คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ไพเราะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องบังคับตามสัญญาและการผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ ร.มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ร.และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดา เมื่อได้รับ มรดกที่พิพาทหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ ร.ส่วนร. จะโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ส.ค.1 ที่เชิงทะเลไปแล้ว จำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก ร.เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ ร.ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญา จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร. ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร. ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสอง ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินและสิทธิของผู้จัดการมรดกในการบังคับตามสัญญา
หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ ร.มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ร.และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดาเมื่อได้รับมรดกที่พิพาทนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ ร. ส่วน ร.จะโอนที่ดิน 3 แปลงให้แก่จำเลย ต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ส.ค.1 ที่เชิงทะเลไปแล้วจำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก ร. เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ ร.ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้ เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญาจึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 519 ประกอบมาตรา456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร. ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร.ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารประกอบคำให้การ แม้เป็นสำเนาและมิได้สืบประกอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาท ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลรับฟังเอกสารท้ายคำให้การเป็นพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงิน ให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาทปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบ ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะ: ลายมือชื่อกรรมการไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองบริษัท
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผล เท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนที่ดินและฟ้องแย้งละเมิด: เงื่อนไขฟ้องแย้งต้องเชื่อมโยงกับฟ้องเดิม
แม้จำเลยจะให้การรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องร่วมกับอ. โดยจำเลยเพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังมิได้โอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์ต้องการจนโจทก์ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งที่โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
โจทก์กับ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์กับ อ.จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นนี้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องร้องเมื่อกรรมสิทธิ์ไม่เป็นไปตามเจตนา และขอบเขตการพิจารณาฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
แม้จำเลยจะให้การรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องร่วมกับอ. โดยจำเลยเพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังมิได้โอนเปลี่ยนชื่อ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์ต้องการจนโจทก์ ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งที่โจทก์จำเป็น ต้องใช้สิทธิทางศาลแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่อง ละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่ง ไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย โจทก์กับอ. จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์ กับอ. จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลย ในประเด็นนี้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความและบุคคลภายนอก: หลักการใช้ยันบุคคลภายนอกและอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.เป็นจำเลยที่ 1และโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/1 จะเข้าไปรื้อบ้านหลังดังกล่าวของจำเลยที่ 2แต่ ส.กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันขัดขวาง ขอให้ห้าม ส. และโจทก์ขัดขวางการรื้อบ้าน โจทก์ให้การในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 2 จะรื้อบ้านเลขที่ 81/3 ของโจทก์ และฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 2 รื้อบ้านเลขที่ 81/1 ของจำเลยที่ 2 ออกไปศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า หลังจากการบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้ขอออกเลขที่บ้านใหม่เป็นเลขที่ 81/3 เมื่อ จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านตามคำสั่งศาลโดยสุจริตจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ ห้าม ส.และโจทก์เกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่จำเลยที่ 2จะทำการรื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกทะเบียนบ้านใหม่เป็นเลขที่81/3 ฟ้องแย้งของโจทก์ให้ยกเสีย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และเมื่อคำพิพากษานั้นวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3หรือไม่ จึงถือว่าประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ และการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อย
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องส.เป็นจำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/1 จะเข้าไปรื้อบ้านหลังดังกล่าวของจำเลยที่ 2 แต่ส.กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันขัดขวางขอให้ห้าม ส. และโจทก์ขัดขวางการรื้อบ้านโจทก์ให้การในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 2 จะรื้อบ้านเลขที่ 81/3ของโจทก์ และฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 2 รื้อบ้านเลขที่ 81/1ของจำเลยที่ 2 ออกไปศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าหลังจากการบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้ขอออกเลขที่บ้านใหม่เป็นเลขที่ 81/3 เมื่อ จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านตามคำสั่งศาลโดยสุจริตจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ ห้ามส.และโจทก์เกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่จำเลยที่ 2จะทำการรื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกทะเบียนบ้าน ใหม่เป็นเลขที่ 81/3 ฟ้องแย้งของโจทก์ให้ยกเสีย คำพิพากษา ในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งและเมื่อคำพิพากษานั้นวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของ บ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3 เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 หรือไม่ จึงถือว่า ประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจ ยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและ คำให้การ
of 140