พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นในการเรียกประชุมวิสามัญเมื่อกรรมการไม่ดำเนินการตามกฎหมาย
การที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ และเกินกว่า 1 ใน 5แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ รวม6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1173 แล้วกรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามคือ ต้องเรียกประชุมโดยพลันจะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174 เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ ผู้คัดค้านกับมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสองกรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้น มติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นเรียกประชุมวิสามัญและการชอบด้วยกฎหมายของมติที่ประชุม
ข้อบังคับของบริษัท เรื่องการประชุมใหญ่ระบุว่า การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมี 2 ชนิด คือ (1) การประชุมสามัญให้มีปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยคณะกรรมการเป็นผู้นัดประชุม (2) การประชุมวิสามัญให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และ ป.พ.พ.มาตรา 1173 บัญญัติให้การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทได้เข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้นและในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด และตามมาตรา 1174 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญดังได้กล่าวมาในมาตราก่อนนี้แล้วให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน และถ้ากรรมการมิได้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้องไซร้ ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ร้องหรือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ รวมกันได้จำนวนดังบังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้ ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่และเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆรวม 6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและ ป.พ.พ.มาตรา 1173 แล้ว กรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามวรรคแรก คือต้องเรียกประชุมโดยพลัน จะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใดเมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ผู้คัดค้านกับนางจุรีมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2537 จึงชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1174 วรรคสอง กรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย
เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า1 ใน 4 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1 ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้นมติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า1 ใน 4 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1 ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้นมติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4188/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และการฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าท. ได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้โจทก์ทั้งหกคนละส่วนเท่า ๆ กันคิดราคารวม 205,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ทั้งหก อุทธรณ์ขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาท ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์ แต่ละคน ไม่ใช่ทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์รวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์พิพาท ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้าม โจทก์ทั้งหกมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ทั้งหกอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของ โจทก์ทั้งหกที่ขอให้ส่งพินัยกรรมไปตรวจพิสูจน์อีกครั้งไม่ชอบ และ พินัยกรรมฉบับที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่ใช่พินัยกรรมปลอมโจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งในปัญหาที่ศาลชั้นต้นสั่งยก คำร้อง ของ โจทก์เพราะได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจที่ว่าศาลชั้นต้นเห็นควรส่งพินัยกรรม ไปตรวจพิสูจน์อีกครั้งหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงซึ่งนำไปสู่ การพิจารณาในข้อกฎหมายว่าโจทก์ทั้งหกมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ของศาลชั้นต้นได้หรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหก จะได้โต้แย้งคำสั่งไว้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่โจทก์ทั้งหก จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกในปัญหาที่ว่า พินัยกรรมที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่ใช่พินัยกรรมปลอมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของ โจทก์ทั้งหกและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้นฎีกาของโจทก์ทั้งหกที่ว่าโจทก์ทั้งหกโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นไว้แล้วและพินัยกรรมที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าบ้านโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ยอมออกไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์เกิดความโกรธแค้นจึงกลั่นแกล้งจำเลยด้วยการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นกรณีที่จำเลยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์กระทำละเมิด ซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งค่าเสียหายจากละเมิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับคำฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าบ้านโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ยอมออกไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์เกิดความโกรธแค้นจึงกลั่นแกล้งจำเลยด้วยการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นกรณีที่จำเลยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์กระทำละเมิด ซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่ค่าเสียหายจากการใช้รถ แต่เป็นผลจากการเลิกสัญญา
ค่าเสื่อมราคาที่โจทก์เรียกร้องมาในฟ้องคือราคารถพิพาทที่ยึดคืนขายได้น้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิด ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่ฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถพิพาทเนื่องจาก การใช้ของจำเลยที่ 1 การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้เป็นผล มาจากการเลิกสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อและประกันภัย การแจ้งให้ผู้รับประกันทราบ และผลต่อการสิ้นสุดของกรมธรรม์
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาประกันภัยจาก ว.โดยได้แจ้งให้ผู้ให้เช่าซื้อทราบ และผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบแล้วถือได้ว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยแล้ว เมื่อการโอนในกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875มิได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือและจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนสิทธิแต่อย่างใดฉะนั้น สิทธิตามสัญญาประกันภัยจึงโอนไปยังโจทก์
ว. เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส. ผู้ให้เช่า ซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
ว. เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส. ผู้ให้เช่า ซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อและประกันภัย: สิทธิโอนได้หากไม่ขัด ป.พ.พ. และไม่มีข้อโต้แย้ง
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาประกันภัยจากว.โดยได้แจ้งให้ผู้ให้เช่าซื้อทราบ และผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบแล้ว ถือได้ว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยแล้ว เมื่อการโอนในกรณีนี้ ป.พ.พ.มาตรา 875 มิได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือและจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนสิทธิแต่อย่างใด ฉะนั้นสิทธิตามสัญญาประกันภัยจึงโอนไปยังโจทก์
ว.เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส.ผู้ให้เช่าซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโดนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.13 กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
ว.เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส.ผู้ให้เช่าซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโดนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.13 กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินสร้างภารจำยอม แม้ไม่ขออนุญาตจัดสรรก็ถือเป็นการจัดสรรตามกฎหมายได้
การที่ ป.ได้แบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อยประมาณ300 แปลงเพื่อขาย และได้สร้างโรงภาพยนตร์โดยมีทางพิพาท อยู่ด้านข้างทั้งสองด้านของโรงภาพยนตร์และอยู่หน้าอาคาร ของโจทก์ทั้งสิบสี่แสดงโดยชัดแจ้งว่า ป.จัดทำทางพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนเพชรเกษมอันเป็นทางสาธารณะเป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่า ป.เจตนาจัดให้มีสาธารณูปโภค คือทางพิพาท ถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ข้อ 30 แม้ ป. จะมิได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ก็ไม่ทำให้การดำเนินการ ของ ป. กลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายไปแต่อย่างใดไม่ ส่วนการจัดสรรที่ดินอันฝ่าฝืนต่อประกาศของ คณะปฏิวัติดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมายเป็นประการอื่นอย่างไรบ้าง เป็นอีกกรณีหนึ่ง ฉะนั้นทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดิน ของโจทก์ทั้งสิบสี่โดยผลของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องโทษจำคุกคดีก่อนมีผลต่อการรวมโทษหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกรอไว้ 2 ปี โดยไม่ได้บรรยายฟ้องระบุถึงโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในคดีก่อนว่ามีระยะเวลาเท่าใด แม้ตามคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและรับข้อเท็จจริงเรื่องเคยต้องโทษตามฟ้อง แต่เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุถึงระยะเวลาของโทษจำคุกในคดีก่อน จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ปรากฏแก่ศาลให้รับฟังได้ว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยนานเท่าใดในคดีก่อน ดังนั้น จึงไม่อาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามที่โจทก์ขอได้