พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529-2530/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยคุ้มครองลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และประเด็นอายุความดอกเบี้ยที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ค่าชดเชย เป็นบทบัญญัติส่วนหนึ่งของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ที่ใช้บังคับแก่องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ หาใช่มุ่งหมายจะคุ้มครองเฉพาะแต่ลูกจ้างของเอกชนเท่านั้นไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2523)
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา การต่ออายุการจ้าง และสิทธิค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
การที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับขณะโจทก์เข้าทำงานกำหนดให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เว้นแต่จะได้มีการต่ออายุนั้น เป็นเพียงบทกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นพนักงานของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา ดังนี้น เมื่อโจทก์ทำงานมาจนอายุครบหกสิยปีบริบูรณ์แล้วจำเลยได้มีคำสั่งต่ออายุการทำงานของโจทก์ออกไปอีก 1 ปี จึงเป็นเพียงขยายกำหนดเวลาการทำงานออกไป หาใช่ข้อตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ภายหลังจากโจทก์มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไม่เพราะโจทก์มีสิทธิลาออกจากงานได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้าง สัญญาจ้างนี้จึงยังเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเช่นเดิม เมื่อจำเลยไม่ต่ออายุการทำงานของโจทก์อีกต่อไป จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างอันจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119-1120/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากสัญชาติไทย ค่าชดเชย อายุความ และดอกเบี้ย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และ 47 ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่าการที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุม่มีสัญชาติไทยอันเป็นการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบมิใช่เป็นการเลิกจ้าง เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างพ้นจากสภาพความเป็นลูกจ้างเพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอันจะต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรจึงมิใช่กิจการทีได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
ค่าชดเชยเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเมื่อกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ มีกำหนด 10 ปี
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายเมื่อเลิกจ้างเมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องทวงถาม และค่าชดเชยเป็นหนี้เงินเมื่อผิดนัดจึงต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเมื่อกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ มีกำหนด 10 ปี
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายเมื่อเลิกจ้างเมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องทวงถาม และค่าชดเชยเป็นหนี้เงินเมื่อผิดนัดจึงต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จะออกโดยฝ่ายบริหาร แต่ก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ฯ ข้อ 2 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุแต่อย่างใด เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุจึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ก็มิได้บัญญัติว่าการที่พนักงานต้องพ้นตำแหน่งเพราะครบ 60 ปีบริบูรณ์ไม่เป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศดังกล่าวในข้อที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยก็หาเป็นค่าชดเชยไม่
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุแต่อย่างใด เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุจึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ก็มิได้บัญญัติว่าการที่พนักงานต้องพ้นตำแหน่งเพราะครบ 60 ปีบริบูรณ์ไม่เป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศดังกล่าวในข้อที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยก็หาเป็นค่าชดเชยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติ อายุเกิน 60 ปี และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46, (ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษ แก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุนี้ย่อมตั้งถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่า พระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มิใช่จะถือว่า มีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัว นอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า พ้นจากตำแหน่ง ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่า พระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มิใช่จะถือว่า มีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัว นอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า พ้นจากตำแหน่ง ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง