คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ไพเราะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทที่ดินสาธารณะ การรื้อถอนทรัพย์สิน และค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดง แผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้ว ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจน พอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใด ถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้างเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณี กระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชน ใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะ ด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทำลายทรัพย์สินบนที่สาธารณะ การกระทำละเมิด และหน้าที่ของเทศบาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดงแผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้วขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจนพอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใดถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้าง เป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณีกระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติ ที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304
แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาท
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค.เมื่อค. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อ ของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทแทน ทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาท จากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครอง ที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค. จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่าที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค. ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองและเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดก
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค. เมื่อ ค.ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค.จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประกาศขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่โต้แย้งการแจ้งทางหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้ง ในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลย เจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์ จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมายและในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174 อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลย ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 (2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่า การแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้อง ทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณภูมิลำเนาใหม่ของจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่เหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่คัดค้านการแจ้งโดยหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้งในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลยเจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมาย และในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลยณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่าการแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้องทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณ ภูมิลำเนาใหม่ของจำเลยพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิต: มิใช่บัญชีเดินสะพัด แต่เป็นการรับทำการงานทดรองจ่าย
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็นผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิต ต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น การที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด และเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปีแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม2534 เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี หากเป็นค่าทดรองจ่าย ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้วจำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิตต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น การที่ จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หัก เงิน ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวตาม พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระ เงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียก เก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ10 ปีแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม 2534เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถ: ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แม้เป็นยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิบัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่ม แอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิด ตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิด และลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์ เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรกบัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติ เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่ เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติ มาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลย หรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกาย ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคง ต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิก ไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทั้งสองฉบับดังกล่าว การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก กรณีเสพเมทแอมเฟตามีนและขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
of 140