พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิรโทษกรรมความผิดชุมนุม 17-21 พ.ค. 35: ศาลยุติธรรมผูกพันตามคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญ ที่ 2/2535 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 ว่า การออกพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ซึ่งออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2535 เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามมาตรา 268
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ. 2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ตกไป เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะพระราชกฤษฎีกาก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่งพระราชกฤษฎีกาบัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ. 2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ตกไป เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะพระราชกฤษฎีกาก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่งพระราชกฤษฎีกาบัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม การใช้ทางร่วม และการขัดขวางสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น
โจทก์ทั้งสาม จำเลยและบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้มีการแบ่งแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด แม้โจทก์ทั้งสามจะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด ก็เป็นเพียงการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทแต่อย่างใด
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่ง จึงมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่ง เจ้าของรวมคนอื่น ๆ การที่จำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทย่อมเห็นได้ว่าเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็น เจ้าของรวมด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้โจทก์ทั้งสามจะตั้งรูปเรื่องฟ้องคดีมาโดยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของรวม ศาลมีอำนาจที่จะยกบทกฎหมายที่ถูกต้องขึ้นปรับได้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนประตูไม้สังกะสีออกไปจากทางพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นด้วยในผล พิพากษายืน โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาจึงมีผลไม่ตรงกับการวินิจฉัย ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่ง จึงมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่ง เจ้าของรวมคนอื่น ๆ การที่จำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทย่อมเห็นได้ว่าเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็น เจ้าของรวมด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้โจทก์ทั้งสามจะตั้งรูปเรื่องฟ้องคดีมาโดยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของรวม ศาลมีอำนาจที่จะยกบทกฎหมายที่ถูกต้องขึ้นปรับได้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนประตูไม้สังกะสีออกไปจากทางพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นด้วยในผล พิพากษายืน โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาจึงมีผลไม่ตรงกับการวินิจฉัย ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีอาญา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขและตัวอักษรในคำฟ้อง ค่าเสียหายที่ศาลควรพิจารณาตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์แสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินสามจำนวน เมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงิน หรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลข ไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนา อันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษร เป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาจริงจากคำขอท้ายฟ้องที่มีตัวเลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ศาลยึดเจตนาที่ชัดเจน ไม่ใช่ตัวอักษรตามกฎหมาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุล. ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามา ชนรถที่ ล. ขับทำให้รถของ ล. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์ คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 102,742 บาท โจทก์จึง ได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่า ให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหาย แก่โจทก์จำนวน 104,347 บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า(หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกัน แล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บ ต่อท้าย 104,347 บาทว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลขถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็น ตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความจำนวนเงินในคำฟ้อง: ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขกับเจตนาของผู้ฟ้อง
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุ ล.ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุ มีจำเลยที่ 1ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามาชนรถที่ ล.ขับทำให้รถของนายลองที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน102,742 บาท โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่าให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 104,347บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้นจึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณตาม ป.พ.พ.มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยไม่ต้องแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาทวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้างจึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาทไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมี คำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดี เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่ง นั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว ให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 133 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่มาศาล ศาลมีอำนาจพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาท วันที่2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้าง จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท ไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดีเป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่งนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 133 อีก
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดีเป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่งนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 133 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของทายาทต่อตัวการจากกรณีตัวแทนเบิกเงินกองทุนแล้วไม่ส่งมอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. ผู้ตายขณะเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์และจำเลยร่วมซึ่งเป็นรองผู้จัดการโจทก์ในฐานะตัวแทนโจทก์ ได้นำสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของโจทก์ไปเบิกและรับเงินของกองทุนไฟป่าจากธนาคาร แล้วไม่นำเงินเข้าบัญชีรายรับของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการฟ้องเรียกเงินที่ผู้ตายในฐานะตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 แม้เงินดังกล่าวจะมิใช่เงินของโจทก์ แต่เมื่อผู้ตายต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยในฐานะทายาทของ ป. รับผิดกรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ในกรณีละเมิด และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวกับการเป็นตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) นับแต่วันที่ ป. ผู้ตายรับเงินจากกองทุนไฟป่าไว้แทนโจทก์ไป เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ