คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ ไพเราะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,395 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืมรถและการไม่เป็นตัวแทน: จำเลยไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ตัวการกระทำเอง
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุ โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้นายนิดยืมเงิน 5,000 บาท โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ. และ บ.ถึงแก่ความตาย เมื่อการที่ น.นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย แต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้ น.จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น.ได้กระทำไปดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะเจ้าของกรรมสิทธิ์ การสิ้นสุดสิทธิการใช้ประโยชน์ส่งผลต่ออำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงแต่ผู้ได้รับอนุญาตจากทางสุขาภิบาลป่าตองให้ทำการก่อสร้างอาคารชั้นเดียวจำนวน 15 คูหา รวมทั้งห้องพิพาทลงบนที่ดิน ซึ่งที่ดินดังกล่าวยังมีคดีพิพาทกันอยู่ระหว่างนางสาว จ. เจ้าของที่ดินกับนาย อ. นางสาว จ. อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินอยู่จนถึงเมื่อศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษา เมื่อคดีได้ความว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 โจทก์จึงต้องคืนการใช้ที่ดินและยกสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องพิพาทให้แก่นางสาว จ. ตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น สิ่งก่อสร้างบนพื้นดินย่อมตกเป็นของนางสาว จ. ตามหลักเรื่องส่วนควบตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2537 เป็นต้นไป ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของห้องพิพาท จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วจำเลยก็มิได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์อีก โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 ซึ่งขณะที่ฟ้องโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายและผลต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย
กรณีที่รถยนต์เกิดชนกัน ม. และจำเลยได้ทำบันทึกตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่าแต่ละฝ่ายจะนำรถของตนไปซ่อมเอง และไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายกันอีกต่อไป การที่ ม. และจำเลยตกลงกันดังกล่าวเพราะเหตุที่รถมีประกันแสดงว่า ม. เจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่รถของตนได้รับโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลงและไม่ใช่การสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเท่านั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัย โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายครั้งนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย, ความประมาทเลินเล่อร่วม, และการระงับข้อพิพาท
กรณีที่รถยนต์เกิดชนกัน ม.และจำเลยได้ทำบันทึกตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า แต่ละฝ่ายจะนำรถของตนไปซ่อมเองโดย ม. จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับไปดำเนินการซ่อมและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายกันอีกต่อไป แสดงว่า ม. เจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่รถของตนได้รับโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง และไม่ใช่การสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเท่านั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัย โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยยังผูกพัน แม้มีการโอนสิทธิการเช่าซื้อ หากเจตนาหลอกลวง และผู้รับโอนยังคงมีสิทธิเรียกร้อง
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วันก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 กรณีนี้จึงต้องตีความว่าสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์ มี ฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งการตีความเช่นนี้ยังสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วยกรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงผูกพันคู่ความทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น แต่การที่โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ พ. ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น แต่หลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวไป โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์กับ พ. ภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริง การโอนเป็นเพียงเจตนาลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศได้เท่านั้น สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังคงมีฐานะ เป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม และแม้หากจะฟังว่าโจทก์ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวไป แต่การโอนสิทธิการเช่าซื้อก็ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับโอนสิทธิการเช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว กรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงยังไม่สิ้นผลบังคับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำสัญญาประกันภัยและการตีความสัญญาเช่าซื้อ โดยคำนึงถึงเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 11, 155, 171, 368, 863ป.วิ.พ. มาตรา 55
การตีความสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยไม่อาจตีความตามถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามสัญญาดังกล่าวได้ แต่ต้องตีความการแสดงเจตนาทำสัญญานั้นโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาทุกฝ่าย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 171 เป็นสำคัญ เมื่อเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา บริษัทจำเลยผู้รับประกันภัยเจตนาเข้ารับเสี่ยงภัยในรถยนต์ที่เอาประกันภัยโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท ย.ผู้ให้เช่าซื้อ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทจำเลยเชื่อว่า โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อและมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยขณะทำสัญญา จึงเข้าทำสัญญาด้วย ทั้งโจทก์เองก็คงเชื่อเช่นนั้นเมื่อโจทก์ผู้เช่าซื้อประสงค์จะผูกพันตามสัญญาประกันภัย จำเลยเองก็เจตนาจะเข้ารับเสี่ยงภัยตามสัญญาประกันภัย และบริษัทผู้ให้เช่าซื้อก็ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าซื้อหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องตีความว่า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์มีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยตามมาตรา 11 ที่ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วย กรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย.ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น และหลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา เมื่อโจทก์กับภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริง การโอนเป็นเพียงเจตนาลวง สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยได้
การโอนสิทธิการเช่าซื้อไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(วรรคหนึ่งและวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาที่แท้จริงสำคัญกว่าถ้อยคำในสัญญาประกันภัยและเช่าซื้อ การตีความต้องคำนึงถึงสถานการณ์และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
การตีความสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยไม่อาจตีความตามถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามสัญญาดังกล่าวได้ แต่ต้องตีความการแสดงเจตนาทำสัญญานั้นโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาทุกฝ่าย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 เป็นสำคัญ เมื่อเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา บริษัทจำเลยผู้รับประกันภัยเจตนาเข้ารับเสี่ยงภัยในรถยนต์ที่เอาประกันภัยโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทจำเลยเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อและมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยขณะทำสัญญา จึงเข้าทำสัญญาด้วย ทั้งโจทก์เองก็คงเชื่อเช่นนั้น เมื่อโจทก์ผู้เช่าซื้อประสงค์จะผูกพันตามสัญญาประกันภัยจำเลยเองก็เจตนาจะเข้ารับเสี่ยงภัยตามสัญญาประกันภัย และบริษัทผู้ให้เช่าซื้อก็ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าซื้อหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องตีความว่า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์มีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยตามมาตรา 11 ที่ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วย กรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น และหลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา เมื่อโจทก์กับภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริงการโอนเป็นเพียงเจตนาลวง สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังคงมีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยได้
การโอนสิทธิการเช่าซื้อไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(วรรคหนึ่งและวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรอง แม้ผู้รับรองไม่มีอำนาจโดยตรง แต่เอกสารตรงกับต้นฉบับและไม่มีการโต้แย้ง
แม้สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์อ้างส่งศาลมีสิบตำรวจตรี ม. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับต้นฉบับ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนี้ เมื่อเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริงย่อมรับฟังได้โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 238

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความคดีอาญา ไม่กระทบความรับผิดทางละเมิดในคดีแพ่ง
ในคดีอาญาเรื่องก่อนที่โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. พนักงานของโจทก์ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน เป็นมูลคดีที่โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยร่วมและ น. ในข้อหาฉ้อโกง เนื่องจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันหลอกลวงเอาเช็คไปจากโจทก์ และนำเข้าบัญชีของจำเลยร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินที่ธนาคารจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิด เนื่องจากพนักงานของจำเลยกระทำการด้วยความประมาทเลินเล่อ เรียกเก็บเงินตามเช็คซึ่งระบุชื่อผู้ทรงและมีข้อความขีดคร่อมห้ามเปลี่ยนมือเข้าบัญชีของจำเลยร่วมโดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นเช็คที่ออกให้แก่บุคคลอื่น เป็นเหตุให้ธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของโจทก์โอนเข้าบัญชีของจำเลยร่วมไป แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและน. ในคดีอาญาเป็นเรื่องระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมกับ น. กรณีทั้งสองเป็นคนละเรื่องกัน ความรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยในคดีนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาทอาญาไม่กระทบความรับผิดทางละเมิดของธนาคารที่ประมาทเรียกเก็บเช็ค
คดีเรื่องก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ น. เป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกง เนื่องจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันหลอกลวงเอาเช็คไปจากโจทก์ และนำเข้าบัญชีของจำเลยร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินที่ธนาคารจำเลยที่ 1 แต่โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานละเมิดเนื่องจากพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ เรียกเก็บเงินตามเช็คซึ่งระบุชื่อผู้ทรงและมีข้อความขีดคร่อมห้ามเปลี่ยนมือเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นเช็คที่ออกให้แก่บุคคลอื่น เป็นเหตุให้ธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของโจทก์โอนเข้าบัญชีของจำเลยร่วมไป สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนจึงเป็นเรื่องระงับข้อพิพาทในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดที่ยอมความได้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมกับ น. หาได้มีผลถึงมูลละเมิดที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้ ความรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับสิ้นไป
of 140