พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก – ความกว้างของทางจำเป็น
เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งสองและของจำเลยต่างแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 2394 ในคราวเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ คงมีที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียวที่อยู่ติดทางสาธารณประโยชน์ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งที่แบ่งแยกในคราวเดียวกัน รวมถึงที่ดินของจำเลยได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 หาใช่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 2394 แปลงเดิมส่วนที่คงเหลือจากการแบ่งแยกแบ่งโอนกันแล้วเท่านั้นไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นหรือไม่ ถือได้ว่ามีประเด็นในเรื่องความกว้างยาวของทางจำเป็นด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเพราะถือว่าไม่มีประเด็นจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นหรือไม่ ถือได้ว่ามีประเด็นในเรื่องความกว้างยาวของทางจำเป็นด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเพราะถือว่าไม่มีประเด็นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นร้องขอประชุมวิสามัญ หากคณะกรรมการไม่ดำเนินการภายใน 30 วัน ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเรียกประชุมเองได้
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ ฯลฯ ก็ให้ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วันผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญเมื่อคณะกรรมการไม่ดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ฯลฯ ก็ให้ถือตาม ป.พ.พ.ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วัน ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งหมด แม้ทุนกองกลางเกินกำหนด นายวงแชร์/ผู้จัด ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิในทางแพ่ง แต่สมาชิกสามารถฟ้องร้องได้
แม้เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534ไม่ประสงค์ให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งเอากับสมาชิกวงแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 6 ก็ตาม แต่ในมาตรา 7ก็บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้ย่อมแสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ ดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด การที่โจทก์จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเล่นแชร์มีการประมูลแชร์ระหว่างกันมาตลอดและจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ด้วยกันการที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์มีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกัน และย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 ดังกล่าว ฉะนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ ของโจทก์จำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เมื่อธนาคาร ตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่าย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คดังกล่าวให้โจทก์ โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์จริง แต่โจทก์ไม่ชำระหนี้แทน จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์จำเลยเป็นฝ่ายยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาใหม่เพื่อต่อสู้กับโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์เพียงใดหรือไม่และให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงหมายความรวมถึงกำหนดให้จำเลยนำสืบว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ตอบแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ให้จำเลยด้วยจำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบตามที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมการเล่นแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.เล่นแชร์ ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเช็ค
แม้เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ไม่ประสงค์ให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งเอากับสมาชิกวงแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 6 ก็ตาม แต่ในมาตรา 7 ก็บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้ ย่อมแสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด การที่โจทก์จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมล่นแชร์มีการประมูลแชร์ระหว่างกันมาตลอด และจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ด้วยกันการที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์มีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกัน และย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 ดังกล่าว ฉะนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์จำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิสธการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่าย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์จริง แต่โจทก์ไม่ชำระหนี้ตอบแทน จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาใหม่เพื่อต่อสู้กับโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์พียงใดหรือไม่และให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงหมายความรวมถึงกำหนดให้จำเลยนำสืบว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ตอบแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ให้จำเลยด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบตามที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์จริง แต่โจทก์ไม่ชำระหนี้ตอบแทน จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาใหม่เพื่อต่อสู้กับโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์พียงใดหรือไม่และให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงหมายความรวมถึงกำหนดให้จำเลยนำสืบว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ตอบแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ให้จำเลยด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบตามที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์: เจ้าหนี้ต้องรับผิดเมื่อยึดทรัพย์ผิดพลาดและศาลสั่งปล่อยทรัพย์
โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์รายการที่ 1 ต่อมาผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตน ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด และคำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยึดทรัพย์ จึงเป็นการกระทำของโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลย อีกทั้งตามรายงานการยึดก็ปรากฏว่า ผู้แทนโจทก์เป็นผู้ชี้ให้ยึดโดยยืนยันว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยจริง หากเกิดความเสียหายผู้แทนโจทก์ยินยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าทรัพย์ดังกล่าวไม่ใช่ของจำเลย ไม่อาจนำไปขายทอดตลาดได้และต้องปล่อยทรัพย์ที่ยึดไป โจทก์จึงมีหน้าที่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ: ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเนื้อหาของคดีเดิม โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่ได้
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์เพราะยื่นเกินกำหนด แต่กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ประเด็นและได้มีการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจนเสร็จกระบวนพิจารณา แล้วศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ ไม่เคลือบคลุม แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยชอบเพราะโจทก์ไม่อาจนำพยานมาสืบได้ตามประเด็นข้อพิพาท และศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อ 3 ถึงข้อ 5 จึงเป็นกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องโดยชอบเท่านั้น โดยยังไม่ได้ วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีเกี่ยวกับหนี้สิน ระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในประเด็นแห่งคดี ดังกล่าวเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ: ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาคดีเดิม จึงฟ้องได้อีก
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์เพราะยื่นเกินกำหนด แต่กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ประเด็น และได้มีการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจนเสร็จกระบวนพิจารณา แล้วศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยชอบเพราะโจทก์ไม่อาจนำพยานมาสืบได้ตามประเด็นข้อพิพาท และศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อ 3 ถึงข้อ 5 จึงเป็นกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องโดยชอบเท่านั้น โดยยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีเกี่ยวกับหนี้สินระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับช่วงสิทธิจากความเสียหายทางละเมิด และอายุความฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับ จำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย รถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของส.และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ. ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง ไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย รถยนต์คันที่ ส. ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยกรณีรถชนจากความประมาทของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ส. และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ.ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ส. และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ.ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย