คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียกรรมสัญญาจ้างงาน, การคืนสภาพเดิม, ค่าเสียหายจากการทำงานที่กระทำไปแล้ว, และการปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยแจ้งปีเกิดตามหลักฐานที่ผิดโดยมีเจตนาปกปิดความจริงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518ทำให้โจทก์ยอมรับโอนจำเลยเข้าเป็นพนักงานของโจทก์ โดยที่ขณะนั้นจำเลยมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ต่อมาโจทก์ทราบความจริงจึงเลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ แม้การที่จะให้จำเลยคืนเงินค่าจ้างและเงินอื่นแก่โจทก์ ไม่เป็นการพ้นวิสัย แต่การงานที่จำเลยทำให้โจทก์ไปแล้วซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการงานของจำเลยแล้วก็ต้องกลับคืนไปยังฐานะเดิมด้วยดุจกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม เมื่อการที่จะให้การงานที่ทำไปแล้วกลับคืนยังฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงต้องใช้ค่าเสียหายที่สมควรแก่หน้าที่การงานให้แก่จำเลย โดยถือว่าค่าจ้างและเงินอื่นตามฟ้องที่จำเลยได้รับไปแล้วเป็นค่าเสียหายจำนวนนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสวัสดิการลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ: สิทธิลูกจ้างยังคงมีตราบใดที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12กรกฎาคม2514ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518ออกใช้บังคับมีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่28กันยายน2520โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่29กันยายน2520จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2520ช่วงเวลาก่อนวันที่29กันยายน2520นั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใดซึ่งในเดือนกันยายน2520โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วยถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพเงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใดจำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่โจทก์จึงเรียกเงินต่างๆดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้. จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา180เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ - สิทธิรับค่าจ้างและสวัสดิการ - หนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีผลผูกพันเมื่อไม่มีมูลหนี้
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2514 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับ มีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2520 โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่ 29 กันยายน 2520 จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2520 ช่วงเวลาก่อนวันที่ 29 กันยายน 2520 นั้น จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใด ซึ่งในเดือนกันยายน 2520 โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพ เงินค่ายังชีพ เงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใด จำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่ โจทก์จึงเรียกเงินต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา180 เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ขาดคุณสมบัติ แม้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแรงงาน นายจ้างทำได้โดยชอบ
แม้โจทก์จะเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยยื่นต่อจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ในเรื่องไม่สามารถทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจได้เต็มเวลา จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติอายุเกิน 60 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46,(ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุนี้ย่อมต้องถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมาตรา 9(2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่าพระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมิใช่จะถือว่ามีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัวนอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "พ้นจากตำแหน่ง" ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง