คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจดทะเบียนเช่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีก่อน
ในคดีก่อนเมื่อจำเลยบังคับคดีตามฟ้องแย้งแก่ ส. และโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ขอแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ว่าโจทก์ได้สิทธิการเช่าและมิใช่บริวาร ซึ่งศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาเช่าอันเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล: การพิจารณาพฤติการณ์แสดงเจตนาดำเนินคดีของผู้ฟ้อง
คดีนี้โจทก์ยื่นคำฟ้องวันที่ 14 สิงหาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน 5 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาวันที่ 23 สิงหาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี โดยปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีนั้น โจทก์ยื่นคำแถลงลงวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลชั้นต้นจัดส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าโจทก์ยังติดใจจะดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ยังได้เสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 3 ในวันยื่นคำฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมนำส่งหมายเรียกหลังจากวันฟ้องแล้วเพียง 8 วัน ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งแสดงว่าโจทก์ยังติดใจดำเนินคดีต่อไปอีกเช่นกัน จึงเป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีโจทก์ซึ่งเพิ่งยื่นฟ้องได้เพียง 8 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังข่มขู่เรียกทรัพย์จากผู้เสียหายในสถานบันเทิง
เมื่อ น. เจ้าของบาร์โชว์เปลือยต้องการคิดเงินจากผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จำนวน 8,600 บาทผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมรับว่าราคาเครื่องดื่มเป็นเงินจำนวนดังกล่าว น. ก็ควรต้องดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะชอบการที่พนักงานเก็บเงินกับจำเลยทั้งสองตบหน้าและผลักหน้าท้องผู้เสียหายที่ 2ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน จึงเป็นการใช้แรงกายภาพและกระทำทุกทางเพื่อเอาให้ได้ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 โดยทุจริตจนผู้เสียหายที่ 1 ต้องยื่นเงิน 100 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้พนักงานเก็บเงินอันเป็นผลมาจากจำเลยทั้งสองใช้กำลังประทุษร้ายการกระทำทั้งหมดของจำเลยทั้งสองกับพวกเป็นการชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กำลังชิงทรัพย์ในสถานบันเทิง: ความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
ก่อนที่จะเข้าบาร์โชว์เปลือยผู้เสียหายได้สอบถามว่าจะต้องเสียเงินเท่าใด พนักงานไม่บอกราคาแต่พูดว่า ไม่มีปัญหา ผู้เสียหายที่ 1 เข้าใจว่าน่าจะไม่เกิน 200 ถึง 300 บาท จึงเข้าไป ผู้เสียหายที่ 1 สั่งน้ำส้ม 2 แก้ว เมื่อนั่งอยู่ได้ประมาณ 4 ถึง 5 นาที ผู้เสียหายที่ 1 เรียกพนักงานคิดเงิน พนักงานเรียกเอาเงิน 8,600 บาท ผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมรับว่าราคาเครื่องดื่มเป็นเงิน 8,600 บาท การที่พนักงานเก็บเงินกับจำเลยทั้งสองได้ใช้แรงกายภาพและกระทำประทุษร้ายต่อผู้เสียหายทั้งสองเพื่อเอาให้ได้ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 โดยทุจริตจนผู้เสียหายที่ 1 ต้องยื่นเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ให้พนักงานเก็บเงินและผู้เสียหายทั้งสองถูกผลักออกไปจากบาร์เป็นการชิงทรัพย์ โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหารกองเกิน แม้เคยเข้ารับการตรวจเลือกแล้ว แต่กระบวนการไม่ครบถ้วน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคสองและมาตรา104ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา23ที่บัญญัติว่าการที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใดอายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่9(พ.ศ.2498)กำหนดว่าทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา23คือ(2)ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า21ปีบริบูรณ์ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง(ก)ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา28ทวิวรรคสองบัญญัติว่าหน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่37(พ.ศ.2518)แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่47พ.ศ.2518กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือกวัดขนาดตรวจร่างกายถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลากเมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือกโจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497และกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหารซ้ำได้ หากกระบวนการตรวจเลือกเดิมไม่สมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองและมาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 23 ที่บัญญัติว่า การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 9(พ.ศ. 2498) กำหนดว่า ทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา 23 คือ (2) ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า 21 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง (ก) ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 28 ทวิ วรรคสองบัญญัติว่า หน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 37(พ.ศ. 2518) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 พ.ศ. 2518 กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือก วัดขนาดตรวจร่างกาย ถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือก โจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหาร และกระบวนการตรวจเลือกตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 23ที่บัญญัติว่า การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2498) กำหนดว่า ทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา 23 คือ (2) ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า 21 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง (ก) ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 28 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่าหน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2518) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2518) กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือก วัดขนาด ตรวจร่างกาย ถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือก โจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 และกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาคมการค้ามิอาจประกอบธุรกิจค้าหรือวิสาหกิจ การยืมชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทสมาคมการค้าตาม พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ.2509 มาตรา 11 โจทก์เสนอต่อที่ประชุมกรรมการจำเลยที่ 1ขอเข้าทำโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์การค้าอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยขอยืมชื่อจำเลยที่ 1 มาใช้ โดยโจทก์เป็นผู้รับผิดชอบในด้านการลงทุนการก่อสร้างการจัดจำหน่าย และอื่น ๆ อีก ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ลงมติอนุมัติตามที่โจทก์เสนอ ดังนี้ ลักษณะที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ยืมชื่อจำเลยที่ 1ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายตามที่โจทก์เสนอขอยืมนั้นก็เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการรู้เห็นร่วมกันเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารในนามของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบวิสาหกิจในนามของจำเลยที่ 1นั่นเอง ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ.2509 มาตรา 22การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยวิธีการที่กล่าวมาแล้วเห็นได้ชัดว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทกฏหมายดังกล่าวอันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อห้ามมิให้สมาคมการค้าดำเนินการใด ๆ ที่จะเป็นผลกระทบกระเทือนการค้าเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เช่นนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม และศาลฎีกามีอำนาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้เองตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1อนุมัติให้โจทก์ยืมชื่อจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกัน จึงไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์เช่นนั้นต่อกันและเป็นการกระทำที่เสียเปล่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเหมือนมิได้มีการกระทำดังกล่าวต่อกันเลย ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว หาใช่สัญญาต่างตอบแทนที่จะมีผลบังคับกันได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาคมการค้าประกอบธุรกิจขัดกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ
การที่จำเลยที่1อนุมัติให้โจทก์ยืมชื่อจำเลยที่1ก็เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารในนามของจำเลยที่1การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นการรู้เห็นร่วมกันเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายในนามของจำเลยที่1อันเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบวิสาหกิจในนามของจำเลยที่1ซึ่งตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้าพ.ศ.2509มาตรา22กำหนดห้ามมิให้สมาคมการค้ากระทำการ(1)ประกอบวิสาหกิจโดยสมาคมการค้านั้นเองดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นสมาคมการค้าจึงต้องห้ามมิให้ประกอบวิสาหกิจโดยสมาคมการค้านั้นเองวิธีการของโจทก์กับจำเลยที่1จึงเห็นชัดว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวอันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อห้ามมิให้สมาคมการค้าดำเนินการใดๆที่จะเป็นผลกระทบกระเทือนการคาเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศไทยจึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการกระทำของโจทก์กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกันจึงไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ต่อกันและเป็นการกระทำที่เสียเปล่าโจทก์กับจำเลยที่1ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเหมือนมิได้มีการกระทำดังกล่าวต่อกันเลยข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1หาใช่สัญญาต่างตอบแทนที่จะมีผลบังคับกันได้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสิบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของเจ้าพนักงานที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่และการป้องกันตัวโดยบันดาลโทสะในคดีพยายามฆ่า
ผู้เสียหายเป็นนายอำเภอท้องที่ที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายมีคำสั่งให้สถานบริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีดนตรีบรรเลงและสถานที่เล่นสนุกเกอร์ของจำเลยหยุดบริการ เพราะเปิดเกินเวลาและให้พนักงานของจำเลยไปตามจำเลยมาเพื่อรับทราบคำสั่ง ซึ่งทางราชการได้สั่งให้สถานบริการในท้องที่ที่เกิดเหตุต้องหยุดให้บริการในเวลา 1 นาฬิกา โดยขณะที่ผู้เสียหายออกคำสั่งดังกล่าวก่อนเวลา 1 นาฬิกาที่จำเลยจะต้องปิดสถานบริการตามคำสั่งของทางราชการเป็นอันมากคำสั่งของผู้เสียหายที่ให้จำเลยปิดสถานบริการจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยคำสั่งทางราชการ ดังนี้ การใช้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้อยู่ในความปกครองหรือสั่งการย่อมเป็นการผิดวิสัย เว้นแต่จะขอร้องกันเป็นการส่วนตัววิธีปฏิบัติที่ผู้เสียหายทำไปบ่งชัดว่าไม่ใช่การสั่งการในฐานะเจ้าพนักงาน การกระทำของผู้เสียหายดังกล่าวมาทั้งหมดจึงมิใช่การกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนายอำเภอผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้ออกคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นราษฎรในเขตท้องที่ที่ตนดูแลอยู่ให้ปิดสถานบริการก่อนเวลาที่ทางราชการกำหนดอันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่ และปฏิเสธการขอร้องของจำเลยที่จะอนุญาตให้เปิดสถานบริการต่อตามกำหนดเวลาของทางราชการ ตลอดจนการที่ผู้เสียหายผลักจำเลยให้พ้นทางของตนโดยไม่ยอมรับฟังจำเลยต่อไปนั้น เป็นการข่มเหงจำเลยราษฎรในความปกครองของตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะ
of 52