พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น. ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส. ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น. เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้ายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้อง แม้จะมีการระบุผู้มอบอำนาจอื่น การสั่งไม่รับฟ้องเป็นกระบวนการที่ผิดระเบียบ
พ. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้ง น. เป็นทนายความซึ่งเป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง เท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยตนเองแล้วดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิดเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนคำสั่ง โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไปหาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้าย ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลความล่าช้าในการยื่นอุทธรณ์: ความบกพร่องของทนาย ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าเพราะเสมียนทนายจำเลยแจ้งต่อทนายจำเลยว่าศาลอนุญาตในการขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สาม ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ตามขอ เป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ที่จะขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ไต่สวน แต่สั่งยกคำร้องของจำเลย และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด: ความบกพร่องของทนายจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าเพราะเสมียนทนายจำเลยแจ้งต่อทนายจำเลยว่าศาลอนุญาตในการขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สาม ทำให้ทนายจำเลยเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ตามขอ เป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่จะขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ไต่สวน แต่สั่งยกคำร้องของจำเลยและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-ประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัย vs. ความรับผิดต่อสัญญาเช่าซื้อ
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยตกลงกันว่าให้จำเลยประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อ และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้น ถือว่าเป็นการตกลงกันเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เมื่อรถยนต์ คันดังกล่าวได้สูญหายไป สิทธิของโจทก์ที่จะรับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโจทก์แสดงเจตนาแก่จำเลยร่วมว่าจะถือเอาประโยชน์สัญญานั้น และเนื่องจากไม่มีข้อตกลงให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิ เรียกร้องแก่จำเลยร่วมให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน การที่จำเลยแจ้งว่ารถยนต์คันที่เช่าซื้อได้สูญหายไปให้ โจทก์ทราบ และโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังมีอำนาจเรียกร้องต่อจำเลยโดยตรงได้แม้จะเป็น ภายหลังจากที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีแก่จำเลยร่วมขาดอายุความไปแล้ว ก็หาใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่ เมื่อรถยนต์คันที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยจำเลยยังไม่ได้ชำระราคาค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แม้แต่งวดเดียว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดดอกเบี้ยค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 และอายุความ 5 ปี
ในคดีที่วินิจฉัยได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 238 คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริง เป็นยุติว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อวันที่22 กุมภาพันธ์ 2530 จำเลยค้างชำระต้นเงินจำนวน27,652.07 บาท อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกเก็บ ได้ในขณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดร้อยละ 15 ต่อปี แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1) ที่กำหนดให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระมีกำหนดอายุความ 5 ปี นั้นหมายความว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่ วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่ วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้นไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ตามความหมายแห่ง มาตรา 193/33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คโดยตรง แม้จะออกเช็คฉบับใหม่แล้ว
++ เรื่อง ตั๋วเงิน
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 71 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 71 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็ค: ธนาคารต้องรับผิดโดยตรงต่อผู้ทรงเช็ค แม้แจ้งอายัด
เช็คพิพาทเป็นแคชเชียร์เช็คที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย หาใช่ผู้เคยค้าสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาเบิกเงิน จากธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 1 จะยกเอาข้อต่อสู้ ที่ว่าจำเลยที่ 2 มีคำบอกกล่าวว่าเช็คพิพาทถูกชิงทรัพย์ ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991(3),992(1) มายกเว้นความรับผิดของตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในเช็คและการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท ย่อมจะต้อง รับผิดตาม เนื้อความในเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 แม้จำเลยจะได้ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก็หาทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดไปไม่เพราะจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวก ไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 มาตรา 1080และมาตรา 1050 โจทก์ในฐานะผู้ทรงจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ให้รับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวได้ โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับของโจทก์แล้วว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในช่องผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยรับผิด ตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นแม้จะมิได้บรรยายหรือมีคำขอ ท้ายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์มุ่งจะบังคับให้จำเลยต้องร่วมรับผิด ในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม ก็ถือได้ว่า เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว คำให้การของจำเลยที่อ้างว่าได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลย ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยการที่ศาลชั้นต้น กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบัญชีเดินสะพัด: การผูกพันตามข้อตกลงและการจ่ายเงิน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคือสัญญาบัญชีเดินสะพัด เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบและไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็น หนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น ถ้าตามพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่ามีข้อตกลงการเบิกเงินเกินบัญชี และบัญชีเดินสะพัดย่อมบังคับต่อกันได้ ปรากฏว่าจำเลย ได้ยื่นคำขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ คำขอนั้น นอกจากเป็นข้อตกลงที่จำเลยยอมผูกพันกับธนาคารเรื่อง การฝากเงินแล้ว ยังมีข้อตกลงเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงิน และถอนเงินว่าจำเลยต้องสั่งจ่ายหรือถอนเงินโดยเช็คของ ธนาคารโจทก์และในกรณีที่ธนาคารผ่อนผันการจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตามทั้งที่เงินฝากคงเหลือไม่พอจ่ายตามเช็คผู้ฝากยอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่ธนาคารผ่อนผันจ่ายไปให้นั้นคืนแก่ธนาคาร โดยถือเสมือนว่าผู้ฝากเป็น หนี้ธนาคารอยู่ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหรือหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในเงินจำนวนนั้น ทั้งได้ความว่าหลังจากทำสัญญาตามคำขอดังกล่าวแล้ว จำเลยได้สั่งจ่ายเช็ค มีการคิดดอกเบี้ยตามประกาศของ ธนาคารและมีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยกันมาโดยตลอดเป็น เวลาประมาณ 6 ปี ดังนี้ คำขอเบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้จะฟังว่าโจทก์ได้แก้ไขอัตราดอกเบี้ยในสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นการแก้ไขเพื่อให้ตรงต่อความเป็นจริง ซึ่งมิได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยหรือประชาชน กลับเป็นประโยชน์ ต่อจำเลย จำเลยเองเพิ่งมาหยิบยกขึ้นเป็นข้ออ้างเมื่อถูกฟ้อง เป็นคดีนี้ ก่อนหน้านี้จำเลยได้มีบัญชีเดินสะพัดกับ โจทก์มาโดยตลอด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงไม่เป็นเอกสารปลอม เมื่อจำเลยได้มีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบัญชี เดินสะพัดกับโจทก์ การจ่ายเงินเกินบัญชีของโจทก์ให้แก่จำเลย จึงมิใช่เป็นการจ่ายเงินตามอำเภอใจ อันเป็นเรื่อง ลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407แต่เป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความในเรื่องลาภมิควรได้