พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย กรณีรถยนต์ถูกลักโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทน แม้คำสั่งไม่ฟ้องในทางอาญา ศาลแพ่งยังคงพิพากษาได้
คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในทางอาญา เป็นเรื่อง ที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งสำนวนไปตามพยานหลักฐาน เท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนจะนำมารับฟังเป็นที่ยุติ ในชั้นพิจารณาของศาลในคดีแพ่งว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิด มิได้ และเมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่า พยานหลักฐานของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่ฟ้องทางอาญา ไม่ยุติการละเมิดในคดีแพ่ง พยานหลักฐานฝ่ายโจทก์มีน้ำหนักมากกว่า
แม้จะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในทางอาญา ก็เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งสำนวนไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนจะนำมารับฟังเป็นที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลในคดีแพ่งไม่ได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิด
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่ฟ้องทางอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยและการรับช่วงสิทธิ
แม้จะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในทางอาญา ก็เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งสำนวนไปตาม พยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนจะนำมารับฟังเป็นที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลในคดีแพ่งไม่ได้ว่าจำเลย ไม่ได้กระทำละเมิด เมื่อพยาน หลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐาน ของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการและการผูกพันบริษัทต่อเช็ค แม้การลงนามไม่ถูกต้อง
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท ค. กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่าจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ว.หรือ ส. และประทับตราของบริษัท หรือว.ลงชื่อร่วมกับ ท. และประทับตราบริษัท และที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่ อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1167 เมื่อ อ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัท ค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าว และโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัท ค.กู้เงินไปลงทุน ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของ อ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัท ค. ทั้งบริษัท ค.ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาทจึงตกอยู่แก่บริษัท ค. มิใช่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเปลี่ยนแปลง, การกระทำเกินอำนาจ, ความรับผิดของบริษัทต่อเช็ค, ความเชื่อโดยสุจริตของบุคคลภายนอก
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัทค.กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่า จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้ คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับว.หรือส.และประทับตราของบริษัทหรือว.ลงชื่อร่วมกับท.และประทับตราบริษัทและที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 เมื่ออ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัทค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าวและโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัทค.กู้เงินไปลงทุนย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของอ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัทค.ทั้งบริษัทค. ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาท จึงตกอยู่แก่บริษัทค.มิใช่อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินจากพยานหลักฐาน เอกสารสัญญาขาย และการครอบครอง โดยศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นพินัยกรรม
สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารที่ส่งมาจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ เพราะต้นฉบับได้ส่งไปยังศาลแพ่งและศาลแพ่งแจ้งว่าตรวจหาแล้วไม่พบ เพราะมีการปลดเผาตามระเบียบแล้ว แสดงว่าต้นฉบับหนังสือดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีอยู่จริงเพียงแต่หาต้นฉบับไม่ได้เท่านั้น
ประเด็นที่ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมหรือไม่นั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นข้อนี้อันจะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประเด็นที่ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมหรือไม่นั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นข้อนี้อันจะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีที่พิพาทซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตามมาตรา 144
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณา คดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิ ที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมาส.และต. ไปขอออก น.ส.3 ก. เลขที่ 4618โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสามส.และต. ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาท อย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอด ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และ ต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้อง ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองที่ดิน: การผูกพันตามคำพิพากษาคดีก่อนและผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และ ต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมา ส.และ ต.ไปขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสาม ส.และ ต.ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาทอย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และ ต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมา ส.และ ต.ไปขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสาม ส.และ ต.ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาทอย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีละเมิดจากเหตุชุมนุม: ผลของ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมและการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534การที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่งพระราชกำหนดบัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 268 โจทก์ทั้งสามสิบเก้า ซึ่งเป็นญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุม: ศาลยุติธรรมผูกพันตามคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2535 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 ว่า การออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคมพ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ซึ่งออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2535 เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามมาตรา 268
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ.2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ตกไปเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะ พ.ร.ก. ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพ.ร.บ.ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่ง พ.ร.ก. บัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ.2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ตกไปเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะ พ.ร.ก. ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพ.ร.บ.ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่ง พ.ร.ก. บัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน