พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9322/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก - การงดสืบพยานเมื่อจำเลยไม่มีประเด็น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้อง จำเลยให้การเพียงว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ข. โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยอาศัยบ้าน ข.อยู่ ไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องอย่างไร หรือ ข.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้อย่างไร จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์อ้างส่งโฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาให้ที่ดินพิพาทต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยเพียงแต่ขอสืบพยานบุคคลตามคำให้การดังกล่าวเท่านั้น ดังนี้ เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และสามีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีความจำเป็นที่จะสืบพยานต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
จำเลยครอบครองบ้านพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยบุคคลอื่นอยู่ ข้ออ้างดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปได้
จำเลยครอบครองบ้านพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยบุคคลอื่นอยู่ ข้ออ้างดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้หลังโอนสิทธิเรียกร้อง: อายุความและการสละสิทธิ
คำว่า "ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน" ตาม ป.พ.พ.มาตรา 308 นั้นหมายความว่า ข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง การที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้อง ถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้อง ย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ดังนั้น เมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว. คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและอายุความ: ผลของการให้ความยินยอมโดยไม่อิดเอื้อนต่อการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ
ขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของจากจำเลยซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไป โดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง & อายุความ: ผลของการยินยอมโอนสิทธิเมื่ออายุความยังไม่ครบ
คำว่า"ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308นั้นหมายความว่าข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่การโอนสิทธิเรียกร้องการที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้องแต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้องย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ดังนั้นเมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด5ปีจำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อนและโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8759/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปีนับจากวันคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดกฎหมาย โดยพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2526 ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2526ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2526ได้มีการส่งคำบังคับโดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน2526 ต่อมาวันที่ 8 มกราคม 2535 โจทก์ยื่นคำขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี และได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 27 มกราคม2535 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ออกประกาศลงวันที่ 25 มิถุนายน 2536 ว่าจะทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในวันที่ 5 กรกฎาคม 2536 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จถือได้ว่าเป็นการดำเนินการบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวแล้วซึ่งเป็นเวลาภายในกำหนด 10 ปี และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในวันที่ 5 กรกฎาคม 2536และหรือวันต่อ ๆ ไปก็ทำได้จนกว่าจะเสร็จ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ที่ว่า ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง หมายความว่า นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8759/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันคดีถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271ที่ว่า นับแต่วันมีคำพิพากษา หมายความว่า วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2526 ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2526 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2526 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกคำบังคับและได้มีการส่งคำบังคับให้จำเลยโดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2526 ต่อมาวันที่8 มกราคม 2535 โจทก์ยื่นคำขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2535เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ออกประกาศลงวันที่ 25 มิถุนายน 2536ว่าจะทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามคำพิพากษาในวันที่5 กรกฎาคม 2536 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จแสดงว่า โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ประกาศว่าจะทำการบังคับคดีโดยการรื้อถอนอาคารตามประกาศลงวันที่ 25 มิถุนายน 2536 อันเป็นการดำเนินการบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวแล้วซึ่งเป็นเวลาภายในกำหนด 10 ปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 271 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8759/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษา: เริ่มนับจากวันคดีถึงที่สุด
บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ว่า นับแต่วันมีคำพิพากษา หมายความว่า วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2526 ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม2526 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2526 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกคำบังคับและได้มีการส่งคำบังคับให้จำเลยโดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2526ต่อมาวันที่ 8 มกราคม 2535 โจทก์ยื่นคำขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 27 มกราคม2535 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ออกประกาศลงวันที่ 25 มิถุนายน 2536 ว่าจะทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามคำพิพากษาในวันที่ 5 กรกฎาคม 2536 และหรือในวันต่อ ๆไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จ แสดงว่า โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ประกาศว่าจะทำการบังคับคดีโดยการรื้อถอนอาคารตามประกาศลงวันที่25 มิถุนายน 2536 อันเป็นการดำเนินการบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวแล้วซึ่งเป็นเวลาภายในกำหนด 10 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 271 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8437/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่เหมาะสม ศาลมีอำนาจปรับเพิ่มจากราคาประเมินทุนทรัพย์ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวน 1,797,750 บาท ไม่เป็นธรรม เพราะโจทก์รับซื้อฝากมาราคา 4,287,500 บาท เงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้กล่าวอ้างว่าจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ด้วยแล้ว ซึ่งศาลก็ได้กำหนดเป็นประเด็นในคดีว่า จำเลยกำหนดค่าทดแทนเป็นธรรมหรือไม่ แต่เนื่องจากไม่ปรากฏราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ศาลล่างทั้งสองจึงกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำนองเดียวกับที่คณะกรรมการฯใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพียงแต่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 50เปอร์เซนต์ ของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่เป็นธรรม จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,200 บาทซึ่งไม่สูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของที่พิพาท เหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแล้ว เป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ชอบด้วยมาตรา 21 แล้ว ศาลล่างทั้งสองหาได้พิพากษานอกประเด็นหรือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกา ทั้งตามมาตรา 25 และ 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ และให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8437/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม และดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวน 1,797,750บาท ไม่เป็นธรรม เพราะโจทก์รับซื้อฝากมาราคา4,287,500 บาท เงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้กล่าวอ้างว่าจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ด้วยแล้ว ซึ่งศาลก็ได้กำหนดเป็นประเด็นในคดีว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนเป็นธรรมหรือไม่ แต่เนื่องจากไม่ปรากฏราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ศาลล่างทั้งสองจึงกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำนองเดียวกับที่คณะกรรมการฯใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพียงแต่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 50 เปอร์เซนต์ของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่เป็นธรรม จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,200 บาท ซึ่งไม่สูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของที่พิพาท เหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแล้วเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ชอบด้วยมาตรา 21 แล้วศาลล่างทั้งสองหาได้พิพากษานอกประเด็นหรือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาทั้งตามมาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ก็บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ และให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8372/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำเกินกว่ากรณีจำต้องป้องกัน
บุตรจำเลยไปทะเลาะวิวาทและสมัครใจทำร้ายกับฝ่ายผู้ตายโดยจำเลยไม่ทราบ เพียงแต่จำเลยเห็นผู้ตายใช้มีดดาบไล่ฟันบุตรจำเลยมาทางบ้านจำเลยและเห็นผู้ตายเงื้อมีดดาบจะฟันบุตรจำเลยซึ่งล้มอยู่ ย่อมทำให้จำเลยกลัวว่าบุตรของตนจะถูกผู้ตายฟันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันทีเพื่อช่วยเหลือบุตรของตนให้พ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงนั้น จึงมีสิทธิกระทำเพื่อป้องกันได้ หากกระทำไปพอสมควรแก่เหตุก็ไม่มีความผิด
จำเลยยิงผู้ตาย 2 นัด โดยนัดแรกถูกที่หน้าอกด้านขวาและนัดที่สองถูกใต้ต้นคอด้านหลัง บาดแผลแรกวิถีกระสุนปืนเข้าทางด้านหน้า ส่วนบาดแผลที่สองวิถีกระสุนปืนเข้าจากด้านหลัง เห็นได้ว่ากระสุนนัดแรกก็หยุดการกระทำของผู้ตายได้แล้วโดยผู้ตายได้หันหลังให้แก่จำเลย การที่จำเลยยิงผู้ตายซ้ำอีกเป็นนัดที่สอง ทั้งที่ผู้ตายหันหลังมายังจำเลยนั้น เป็นการกระทำเพื่อป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วย มาตรา 69
จำเลยยิงผู้ตาย 2 นัด โดยนัดแรกถูกที่หน้าอกด้านขวาและนัดที่สองถูกใต้ต้นคอด้านหลัง บาดแผลแรกวิถีกระสุนปืนเข้าทางด้านหน้า ส่วนบาดแผลที่สองวิถีกระสุนปืนเข้าจากด้านหลัง เห็นได้ว่ากระสุนนัดแรกก็หยุดการกระทำของผู้ตายได้แล้วโดยผู้ตายได้หันหลังให้แก่จำเลย การที่จำเลยยิงผู้ตายซ้ำอีกเป็นนัดที่สอง ทั้งที่ผู้ตายหันหลังมายังจำเลยนั้น เป็นการกระทำเพื่อป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วย มาตรา 69