คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ไพเราะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2648/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งขัดแย้งกับคำให้การ: สัญญาโมฆะไม่อาจบังคับได้
จำเลยให้การว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ฉะนั้นที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินให้จำเลยตามสัญญาดังกล่าวจึงขัดกับคำให้การของจำเลย และหากจำเลยชนะคดีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอได้ ถือได้ว่าฟ้องแย้งดังกล่าวไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2648/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งขัดแย้งกับคำให้การ: สิทธิเรียกร้องบังคับตามสัญญาไม่สมบูรณ์
จำเลยให้การว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ฉะนั้นที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินให้จำเลยตามสัญญาดังกล่าวจึงขัดกับคำให้การของจำเลย และหากจำเลยชนะคดีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอได้ ถือได้ว่าฟ้องแย้งดังกล่าวไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, อายุความ, ความรับผิดทางสัญญาซื้อขาย, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อคดี
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481และมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่4 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหลังถอนฟ้อง, การรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ต่อมาวันที่ 1ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1 ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 475
จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนี-ประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 481 และมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่ 4เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2 นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยา: ความยินยอมทำนิติกรรมถือเป็นการให้สัตยาบันหนี้
หนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1สามีจำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส แม้หนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1และสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองจะเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่หนังสือให้ความยินยอมของจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือที่ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงินและจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว หนี้ตามสัญญากู้เงินตามฟ้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม, การครอบครองปรปักษ์, มรดก: สิทธิในการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และ ต. มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดิน 4 แปลง โดยมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่กึ่งหนึ่งในที่ดินทั้ง 4 แปลง จึงขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยกึ่งหนึ่ง เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถให้การต่อสู้คดีได้ ไม่จำต้องบรรยายว่าในระหว่างโจทก์ด้วยกันแต่ละคนมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทคนละเท่าใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ. เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทโดยชอบและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินในส่วนที่เป็นของ พ. การครอบครองที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการครอบครองแทน พ. หรือทายาท เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
จำเลยที่ 5 เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 3374 โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พ. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง และที่ดินส่วนของ พ. ตกเป็นมรดกตกทอดได้แก่บุตร คือโจทก์ที่ 1 และ ต. โจทก์ที่ 1 และ ต. จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, อำนาจฟ้อง, ค่าเสียหายเช่าซื้อ, การแก้ไขหนังสือมอบอำนาจในชั้นฎีกา
ปัญหาที่ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ขีดฆ่าอากรแสตมป์จึงใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง แม้จะไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ในระหว่างกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขีดฆ่าอากรแสตมป์และโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้วจึงถือว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แล้ว ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ อากรแสตมป์ และอำนาจฟ้อง: การแก้ไขหลังฟ้อง และผลต่อการรับเป็นหลักฐาน
ปัญหาที่ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ขีดฆ่าอากรแสตมป์จึงใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง
แม้จะไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ในระหว่างกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขีดฆ่าอากรแสตมป์และโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้วจึงถือว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา118 แล้ว ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดกับการหมดอายุความ การแย่งการครอบครอง และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็นในศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและการแย่งการครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็นในศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถ ที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหายจากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 140