พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9776/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม ดอกเบี้ย และการบังคับคดี
ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้น เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ต้องของที่ดินของโจทก์ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2531 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร แม้หากจะฟังได้ว่าการที่ได้ที่ดินของโจทก์เข้ากรณีตามมาตรา22 ก็ตาม แต่มาตรา 22 นี้ ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่ามาตรา 21เสมอไป ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามมาตรา 21 ย่อมไม่ขัดต่อมาตรา 22 แต่อย่างใด พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 คดีนี้ไม่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ดังนั้นจึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน2533 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนโดยเห็นว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนนั้นไม่ชอบ กรณีนี้วันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีและศาลฎีกาวินิจฉัยให้ชำระเพิ่มขึ้นรวมกันจำนวน 2,605,413.20 บาทคือวันที่จำเลยที่ 1 วางเงินค่าทดแทนในวันที่ 22 เมษายน 2534โดยให้ได้ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9776/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสม ดอกเบี้ย และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษา
ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้วดังนั้นเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530คือราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ต้องของที่ดินของโจทก์ในวันที่24พฤษภาคม2531ซึ่งเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครแม้หากจะฟังได้ว่าการที่ได้ที่ดินของโจทก์เข้ากรณีตามมาตรา22ก็ตามแต่มาตรา22นี้ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา21ก็ได้ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่ามาตรา21เสมอไปดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามมาตรา21ย่อมไม่ขัดต่อมาตรา22แต่อย่างใด พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11คดีนี้ไม่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นจึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่15พฤศจิกายน2533ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนโดยเห็นว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนนั้นไม่ชอบกรณีนี้วันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีและศาลฎีกาวินิจฉัยให้ชำระเพิ่มขึ้นรวมกันจำนวน2,605,413.20บาทคือวันที่จำเลยที่1วางเงินค่าทดแทนในวันที่22เมษายน2534โดยให้ได้ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ8ต่อปีเพราะโจทก์มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9761/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถจักรยานยนต์หลังชิงทรัพย์เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แม้ทรัพย์สินมีขนาดเล็ก
จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้เอาสร้อยคอทองคำและเงินสดของผู้เสียหายทั้งสามแล้ววิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดเตรียมอยู่ขับหลบหนี แม้ทรัพย์ที่จำเลยชิงไปจะเป็นของเล็กสามารถพาไปได้โดยไม่ต้องใช้รถจักรยานยนต์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาทรัพย์ที่ชิงได้ไป แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์ที่ชิงได้นั้นไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร และอำนาจฟ้องคดีเมื่อไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42และมาตรา 43 วรรคสาม จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นต้องจัดส่งอุทธรณ์และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในภายหลัง โดยทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 52 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีก่อนการพิจารณาอุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมายควบคุมอาคาร ถือเป็นเรื่องไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52บัญญัติให้จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อจำเลยได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์ภายในกำหนดแล้วจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจัดส่งอุทธรณ์ของจำเลยไปยัง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และถือได้ว่า จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว การที่โจทก์นำคดี มาฟ้องโดยมิได้นำอุทธรณ์ของจำเลยเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์พิจารณาเสียก่อน เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนในการ พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 52โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยด้านค่าทดแทนเดิมได้ แม้มีการแก้ไขราคาเพิ่มแล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเงินค่าทดแทนออกเป็น3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่งซึ่งการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับ คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลมีอำนาจตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งจะได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาทแต่ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาทซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ชำระเงินให้โจทก์ไปแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน318,500 บาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและแก้ไขค่าทดแทนได้ แม้มีคำวินิจฉัยของหน่วยงานอื่น
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบังคับใช้แก่กรณีพิพาทนี้แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดค่าทดแทนออก 3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่กำหนดเงินค่าทดแทนในเบื้องต้นระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีรักษาการและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับขั้นตอนดังกล่าวหากมีข้อบกพร่องในการกำหนดเงินค่าทดแทนจากการกระทำของคณะกรรมการในระดับแรก คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลก็จะมีโอกาสตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 บัญญัติไว้ ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนทั้งแปลง 70 ตารางวา คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 490,000 บาท โจทก์ไม่พอใจได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์)และฟ้องคดีต่อศาลในเวลาต่อมา ระหว่างพิจารณาคดีของศาลได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ประกาศใช้บังคับ แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาท แต่จำเลยทั้งสองยังมิได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาท โดยในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลได้หยิบยกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่44 มาวินิจฉัยแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน 318,500 บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินยังตกเป็นมรดก
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1673 และมาตรา 1696 วรรคหนึ่งการโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
หลังจาก ฟ.ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ยกที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206ให้แก่ น.กับโจทก์แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.โดยเสน่หา และหลังจากนั้น ฟ.ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.กรณีก็ถือไม่ได้ว่า ฟ.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่ เมื่อ ฟ.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่182 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น. และที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 เป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น.กับโจทก์ตามพินัยกรรมดังกล่าวข้างต้น
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ฟ.ในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งมรดกของ น.แก่โจทก์ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 แก่โจทก์ได้
หลังจาก ฟ.ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ยกที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206ให้แก่ น.กับโจทก์แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.โดยเสน่หา และหลังจากนั้น ฟ.ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.กรณีก็ถือไม่ได้ว่า ฟ.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่ เมื่อ ฟ.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่182 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น. และที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 เป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น.กับโจทก์ตามพินัยกรรมดังกล่าวข้างต้น
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ฟ.ในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งมรดกของ น.แก่โจทก์ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรม การเพิกถอนพินัยกรรม และสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
การโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย เมื่อ ฟ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206 ให้แก่ น. กับโจทก์ที่ 8 แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น. โดยเสน่หาแต่หลังจากนั้น ฟ. ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ. จึงถือไม่ได้ว่า ฟ. ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: สิทธิของผู้ร้องที่ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านตามกฎหมาย
ศาลพิพากษาริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่บังคับให้เจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้าในคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันในท้องถิ่นแต่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกในส่วนกลางที่ส่งไปจำหน่ายทั่วไปในราชอาณาจักร อันเป็นการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องได้ทราบประกาศแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว