของทนายความที่ตนแต่งตั้ง จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดเพราะทนายความไม่แจ้งให้ทราบไม่ได้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6573/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย & เจตนาประวิงคดี: ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตถอนตัวทนาย หากจำเลยทราบวันนัดแต่จงใจไม่มาศาล
การที่ทนายความจะยื่นคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการแต่งตั้งให้เป็นทนาย จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจ แก่ศาลว่าทนายความผู้นั้นได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว เว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ แต่ตามคำร้องที่ทนายจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นขอถอนตนจากการเป็นทนายจำเลยนั้น ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แจ้งเรื่องการขอถอนตนให้จำเลยทราบแล้ว และมิใช่กรณีที่หาตัวจำเลยไม่พบ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตนจากการเป็นทนาย จึงชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว
ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานมาสืบถึง 3 นัด และกำชับมิให้จำเลยเลื่อนคดีมาโดยตลอด แต่จำเลยก็มิได้ใส่ใจที่จะนำพยานมาสืบตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ทั้ง ๆ ที่พยานจำเลยก็มีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถจะสืบให้เสร็จสิ้นได้ในนัดเดียว ยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏจากคำร้องขอถอนตนของทนายจำเลยเองว่า จำเลยทราบวันนัดแล้วแต่ก็มิได้เดินทางมาเบิกความต่อศาลชั้นต้นตามนัด ซึ่งทนายจำเลยเห็นว่า การที่จำเลยไม่มาศาล 3 นัด ติดต่อกันเป็นการจงใจไม่มาศาลมีลักษณะประวิงคดีให้ล่าช้า ทนายจำเลยจึงขอถอนตนจากการเป็นทนายดังกล่าว เป็นการยอมรับว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีจริง ตามพฤติการณ์ที่ปรากฏย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า
เมื่อจำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนก็จะต้องรับผิดชอบในการกระทำของทนายความที่ตนแต่งตั้ง จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดเพราะทนายความไม่แจ้งให้ทราบไม่ได้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6563/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังพ้นกำหนด – เหตุผลที่ไม่สมควร – การทราบราคาหุ้นก่อนยื่นฟ้อง
โจทก์ทราบดีตั้งแต่วันฟ้องตลอดมาว่า หุ้นของบริษัทฟ.มีราคาลดต่ำลงโดยตลอด หาใช่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่ตกต่ำลงภายหลังจากที่มีการดำเนินการสืบพยานโจทก์แล้วไม่ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามที่กฎหมายกำหนดแต่กลับมายื่นหลังจากวันสืบพยานมาถึง 8 เดือนเศษโดยอ้างเหตุผลเพียงลอย ๆ ว่าขณะที่ฟ้องยังไม่ทราบราคาหุ้นที่แท้จริงเท่านั้น คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ราคาประเมิน, การสมรู้กัน, ราคาตลาด, ความชอบด้วยกฎหมาย
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทไว้ต่ำกว่าราคาประเมินของ สำนักงานวางทรัพย์กลางก็หาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เนื่องจากการประเมินราคาทรัพย์อาจมีความเห็นแตกต่างกันได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการประเมินราคามีเจตนาไม่สุจริต การเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดเป็นเรื่องของบุคคลที่สนใจจะเข้าประมูลไม่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดแต่อย่างใด เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจจะบังคับหรือห้ามมิให้ผู้ใดเข้าสู้ราคา ดังนั้นการที่มีผู้เข้าสู้ราคาน้อยจึงไม่ใช่ข้อแสดงว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยไม่ชอบ การที่ ว. ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมสู้ราคา มิได้เสนอราคาเข้าต่อสู้ มิได้หมายความว่า ว. สมรู้กับผู้เข้าสู้ราคาคนอื่นหรือบุคคลภายนอก เพราะการที่ ว. มิได้เสนอราคาดังกล่าวอาจเป็นเพราะ ว. เห็นว่าราคาในการประมูลสูงเกินไปก็ได้ เมื่อพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าฝ่ายผู้ซื้อทรัพย์สมรู้กับผู้เข้าสู้ราคาคนอื่นและบุคคลภายนอกในการประมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทั้งราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ ประมูลได้ก็สูงกว่าราคาประเมินของสำนักงานวางทรัพย์กลางดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อตามราคาที่ผู้ซื้อเสนอมาจึงเป็นการขายทรัพย์ในราคาที่พอสมควรแล้ว ไม่ต่ำเกินไปกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดรองการใช้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปีนับจากวันบอกกล่าวหนี้
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ในรูปของบัตรเครดิต โดยลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้ ซึ่งการให้บริการดังกล่าวโจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป แม้จำเลยจะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วย ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตดังกล่าว เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)
จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แก่โจทก์และบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2536 และพ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 พ้นกำหนด2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องเกิดจากการรับทำการงานต่าง ๆ มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันบอกกล่าวทวงถาม
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ในรูปของบัตรเครดิต โดยลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการ เบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้ ซึ่งการให้บริการ ดังกล่าวโจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม รายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของ สมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป แม้จำเลย จะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วย ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวเมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แก่โจทก์และบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2536 และพ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อ: เบี้ยปรับ, ราคารถ, และดอกเบี้ย – ศาลมีอำนาจลดค่าเสียหายที่สูงเกินส่วนได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนเป็นเงิน 5,000 บาท โดยโจทก์มีเพียง ส.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความลอย ๆ ว่าในการติดตามรถยนต์คืนโจทก์ได้เสียค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานเป็นเงิน5,000 บาท โดยมิได้พิสูจน์ให้เห็นว่าได้เสียค่าใช้จ่ายสิ่งใดบ้างให้ปรากฏ เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์แต่พิสูจน์ไม่ได้ การที่ศาลกำหนดให้โจทก์เป็นเงิน 2,000 บาท เป็นการเหมาะสมแก่พฤติกรรมแห่งรูปคดีแล้ว กรณีที่หนังสือสัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไปแล้วได้เงินไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญากับค่าเสียหายอื่น ๆที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อต้องชดใช้เงินให้เจ้าของจนครบถ้วนก็ดีหรือข้อที่ว่าถ้าผู้เช่าซื้อผู้ผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้อง ชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อ สิ้นสุดลงและผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัดก็ดี ดังนี้ เป็นข้อตกลง ที่กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่งอันมีลักษณะ เป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และ 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการระงับสิ้นหนี้เดิมเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาท ต่อมาการที่โจทก์ยอมรับเช็คซึ่งบริษัท น.เป็นผู้สั่งจ่าย เป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่อาจเรียกเก็บเงินได้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายและได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายผ่อนชำระ ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลเท่ากับว่าเช็คได้ใช้เงินแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย เมื่อหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจำนวน 600,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของหนี้ในเช็คจำนวน 1,700,000 บาท ซึ่งได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงย่อมระงับสิ้นไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก
of 140