พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด-ดอกเบี้ย: การคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน 1,000,000บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจากทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงินที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่31 กรกฎาคม 2537 แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้งก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติอีก โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด และการคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน1,000,000 บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจาก ทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงิน ที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือนแม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มี กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้ง ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติ อีกโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าและอาวุธปืน: หลักฐานขัดแย้งฟังได้ว่าปืนลั่นระหว่างแย่งกัน ไม่ใช่จำเลยยิง
ผู้เสียหายเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่ากระสุนปืนลั่นระหว่างที่ผู้เสียหายกับจำเลยแย่งอาวุธปืนกันและเหตุที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายก็เพราะเกรงว่าจะถูกดำเนินคดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ คำเบิกความของจำเลยที่ว่าอาวุธปืนเป็นของผู้เสียหายและระหว่าง ที่จำเลยเข้าแย่งปืนจากผู้เสียหายลั่นขึ้น 1 นัดปรากฏว่า อาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงาน ประทับไว้ หากอาวุธปืนดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายก็มีเหตุที่จะต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีดังที่เบิกความคำเบิกความของ จำเลยจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กระสุนปืน ลั่นระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายแย่งอาวุธปืนกัน ไม่ใช่กระสุนปืนลั่น เนื่องจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายไม่ได้ การที่จำเลยเอาอาวุธปืนของผู้เสียหายที่นำมาให้ จำเลยดูมาพกไว้ที่เอวเป็นเพียงการพกเล่น ไม่ได้มีเจตนา ครอบครองอาวุธปืนดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ความผิดทั้งสองข้อหาจะต้องห้ามฎีกา เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทางกฎหมายของผู้เช่าที่ลงทุนสร้างอาคารในที่ดินของผู้อื่น: บริวารหรือผู้มีอำนาจพิเศษ
โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบการค้าใน สวนลุมพินีต่อไปอีก 30 ปี และจำเลยที่ 1 ตกลงจะสร้างอาคารใหม่ขึ้นอีก 1 แห่ง แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินเพียงพอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้ลงทุน ก่อสร้างอาคารให้โจทก์เช่นนี้ต้องถือว่าผู้ร้องสร้างอาคารพิพาท โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยินยอมให้ผู้ร้อง ประกอบการค้าในอาคารที่ก่อสร้างได้ก็ตาม แต่ผู้ร้อง ก็เข้าไปอยู่ในอาคารและที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบริวารไม่ใช่ ผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองอาคารบนที่ดินของผู้อื่น: ผู้ลงทุนก่อสร้างไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษ
การที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบการค้าในสวนลุมพินีต่อไปอีก 30 ปี และจำเลยที่ 1 ตกลงจะสร้าง อาคารใหม่ขึ้นอีก 1 แห่ง แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่มีเงิน เพียงพอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้ลงทุน ก่อสร้างอาคารให้โจทก์ เช่นนี้ต้องถือว่าผู้ร้องสร้างอาคารพิพาท โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยินยอมให้ผู้ร้องประกอบการค้าในอาคารที่ก่อสร้างได้ แต่ก็เป็นการเข้าไปอยู่ในอาคารและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบริวารไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองอาคารและการเป็นบริวารทางกฎหมาย
โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบการค้าในสวนลุมพินีต่อไปอีก30 ปี และจำเลยที่ 1 ตกลงจะสร้างอาคารใหม่ขึ้นอีก 1 แห่ง แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1ไม่มีเงินเพียงพอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างอาคารให้โจทก์เช่นนี้ต้องถือว่าผู้ร้องสร้างอาคารพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยินยอมให้ผู้ร้องประกอบการค้าในอาคารที่ก่อสร้างได้ก็ตาม แต่ผู้ร้องก็เข้าไปอยู่ในอาคารและที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบริวารไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับไปยังเรือนจำของผู้ต้องขังคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน และการยื่นคำคัดค้านการบังคับคดีเกินกำหนด
การที่จำเลยถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างการพิจารณา คำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่ให้สั่งขังจำเลยไว้ มิใช่ สั่งจำคุก จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษา ถึงที่สุดของศาล หรือถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 เรือนจำ จึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่าโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีคบคิดกันฉ้อฉลแกล้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณี ที่จำเลยยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดี ทั้งปวง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองซึ่งจะต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบการฝ่าฝืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาจำเลยที่ถูกควบคุมตัว, การยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดี, และกรอบเวลาการดำเนินการตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 2 ถูกควบคุมตัวระหว่างการพิจารณาคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจ ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฯ มาตรา 10 ที่ให้สั่งขังจำเลยไว้มิใช่สั่งจำคุก จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครจึงมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของ จำเลยที่ 2 ระบุว่า โจทก์และเจ้าพนักงาน บังคับคดีคบคิดกันฉ้อฉลแกล้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่ำกว่าความเป็นจริง ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก หมายบังคับคดีและเพิกถอนการยึดที่ดินกับให้งดการบังคับคดี เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก กระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งจะต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยไม่ไปศาลและไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่ยื่นคำให้การในกำหนด จึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 17 ตุลาคม 2540 เวลา 9.00 นาฬิกา ตามที่โจทก์ขอและให้หมายแจ้งวันนัดให้จำเลยทั้งเจ็ดทราบไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายจำเลยทราบนัดแล้วโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้น ต่อมาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยได้แต่งตั้งทนายจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นพร้อมยื่นคำให้การของจำเลยมาด้วย ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอยื่นคำให้การและคำให้การของจำเลยว่า สำเนาให้โจทก์ รอสั่งวันนัด โดยทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วันหากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ และเห็นว่าคดีมีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยากจึงให้งดชี้สองสถาน และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว กรณีถือได้ว่าทนายจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้และทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทราบนัดด้วย เพราะทนายจำเลยทั้งเจ็ดทำหน้าที่แทนจำเลยทั้งเจ็ดตามกฎหมายส่วนที่อ้างว่าทนายจำเลยทั้งเจ็ดเจ็บป่วย แพทย์ให้พักรักษาตัวตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคมถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2540 นั้น เห็นว่า หากทนายจำเลยทั้งเจ็ดเจ็บป่วยจริงแล้วจำเลยทั้งเจ็ดหรือทนายจำเลยทั้งเจ็ดอาจยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อศาลชั้นต้นได้ก่อนหรือในวันนัด ทั้งจะมอบหมายให้ผู้ใดมาทำการแทนก็ได้ แต่จำเลยทั้งเจ็ดหรือทนายจำเลยทั้งเจ็ดหาได้กระทำไม่แสดงว่าจำเลยทั้งเจ็ดรวมทั้งทนายจำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้เอาใจใส่ในคดีของตนเองทั้งเหตุตามคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งเจ็ดที่อ้างว่าจำเลยทั้งเจ็ดต้องนำสินค้าไปจำหน่ายในต่างจังหวัด จึงไม่ทราบเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี และว่าแม้จำเลยทั้งเจ็ดจะได้ตั้งทนายจำเลยให้แก้ต่างให้แล้ว แต่ทนายจำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เนื่องจากป่วยต้องผ่าตัดต้อกระจกนัยตาข้างซ้ายก็ดีย่อมเป็นการฟังได้ชัดแจ้งในตัวคำร้องเองว่า หากเป็นจริงตามคำร้องแล้วก็ยังฟังได้ว่าจำเลยทั้งเจ็ดรวมทั้งทนายจำเลยทั้งเจ็ดทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว และจงใจไม่ไปศาลตามกำหนดนัดโดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลชั้นต้นทราบ ถือได้ว่าจำเลยทั้งเจ็ดจงใจขาดนัดพิจารณาอยู่นั่นเอง และกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นหาจำเป็นต้องทำการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งเจ็ดก่อนมีคำสั่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการจงใจไม่ไปศาล แม้มีทนายความแต่งตั้งแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่
การที่ทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว กรณีถือได้ว่าทนายจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้และทราบกำหนด วันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทราบนัดด้วย เพราะทนายจำเลยทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยทราบวันนัดสืบพยาน โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ นำสืบก่อนโดยชอบแล้วการที่จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยเจ็บป่วย แพทย์ให้พักรักษาตัวนั้น หากทนายจำเลยเจ็บป่วยจริงแล้วจำเลยหรือทนายจำเลยอาจยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือ แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อ ศาลชั้นต้นได้ก่อนหรือในวันนัด หรือจะมอบหมายให้ผู้ใด มาทำการแทนก็ได้ แต่จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้กระทำไม่ แสดงว่าจำเลยรวมทั้งทนายจำเลยไม่ได้เอาใจใส่ในคดี ของตนเอง ทั้งเหตุตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย ที่อ้างว่าจำเลยต้องนำสินค้าไปจำหน่ายในต่างจังหวัด จึงไม่ทราบเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี และว่าแม้จำเลยจะได้ตั้งทนายจำเลยให้แก้ต่างให้แล้ว แต่ทนายจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เนื่องจากทนายจำเลยป่วยต้องผ่าตัดต้อกระจกนัยตาข้างซ้ายก็ดี ย่อมเป็นการฟังได้ชัดแจ้งในตัว คำร้องเองว่า หากเป็นจริงตามคำร้องแล้วก็ยังฟังได้ว่าจำเลย รวมทั้งทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วและจงใจไม่ไปศาลตามกำหนดนัดโดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลชั้นต้นทราบ ถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาอยู่นั่นเอง และกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ โดยหาจำเป็นต้องทำการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยก่อนมีคำสั่งไม่